หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.ธนบุรี > ต.บางยี่เรือ > มัสยิดสวนพลู


กรุงเทพมหานคร

มัสยิดสวนพลู

มัสยิดสวนพลู

Rating: 4/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
มัสยิดสวนพลู ตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย หากเดินทางมาจะอยู่ ซอยเทอดไท 11 ถนนเทอดไท ฝั่งตรงข้ามสำนักงานเขตธนบุรี สาเหตุที่มีชื่อว่า สวนพลู เนื่องจากในอดีตพื้นที่บริเวณนี้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นสวนที่ปลูกต้นพลู เพื่อบริโภคและส่งขาย จนกระทั้งถึงยุคที่มีคำสั่งห้ามคนไทยกินหมาก ทำให้การปลูกพลูต้องเลิกไป
 
มุสลิมในบริเวณมัสยิดสวนพลู ประกอบด้วยมุสลิมเชื้อชาติไทยแต่ดั่งเดิม และเชื้อสายมลายูจากอยุธยา ซึ่งคงอพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงแตก เชื้อสายมลายูที่ถูกกวาดต้อนมาจากอาณาจักรปัตตานี และมุสลิมจากอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานในชุมชนนี้ด้วยเช่นกัน
 
เมื่อปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ส่งกองทัพอันเกรียงไกรของพระองค์ลงไปตีเมืองปัตตานีในสมัยนั้น ซึ่งเป็นหัวเมืองเอกทางใต้ก่อนถึงแหลมมาลายู ประเทศมาเลเซียบางรัฐซึ่งประชาชนไทยรู้จักในขณะนั้นคือ รัฐปะลิศ กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี การตีเมืองตานีในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ
 
หรือบรรพบุรุษของชาวไทยอิสลามรู้จักในนาม “ดาโต๊ะสมเด็จ” ครั้งกระนั้นกองทัพของพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้กวาดต้อนและรวบรวมชาวตานีมายังกรุงเทพด้วย และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นนายกองควบคุมชาวตานีในครั้งนั้นคือ “ตนกูมะหมุด” ซึ่งเป็นชาวไทรบุรี และชาวตานีที่ถูกกวาดต้อนมา ทางการได้จัดที่พักเป็นสัดส่วนหลายแห่ง โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ และธนบุรี ที่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดมีอยู่ดังนี้ บริเวณสุเหร่าเก่าสวนหลวง บ้านไทร (อาณาบริเวณคลองตัน) มหานาค บ้านสมเด็จ และคลองบางหลวง ส่วนที่ว่าบางหลวงนั้น ก็คือตลอดแนวทางปากคลอง จนถึงบริเวณวัดใหม่ทองคุ้ง (บ้านสวนพลู)
 
ในปัจจุบันและเป็นที่ตั้งของมัสยิดสวนพลูในขณะนี้ "มัสยิดสวนพลู" แต่เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว เวลาที่ปลูกสร้างไม่แน่ชัด มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบทรงแบบเรือนไทย (ปั้นหยา) ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร มีโดมเสาปัง (หอกลอง) เป็นไม้เช่นกัน จนถึงปี พ.ศ.2379 นายฮัจยีโต๊ะชางอ (ชาย) ซึ่งเป็นอิหม่ามอันดับแรกและเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างตัวอาคารแบบไทย (กะฎี) ก่ออิฐถือปูน ซึ่งชาวบ้าน (สัปบุรุษ)
 
ในสมัยนั้นเรียกว่า สุเหร่า หรือ กุฏี (เพราะมีรูปร่างเหมือนกะฎีหรือวิหารทางพุทธศาสนา) ซึ่งลักษณะเช่นนี้ยังมีให้คนรุ่นหลังได้เห็นอีกแห่งเดียวคือ มัสยิดบางหลวง หรือ กุฏีขาว ริมคลองบางหลวงในปัจจุบัน แต่เดิมตัวอาคารที่ก่ออิฐถือปูนมีลักษณะเป็นรูปทรงปั้นหยาเช่นเดียวกับอาคารไม้เดิม ตรงกลางอาคารมีเสากลางเพื่อรับน้ำหนักโครงหลังคา ที่มุงด้วยกระเบื้องโบราณ มีความกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2446 จำนวนสัปบุรุษเพิ่มมากขึ้น คณะบริหาร (ทรัสดี) ในยุคนั้นได้ซ่อมแซมปรับปรุงตัวอาคารนี้ด้วยการขยายประตูทางเข้าออกมาอีก รวมความยาวของตัวอาคารเป็น 16 เมตร แต่ความกว้างยังคมเดิมคือ 8 เมตร และได้เปลี่ยนโครงหลังคาใหม่ ใช้กระเบื้องสี่เหลี่ยมขนาด 8x8 นิ้ว
 
ในปัจจุบันยังคงใช้บางอาคารอยู่บ้าง และได้รื้อเสากลางออก ทำซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลวดลายไม้ฉลุแบบไทยทั้งหมด รวมทั้งศิลปะเป็นไปตามแบบไทยทุกประการ มัสยิดสวนพลูคือชื่อที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อทางราชการเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2491 ก่อนหน้านั้นเป็นที่รู้จักกันในหมู่ทั่วไปว่า “บ้านสวน” เนื่องจากเป็นมัสยิดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงธนบุรี มีประวัติความเป็นมาย้อนหลังประมาณ 180 ปี ต่อมา เมื่อมัสยิดได้จดทะเบียนและมีคณะกรรมการบริหาร ตาม พ.ร.บ. มัสยิดอิสลามแล้ว
 
โดยการนำของท่านอิหม่าม ฮัจจีอับดุจฮามิด จุลธีระ ได้ต่อเติมอาคารด้านตะวันออกไปอีก 8 เมตร แต่ยังคงรักษารูปแบบของตัวอาคารเดิมไว้ทุกประการ และได้ปรับปรุงตัวบาแล (เรือนไม้)ซึ่งมีอยู่ต่อจากตัวอาคารมัสยิด ด้วยการปรับพื้นลดลงทำแนวต่อเนื่องไปกับตัวอาคารมัสยิด ประมาณ 24 เมตร เมื่อเวลาผ่านไป ความทรุดโทรมและคับแคบ เนื่องจากสัปบุรุษเพิ่มทวีขึ้นเป็นจำนวนมาก ในระยะหลัง ๆ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้ประชุมร่วมกับสัปบุรุษ และยุวมุสลิม สวนพลู มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ต้องรื้อตัวอาคารเดิมออกทั้งหมด
 
และวางโครงการก่อสร้างมัสยิดหลังใหม่ ซึ่งขณะนี้ได้มีทุนดำเนินการอยู่ 280,000 บาท ซึ่งบริจาคโดย ฮัจยะฮ์เนาะ ยกยอคุณ และเมื่อว่างโครงการดำเนินงานแล้วได้มีผู้มีจิตศรัทธา (สัปบุรุษ) และมุสลิมท้องถิ่นอื่นๆ สนับสนุนการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ดังปรากฏในปัจจุบันซึ่งใช้ทุนดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเฉพาะอาคารเป็นเงินทั้งส้น 1,040,552 บาท และได้เสริมสร้างปรับปรุงเสาบัง (หอกลอง) ซึ่งของเดิมชำรุดให้เป็นรูปแบบตามศิลปะเข้ากับตัวอาคารหลังใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่มองดูเด่นเป็นตระหง่านประจำมัสยิด หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดประจำหมู่บ้านสวนพลู และได้มีการปรับปรุงอีกหลายจุดภายในมัสยิด และได้ทำพิธีเปิดเฉลิมฉลองอาคารมัสยิดสวนพลูหลังใหม่วันที่ 6 ธันวาคม 2518

โทร : 024727020

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

มัสยิด กลุ่ม: มัสยิด

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่มัสยิดสวนพลู

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(20/21)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(57)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(4)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(6)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(53)