หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.พัทลุง

พัทลุง

พัทลุง


จำนวน : 509,534คน

คำขวัญ :เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

พัทลุง เป็นจังหวัดในประเทศไทย เมืองลุง หรือเมืองอกทะลุ คืออีกหนึ่งจังหวัดของภาคใต้ มีฐานะเป็นเมืองต้นกำเนิดศิลปะการแสดงที่ขึ้นชื่อ คือ มโนห์ราและหนังตะลุง ซึ่งตกทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของภาคใต้มาเนิ่นนาน
 
นอกจากศิลปวัฒนธรรมชัดเจนของชาวใต้ที่ปรากฏในพัทลุงแล้ว แหล่งธรรมชาติสำคัญระดับประเทศ คือทะเลน้อย พื้นที่ชุ่มน้ำและทะเลสาบน้ำจืด อันเป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำหลากหลายพันธุ์ ก็ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้ ความสำคัญของทะเลน้อยคือส่วนหนึ่งของพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ คือพรุควนขี้เสียน ได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำระดับโลกแห่งแรกของไทย
 
ไม่เพียงเท่านั้น พัทลุงยังมีสายธารน้ำตกอีกมากมายเรียงรายอยู่บนเส้นทางพัทลุง-ตรัง ซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของผืนป่าต้นน้ำลำธารในจังหวัดนี้ได้อย่างชัดเจน
 
จังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ประมาณ 3,425 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสูงทางด้านตะวันตก ส่วนทางด้านตะวันออกเป็นที่ราบไปจนถึงทะเลสาบสงขลา เหมาะต่อการทำนาและทำการประมง
 
พัทลุง มีความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบหลักฐานคือขวานหินขัดในหลายพื้นที่ จนกระทั่งถึงสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-14) พัทลุงได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดีย มีการค้นพบหลักฐานเก่าแก่ เช่น พระพิมพ์ดินดิบเป็นรูปพระโพธิสัตว์รูปเทวดา
 
ล่วงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 19 พัทลุงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี และเป็นหัวเมืองหนึ่งของอาณาจักรทางใต้ สมัยนั้นพัทลุงถูกโจมตีโดยกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่เสมอ จึงทำให้ต้องย้ายที่ตั้งเมืองบ่อยๆ
 
กระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พัทลุงก็ยังต้องย้ายที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้ง ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พัทลุงได้รับการยกฐานะเป็นเมืองชั้นโท และช่วงนี้เองที่ชาวเมืองพัทลุงเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น สงครามเก้าทัพ (พ.ศ. 2328-2329) การช่วยปราบกบฏไทรบุรี (พ.ศ. 2373 และ พ.ศ. 2381) ฯลฯ
 
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2439 พัทลุงเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งประกอบด้วยนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นเมืองปัตตานีเดิม
 
กระทั่งถึง พ.ศ. 2467 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ย้ายเมืองพัทลุงไปอยู่ที่บ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน และเมื่อมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ใน พ.ศ. 2476 พัทลุงก็ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นมา
 
จังหวัดพัทลุง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอศรีบรรพต อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์
 
ทิปส์ท่องเที่ยว
- ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการล่องเรือในทะเลน้อยคือเดือนตุลาคม-มีนาคม เพราะมีนกอพยพหลายชนิดมาอาศัยอยู่ ช่วงนี้จึงได้เห็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ควรจะล่องเรือในช่วงเช้า เวลา 06.00-08.00 นาฬิกา เพราะถ้าไปหลังจากนี้ ดอกบัวจะหุบหมด

แผนที่จังหวัดพัทลุง

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(5)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(25)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(4)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(7)

น้ำตก น้ำตก(19)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(2)

ถ้ำ ถ้ำ(12)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(6)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(4)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(4)