วัดร้องแง

วัดร้องแง

วัดร้องแง
Rating: 3.1/5 (8 votes)
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวน่าน

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
  
วัดร้องแง เลขที่ 7 ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2310 โดยการนำของเจ้าหลวงเทพพญาเลนเจ้าช้างเผือกงาเขียว
 
เดิมปกครองอยู่ที่เมืองลิน เป็นคนไทยกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาลื้อ เมืองลินอยู่ในเขตปกครองของแคว้นสิบสองปันนา มีพญาแสนเมืองแก้วเป็นผู้ปกครอง ต่อมาได้เกิดศึกสงคราม ศัตรูเข้ารุกรานเมืองจนกระทั่งพญาแสนเมืองแก้วต้านทานไม่ไหว
 
เจ้าหลวงเทพพญารินเจ้าช้างเผือกงาเขียว จึงได้มาช่วยต้านทานทัพศัตรูไว้ พร้อมด้วยแม่ทัพนายกอง 4 นาย คือ ท้าวแก้วปันเมือง ท้าววรรณะ ท้าวเหล็กไฟ และท้าวเต๋อ แต่สู้ไม่ไหวจึงแตกทัพรวบรวมไพร่พลหนีมาพร้อมกับเสนาทั้ง 4 ถอยร่นลงมาจนถึงบริเวณใกล้กับลำน้ำล่องแง (ใกล้ลำน้ำมีต้นแงซึ่งมีลักษณะผลคล้ายกับผลส้มจึงเรียกว่าลำน้ำล่องแง)
 
ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อลำน้ำ ต่อมาการเรียกผิดเพี้ยนไป จึงกลายเป็นบ้านร้องแง และเมื่อสร้าง วัดจึงได้ใช้ชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อวัดไปด้วย
 
วัดร้องแง ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองน่านแล้วเมื่อปี พ.ศ.2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2470
 
พระวิหารวัดร้องแง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบพื้นถิ่น สกุลช่างน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือของช่างหลวง หลังคาซ้อน 3 ชั้น 2 ตับ มีลักษณะสร้างขื่อแปในรูปแบบ “ม้าต่างไหม” กล่าวคือวางขื่อแปไว้บนเสาทั้ง 2 ข้าง ไม่มีเสาตรงกลาง
 
หลังคามุงด้วยไม้ลักษณะแป้นเกล็ด ลักษณะเด่นคือการประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นลวดลายพรรณพฤกษาที่หน้าจั่ว และทวยรับหลังคาเป็นทวยหูช้างสลักรูปเทวดา ยักษ์ และมนุษย์ ภายในวิหาร มีเสากลมปิดทองบนพื้นสีแดง และมีศาสนวัตถุที่ทรงคุณค่าหลายอย่าง
 
ธรรมาสน์เอกวัดร้องแง เป็นธรรมมาสแบบโบราณ ไม่มีหลังคา ธรรมาสน์เอกนี้ใช้สำหรับงานบุญเทศน์มหาชาติ ธรรมาสน์อันนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระวิหารของวัดร้องแง มีลักษณะแบบเมืองน่าน รูปทรงแปดเหลี่ยม ครึ่งปูนครึ่งไม้
 
ที่ฐานด้านล่างเป็นศิลปะปูนปั้น ลวดลายเถาวัลย์ และรูปสัตว์ต่าง ๆ พร้อมกับติดกระจกสี สำหรับด้านบนเป็นไม้วาดรูปเทวดา และลวดลายที่งดงามในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะรูปผีเสื้อที่วิจิตรงดงามมาก
 
พระประธานในพระวิหารวัดร้องแง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชื่อ “ ศรีสวัสดี สิริวิสุทธะ วิวะมังคะละ สวัสสะติ อะภิวันทะนบ พระรัตนะ โอกาสะมะสะดู” โดยมีประวัติว่ามีพ่อเฒ่าท้าวพรม ภรรยาพ่อเฒ่าท้าวพรมชื่อนางอุตดี และลูกหลานญาติพี่น้อง “สัมพันธะวงศ์” ทุกคนได้มีจิตศรัทธาที่จะสร้างพระพุทธรูป
 
จึงได้ทำการประชุมกันแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเดินทางไปหานายหนานบุญส่ง บ้านเสี้ยวทุ่งก้อง เมืองยม อำเภอปัว จังหวัดน่าน เพื่อพากันเดินทางไปนิมนต์ครูบาอินต๊ะ เจ้าอธิการวัดเฮี้ย ตำบลปัว อำแภอปัว จังหวัดน่าน มาเป็นประธานสงฆ์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อีก 8 รูป รวมเป็น 9 รูป พร้อมด้วยเจ้าแสนไชยมงคล ท่านท้าวพรม ชาวบ้านผู้สูงอายุบ้านร้องแง
 
และศรัทธาบ้านต่างๆ โดยคณะสงฆ์ได้ทำการเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตตชัยมงคลพร้อมด้วยกับลงมือก่อสร้างพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานที่พระวิหารวัดร้องแง ได้สำเร็จพร้อมทั้งได้มีพิธีการสมโพธิในวันแรม 1 ค่ำ ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2471
 
สัตตภัณฑ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “บันไดแก้ว” มีลวดลายงดงาม แบบลักษณะเฉพาะของเมืองน่าน วัดร้องแงจะใช้สัตตภัณฑ์ในวันเทศน์มหาชาติ (วันลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ) โดยจะนำไปวางหน้าพระประธานแล้วนำจ๊างจ้อยม้าจ้อย (แผ่นเงินที่สลักรูปช้าง ม้า ฆ้อง กลอง ฯ)
 
นำมาวางไว้ด้านบน พร้อมทั้งจุดธูปเทียน จำนวน 7 เล่มเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา “สัตตภัณฑ์” มีความสำคัญคือไว้เป็นเชิงเทียนสำหรับบูชาพระประธานในอุโบสถ พระวิหาร หรือพระธาตุเจดีย์
 
โดยเป็นเครื่องอามิสบูชาที่สำคัญอย่างหนึ่งตามความเชื่อของล้านนา สัตตภัณฑ์ส่วนมากจะทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นลวดลายรูปสัตว์ พันธุ์พฤกษา ที่นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นรูปนาค อนึ่งนอกจากช่างจะแกะสลักแล้วบางครั้งยังมีการลงรักปิดทองประดับกระจกสี ด้านบนมักจะแกะสลักเป็นเชิงเทียนจำนวนรวม 7 อัน
 
โดยสัตตภัณฑ์และเชิงเทียนทั้ง 7 อันมีผู้ได้ให้ความหมายด้านรูปลักษณ์ว่าอาจหมายถึง ภูเขาทั้ง 7 ที่ตั้งรายล้อมภูเขาพระสุเมรุ อันหมายถึงสวรรค์ที่ประทับของเทพดาทั้งหลาย ประกอบด้วย ยุคนธร อิสินธร กรวิก เนมินทร สุทัศนะ วินันตกะ
 
และอัศกันต์สัตตภัณฑ์อีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแบบขั้นบันได กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นฝีมือช่างเมืองแพร่ และน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะไทลื้อ ประดับเชิงเทียนตามริมบันไดทั้งสองข้าง ข้างละ 3 เล่ม
 
และประดับที่กลางบันไดด้านหลังอีก 1 เล่ม โดยสัตตภัณฑ์แบบนี้ไม่มีการตกแต่งมากเท่าสัตตภัณฑ์แบบแรก และเป็นสัตภัณฑ์ที่หาชมยากปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์วัดหลวง จ.แพร่, วัดหนองแดง อ.เชียงกลาง จ.น่าน และที่วัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน
แผนที่ วัดร้องแง แผนที่วัดร้องแง
วัด กลุ่ม: วัด
คำค้นคำค้น: วัดร้องแงวัดร้องแง พระวิหารวัดร้องแง ธรรมาสน์เอกวัดร้องแง พระประธานในพระวิหารวัดร้องแง สัตตภัณฑ์ บันไดแก้ว โบราณสถาน วัดในน่าน เที่ยววัด วัด ที่เที่ยวน่าน
ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด: 4 วันที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น




คำค้น (ขั้นสูง)
   
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองน่าน(29)

https://www.lovethailand.org/อ.แม่จริม(6)

https://www.lovethailand.org/อ.บ้านหลวง(7)

https://www.lovethailand.org/อ.นาน้อย(17)

https://www.lovethailand.org/อ.ปัว(24)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่าวังผา(25)

https://www.lovethailand.org/อ.เวียงสา(21)

https://www.lovethailand.org/อ.ทุ่งช้าง(11)

https://www.lovethailand.org/อ.เชียงกลาง(20)

https://www.lovethailand.org/อ.นาหมื่น(7)

https://www.lovethailand.org/อ.สันติสุข(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บ่อเกลือ(9)

https://www.lovethailand.org/อ.สองแคว(8)

https://www.lovethailand.org/อ.ภูเพียง(21)

https://www.lovethailand.org/อ.เฉลิมพระเกียรติ(6)