
ศาลหลักเมืองจังหวัดพังงา

Rating: 3.5/5 (11 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวพังงา
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
ศาลหลักเมืองจังหวัดพังงา ศาลหลักเมืองพังงา ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียงตำนานเล่าขานต่อ ๆ กันมา
เล่าขานตำนานโดย คุณลุงประสิทธิ์ ตันศิริ
สมัยก่อนนั้น จะมีการทำหลักเมืองก็ได้มีการประกาศไปว่าจะมีทหารไปเรียกขานอย่าให้ใครขานรับ หากใครขานรับแล้วจะถูกนำตัวทำหลักเมือง บังเอิญในคืนหนึ่ง นางสายทอง ซึ่งตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน อยู่บ้านเพียงลำพัง และได้มีเสียงคนมาเรียก นางเข้าใจว่าคือสามี ที่ได้ออกไปข้างนอก จึงได้ขานรับทันที ทหารจึงได้นำตัวนางไปถวายเจ้าเมือง เพื่อทำพิธี โดยในพิธีนั้นนางได้ถูกเอาลงหลุมทั้งเป็น ใช้เหล็กตีแล้วปิดหลุมทำเป็นเสาหลักเมือง
คราวหนึ่ง นายอนันต์ สงวนนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้เข้าไปสักการะเจ้าแม่ศาลหลักเมืองได้เห็นถนนทางเข้าคับแคบ ไม่สะดวกแก่การไปมาโดยรถยนต์ของผู้ที่จะเข้าไปบูชา จึงได้เชิญประทับทรงว่าจะย้ายศาลไปสร้างใหม่ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
มีถนนรอบด้าน แต่ท่านบอกว่าท่านไปไม่ได้จะอยู่ที่เดิม มาจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งในวันที่ 5 มกราคมของทุก ๆ ปี ชุมชนหมู่บ้านหลักเมือง จะจัดงานสักการะศาลหลักเมือง เพื่ออุทิศผลบุญและขอพรคุ้มครองตลอดมา ปัจจุบันภายในศาลหลักเมืองพังงามีกองดินฝังศพเจ้าแม่สายทองอยู่ภายใต้ศาลหลักเมืองพังงา
ได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เป็นศิลปะแบบผสม ความกว้างยาวของฐานศาลหลักเมือง 16X16 เมตร ตั้งฐานสูงจากลานทักษิณจนถึงยอดปรางค์ สูง 17.99 เมตร ตั้งฐานเป็นฐานศิลปศรีวิชัย ความสูงจากลานทักษิณจนถึงพื้นอาคาร สูง 1.60 เมตร เป็นแบบจตุรมุข ซึ่งแต่ละมุขมีบันไดจากฐานทักษิณจนถึงลานพื้นทั้ง 4 ด้าน และลานพื้นอาคารกับพื้นบันไดปูด้วยหินอ่อน
ตัวอาคารเป็นอาคารจตุรมุข เป็นศิลปกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแต่ละมุขจะยื่นออกมาแต่ละทิศ หลังคาโค้งมุงด้วยกระเบื้องลูกฟูกปูนปั้น ทรงปราสาทศิลปขอมตามคติ "เทวราช" เหนือหลังคาส่วนกลางอาคาร สร้างยอดปรางค์องค์ ซึ่งเป็นยอดประธาน เหนือหลังคาส่วนที่มุขยืนสร้างยอดปรางค์เป็นองค์บริวาร หรือปรางค์ทิศลักษณะ องค์ปรางเป็นศิลปลพบุรี เรียบว่า "เบญจปรางค์"




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
|