
แม่ไม้มวยไทย 15 ท่า พร้อมรูป

Rating: 2.5/5 (4 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
แม่ไม้มวยไทย 15 ท่า แม่ไม้มวยไทย เป็นท่าต่อสู้ของวิชามวยไทยที่สำคัญที่สุด อันเป็นพื้นฐานของการใช้ไม้มวยไทย โบราณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยเป็น 15 ไม้ ดังนี้

ท่าที่ 1 สลับฟันปลา ใช้มือข้างหนึ่งปัดหมัดของอีกฝ่าย แล้วใช้มืออีกข้างกระแทกที่ไหล่ด้านนอกของฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินเข้ามาชกด้วยหมัดซ้าย ตรงไปที่ใบหน้าของฝ่ายรับ
- ฝ่ายรับ ใช้มือซ้ายปัดหมัดฝ่ายรุกที่ข้อมือ ส่วนมือขวากระแทกไปที่หัวไหล่ด้านนอก ของฝ่ายรุก

ท่าที่ 2 ปักษาแหวกรัง ก้าวเท้าข้างหนึ่งทแยงเข้าวงใน ใช้แขนปัดหมัดฝ่ายรุกให้พ้นใบหน้า และใช้มืออีกข้างกระแทกไหล่ด้านในของฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดขวาตรงไปที่ใบหน้า มือซ้ายตั้งมั่นพร้อมที่จะชกหมัด
- ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวา ทแยงเฉียงด้านขวาสืบเท้าเข้าวงใน ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าขวา ใช้แขนซ้ายปัดหมัดให้พ้นใบหน้า มือขวากระแทกไปที่หัวไหล่ด้านในของฝ่ายรุกทันที

ท่าที่ 3 ชวาซัดหอก ก้าวเท้าเฉียงออกวงนอก ยกแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกออก แล้วใช้แขนอีกข้างหนึ่งยกศอกกระแทกชายโครงฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยชกด้วยหมัดขวาตรงไปที่บริเวณหน้าของฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายเฉียงออกวงนอก ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าซ้าย โดยพุ่งตัวเข้าหาคู่ต่อสู้ แขนขวายกขึ้นปัดหมัดฝ่ายรุกให้เบนออกพ้นตัว แขนซ้ายยกศอกกระแทกเข้าชายโครงของฝ่ายรุก

ท่าที่ 4 อิเหนาแทงกริช ก้าวเท้าทแยงเข้าวงใน ยกแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกออก แล้วใช้แขนอีกข้างหนึ่ง ยกศอกกระแทกชายโครงฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดขวาตรงไปที่บริเวณหน้า ของฝ่ายรับ มือซ้ายตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาทแยงเข้าวงใน ทิ้งน้ำหนักลงบนเท้าขวา ยกแขนซ้ายขึ้นปัดหมัดให้พ้นตัว แขนขวางอศอก เพื่อส่งศอกกระแทกที่ชายโครงของฝ่ายรุก

ท่าที่ 5 ยอเขาพระสุเมรุ ก้มศีรษะเพื่อให้หมัดฝ่ายรุกพ้นไป พร้อมก้าวเท้าไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้หมัดเสยคางฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยชกด้วยหมัดขวา ตรงเข้าบริเวณหน้าของฝ่ายรับ มือซ้ายตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ นั้นรีบก้มศีรษะให้หมัดผ่านศีรษะไป โดยทำพร้อมกับสืบเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ได้จังหวะหมัด จากนั้นแล้วชกหมัดขวา เข้าสู่ปลายคาง ของฝ่ายรุกทันที

ท่าที่ 6 ตาเถรค้ำฝัก ก้าวเท้าข้างหนึ่งเข้าวงใน พร้อมกับงอแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกให้พ้นศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างชกปลายคางฝ่ายรุกทันที
- ฝ่ายรุก เดินมวยชกด้วยหมัดขวาตรงเข้าบริเวณหน้าของฝ่ายรับ มือซ้ายตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าขวาไปข้างหน้าเข้าวงในของฝ่ายรุก ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าขวา พร้อมกับงอแขนซ้ายยกขึ้นตรงหน้า ปัดกระแทกขึ้น ให้หมัดฝ่ายรุกพ้นศีรษะไป มือขวาชกเข้าสู่ปลายคางของฝ่ายรุกทันที

ท่าที่ 7 มอญยันหลัก ยกแขนทั้งสองป้องกันหน้า แล้วใช้เท้าข้างหนึ่งถีบท้องหรือช่องอกฝ่ายรุกให้กระเด็น
- ฝ่ายรุก เดินมวยชกด้วยหมัดซ้ายตรงเข้าบริเวณหน้าของฝ่ายรับ
- ฝ่ายรับ รีบยกแขนทั้งสองขึ้นป้องกันหน้า พร้อมกับยกเท้าขวาถีบเข้าที่ยอดอกหรือท้องของฝ่ายรุก ให้กระเด็นไป

ท่าที่ 8 ปักลูกทอย หันตัวหาทิศทางที่ฝ่ายรุกเตะมา ยกศอกทั้งสองขึ้นป้องกัน พร้อมกับใช้มือป้องกันการพลาดถูกใบหน้าไปในตัว
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าเตะเหวี่ยงด้วยเท้าซ้ายเป้าหมายคือ ศีรษะฝ่ายรับ มือทั้งสองตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าเข้าหาครึ่งก้าว พร้อมกับหมุนตัว เอาเท้าขวาเป็นแกน หันหน้าเข้าหาทิศทางที่เท้าเตะมา ยกศอกขวาตั้งขึ้นระดับหน้าแข้ง มือซ้ายตั้งการ์ดปิดระดับต้นคอให้มั่น เพื่อป้องกันพลาดถูกใบหน้า

ท่าที่ 9 จระเข้ฟาดหาง ใช้ส้นเท้ากระแทกเข้าที่ศีรษะของฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดขวาตรงสุดแรง จนตัวเสียหลักถลันเข้าไปข้างหน้า
- ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายทแยงออกวงนอก เอี้ยวตัวให้หมัดผ่านทางไหล่ขวา ในระยะ 1 คืบ แล้วใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก หมุนให้ส้นเท้ากระแทกที่ศีรษะ ของฝ่ายรุก

ท่าที่ 10 หักงวงไอยรา ใช้แขนโอบจับบริเวณน่องฝ่ายรุก พร้อมกับใช้ศอกอีกข้างแทงเข้าที่บริเวณโคนขาของฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหาพร้อมยกเท้าเข้าเตะกราดบริเวณชายโครง มือทั้งสองตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาฝ่ายรุก โดยในระยะเกือบชิดตัวอย่างรวดเร็ว หันหน้าเข้าหาทิศทาง จากที่ฝ่ายรุกเตะมา กระแทกศอกขวาสู่บริเวณโคนขาฝ่ายรุก โดยเตรียมพร้อมแขนซ้ายโอบจับตรงบริเวณน่อง ยกขาให้สูง เพื่อไม่ให้เสียหลัก ป้องกันฝ่ายรุกใช้ศอกถองที่ศีรษะ

ท่าที่ 11 นาคาบิดหาง ใช้มือทั้งสองตะปบส้นเท้าอีกฝ่ายที่เตะมา แล้วใช้มือที่จับปลายเท้าฝ่ายรุกบิดออกด้านนอก ใช้มือที่จับส้นเท้าฝ่ายรุกดึงเข้าหาตัว พร้อมใช้เข่ากระแทกเข้าที่น่องฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหา พร้อมเตะเหวี่ยงด้วยเท้าขวา มือทั้งสองตั้งมั่น
- ฝ่ายรับ รีบพลิกตัวหันหน้าไปทางเท้าที่กำลังเตะมา น้ำหนักตัวทิ้งบนเท้าซ้าย เท้าขวาอยู่ในหลักยืนมวย แบบสิงหยาตร มือขวาตั้งฝ่ามือปะทะปลายเท้า มือซ้ายแบหงาย ตะปบส้นเท้า แล้วใช้มือที่จับปลายเท้า พลิกบิดออกด้านนอก มือซ้ายจับส้นเท้าฝ่ายรุก ดึงเข้าหาตัว พร้อมกับใช้เข่ากระแทกไปที่น่อง

ท่าที่ 12 วิรุฬหกกลับ พลิกตัวทแยงสู่ทิศที่ฝ่ายรุกเตะมา แล้วใช้เท้ากระแทกต้นขาฝ่ายรุกออกไป โดยใช้มือทั้งสองป้องกันการพลาดเตะถูกชายโครง
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหา พร้อมทั้งยกเท้าเตะกราดตรงบริเวณชายโครง
- ฝ่ายรับ รีบพลิกตัวทแยงหันหน้าสู่ทิศทางที่เท้าเตะมา ใช้เท้าซ้ายเป็นหลักยืนให้มั่น ยกเท้าขวากระแทกด้วยส้นเท้าที่ต้นขาให้สะท้อนกลับไป มือทั้งสองตั้งให้มั่น เพื่อป้องกันพลาดถูกชายโครง

ท่าที่ 13 ดับชวาลา ใช้มือข้างหนึ่งกดแขนฝ่ายรุกที่ชกมาให้ลงต่ำ พร้อมกับใช้มืออีกข้างชกหน้าฝ่ายรุกในเวลาเดียวกัน
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกหมัดขวาตรงไปที่ใบหน้าของฝ่ายรับ
- ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายทแยงเฉียงออกวงนอก ทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าซ้าย ใช้มือซ้ายกดแขนขวา ของฝ่ายรุกให้เบนและลงต่ำ รีบชกด้วยหมัดขวาตรงไปที่ใบหน้า ให้เป็นจังหวะเดียวกับมือซ้ายที่กดลงนั้นอย่างรวดเร็ว

ท่าที่ 14 ขุนยักษ์จับลิง ยกแขนทั้งสองปัดการเตะที่แข้งของฝ่ายรุก แล้วยกแขนข้างหนึ่งป้องกันศอกของฝ่ายรุก ซึ่งเป็นการหลบการชก, การเตะ และการศอกในเวลาเดียวกัน
- ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกหมัดซ้ายตรงเข้าที่บริเวณหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับเตะเท้าขวา ตรงบริเวณชายโครง ตามด้วยศอกขวาอย่างรวดเร็ว
- ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเข้าหาตัว ก้าวเท้าขวา โดยจะต้องยกแขนทั้งสองข้างปัดการเตะที่แข้งขวาของฝ่ายรุก อีกทั้งพร้อมยกแขนซ้ายป้องกันศอกขวาของฝ่ายรุก โดยแม่ไม้นี้เป็นการหลบหมัด, หลบเตะ และหลบศอก ในเวลาเดียวกัน

ท่าที่ 15 หักคอเอราวัณ ใช้มือทั้งสองจับที่ต้นคอของฝ่ายรุก แล้วกระแทกเข่าข้างหนึ่งไปที่หน้าของฝ่ายรุก
- ฝ่ายรุก เเดินมวยเข้าชกหมัดขวาตรงไปที่ใบหน้าของฝ่ายรับ
- ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายทแยงเฉียงออกวงนอก ทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าซ้าย ใช้มือซ้ายกดแขนขวา ของฝ่ายรุกให้เบนและลงต่ำ รีบชกด้วยหมัดขวาตรงไปที่ใบหน้า ให้เป็นจังหวะเดียวกับมือซ้ายที่กดลงนั้นอย่างรวดเร็ว
แม่ไม้มวยไทย (ประเพณีไทย) หมายถึง ตำแหน่งการใช้หมัด เท้า เข่า และศอก ร่วมกันในการรุกหรือป้องกันตัวในการต่อสู้มวยไทย การใช้ศิลปะมวยไทยอย่างชำนาญ จะต้องผ่านการฝึกฝนเบื้องต้นในการใช้หมัด เท้า เข่า และศอก ให้คล่องแคล่วก่อน จากนั้นพวกเขาจะได้เรียนรู้การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก และศิลปะแห่งการหลบหลีกผสมผสานกัน อยู่ที่ครูมวยจะคิดดัดแปลงและลูกเล่นให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจึงตั้งชื่อรูปแบบการชกมวยนั้น ๆ ตามพฤติกรรมให้จดจำได้ง่าย เมื่อมีท่ามวยมากขึ้น ก็แบ่งเป็นหมวดหมู่ หรือตั้งชื่อที่คล้องจองเพื่อให้นักเรียนจดจำได้ไม่ลืมง่าย สมัยก่อนมวยไทยโบราณไม่สวมถุงมือแต่จะชกด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบพันมือเพื่อให้มือต่อสู้สามารถใช้เหวี่ยงหักหรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้มากกว่าการใช้กำลัง จึงทำให้เกิดท่าชกมวยมากมาย ต่อมากำหนดให้นักมวยไทยต้องสวมถุงมือขณะแข่งขันเช่นเดียวกับการชกมวยสากล และมีการออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับนักมวย และง่ายต่อการตัดสินท่าชกมวยที่มีมาตั้งแต่อดีตจึงไม่สามารถใช้ในการแข่งขันได้ ถือว่าขัดต่อกฎเกณฑ์ และตำแหน่งนักมวยบางตำแหน่งไม่สามารถใช้งานได้ง่ายเนื่องจากมีการป้องกันร่างกายมาก ท่าชกมวยบางอย่างก็ถูกลืมไปในที่สุด
ครู และผู้เชี่ยวชาญในสมัยโบราณได้แบ่งประเภทของมวยไทยออกเป็นประเภทต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับครูมวยแต่ละคน แม้ว่าบางท่าจะมีชื่อต่างกันก็ตาม ไม้มวยไทยที่ถูกกล่าวถึงในตำรามวยหลายเล่ม และแบ่งลักษณะให้ชัดเจน คือ แบ่งตามลักษณะของวิธีแก้และการโจมตีของมวย เรียกว่า เทคนิคการชกมวย แบ่งตามลักษณะการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เรียกว่า เทคนิคการชกมวย ตำราบางฉบับแบ่งเป็นคำว่าไหมใหม่และหลักลาย หรือแบ่งเป็นครูไม้และเกร็ดใหม่ โดยที่ครูใหม่หมายถึงไม้สำคัญเป็นไม้หลักที่ครูมวยไทยเน้นย้ำว่านักเรียนทุกคนจะต้องทำได้ดีและชำนาญ เพราะเมื่อรู้และชำนาญเรื่องไม้ครูแล้ว ไม้ครูแต่ละประเภทก็สามารถแยกย่อยเป็นไม้ได้อีกมากมาย



แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage