หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.น่าน > อ.ปัว > ต.วรนคร > วัดร้องแง


น่าน

วัดร้องแง

วัดร้องแง

Rating: 3.1/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
  
วัดร้องแง เลขที่ 7 ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน วัดราษฎร์ มหานิกาย เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2310 โดยการนำของเจ้าหลวงเทพพญาเลนเจ้าช้างเผือกงาเขียว
 
เดิมปกครองอยู่ที่เมืองลิน เป็นคนไทยกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาลื้อ เมืองลินอยู่ในเขตปกครองของแคว้นสิบสองปันนา มีพญาแสนเมืองแก้วเป็นผู้ปกครอง ต่อมาได้เกิดศึกสงคราม ศัตรูเข้ารุกรานเมืองจนกระทั่งพญาแสนเมืองแก้วต้านทานไม่ไหว
 
เจ้าหลวงเทพพญารินเจ้าช้างเผือกงาเขียว จึงได้มาช่วยต้านทานทัพศัตรูไว้ พร้อมด้วยแม่ทัพนายกอง 4 นาย คือ ท้าวแก้วปันเมือง ท้าววรรณะ ท้าวเหล็กไฟ และท้าวเต๋อ แต่สู้ไม่ไหวจึงแตกทัพรวบรวมไพร่พลหนีมาพร้อมกับเสนาทั้ง 4 ถอยร่นลงมาจนถึงบริเวณใกล้กับลำน้ำล่องแง (ใกล้ลำน้ำมีต้นแงซึ่งมีลักษณะผลคล้ายกับผลส้มจึงเรียกว่าลำน้ำล่องแง)
 
ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อลำน้ำ ต่อมาการเรียกผิดเพี้ยนไป จึงกลายเป็นบ้านร้องแง และเมื่อสร้าง วัดจึงได้ใช้ชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อวัดไปด้วย
 
วัดร้องแง ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองน่านแล้วเมื่อปี พ.ศ.2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2470
 
พระวิหารวัดร้องแง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบพื้นถิ่น สกุลช่างน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือของช่างหลวง หลังคาซ้อน 3 ชั้น 2 ตับ มีลักษณะสร้างขื่อแปในรูปแบบ “ม้าต่างไหม” กล่าวคือวางขื่อแปไว้บนเสาทั้ง 2 ข้าง ไม่มีเสาตรงกลาง
 
หลังคามุงด้วยไม้ลักษณะแป้นเกล็ด ลักษณะเด่นคือการประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นลวดลายพรรณพฤกษาที่หน้าจั่ว และทวยรับหลังคาเป็นทวยหูช้างสลักรูปเทวดา ยักษ์ และมนุษย์ ภายในวิหาร มีเสากลมปิดทองบนพื้นสีแดง และมีศาสนวัตถุที่ทรงคุณค่าหลายอย่าง
 
ธรรมาสน์เอกวัดร้องแง เป็นธรรมมาสแบบโบราณ ไม่มีหลังคา ธรรมาสน์เอกนี้ใช้สำหรับงานบุญเทศน์มหาชาติ ธรรมาสน์อันนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระวิหารของวัดร้องแง มีลักษณะแบบเมืองน่าน รูปทรงแปดเหลี่ยม ครึ่งปูนครึ่งไม้
 
ที่ฐานด้านล่างเป็นศิลปะปูนปั้น ลวดลายเถาวัลย์ และรูปสัตว์ต่าง ๆ พร้อมกับติดกระจกสี สำหรับด้านบนเป็นไม้วาดรูปเทวดา และลวดลายที่งดงามในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะรูปผีเสื้อที่วิจิตรงดงามมาก
 
พระประธานในพระวิหารวัดร้องแง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชื่อ “ ศรีสวัสดี สิริวิสุทธะ วิวะมังคะละ สวัสสะติ อะภิวันทะนบ พระรัตนะ โอกาสะมะสะดู” โดยมีประวัติว่ามีพ่อเฒ่าท้าวพรม ภรรยาพ่อเฒ่าท้าวพรมชื่อนางอุตดี และลูกหลานญาติพี่น้อง “สัมพันธะวงศ์” ทุกคนได้มีจิตศรัทธาที่จะสร้างพระพุทธรูป
 
จึงได้ทำการประชุมกันแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเดินทางไปหานายหนานบุญส่ง บ้านเสี้ยวทุ่งก้อง เมืองยม อำเภอปัว จังหวัดน่าน เพื่อพากันเดินทางไปนิมนต์ครูบาอินต๊ะ เจ้าอธิการวัดเฮี้ย ตำบลปัว อำแภอปัว จังหวัดน่าน มาเป็นประธานสงฆ์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อีก 8 รูป รวมเป็น 9 รูป พร้อมด้วยเจ้าแสนไชยมงคล ท่านท้าวพรม ชาวบ้านผู้สูงอายุบ้านร้องแง
 
และศรัทธาบ้านต่างๆ โดยคณะสงฆ์ได้ทำการเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตตชัยมงคลพร้อมด้วยกับลงมือก่อสร้างพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานที่พระวิหารวัดร้องแง ได้สำเร็จพร้อมทั้งได้มีพิธีการสมโพธิในวันแรม 1 ค่ำ ตรงกับวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2471
 
สัตตภัณฑ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “บันไดแก้ว” มีลวดลายงดงาม แบบลักษณะเฉพาะของเมืองน่าน วัดร้องแงจะใช้สัตตภัณฑ์ในวันเทศน์มหาชาติ (วันลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ) โดยจะนำไปวางหน้าพระประธานแล้วนำจ๊างจ้อยม้าจ้อย (แผ่นเงินที่สลักรูปช้าง ม้า ฆ้อง กลอง ฯ)
 
นำมาวางไว้ด้านบน พร้อมทั้งจุดธูปเทียน จำนวน 7 เล่มเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา “สัตตภัณฑ์” มีความสำคัญคือไว้เป็นเชิงเทียนสำหรับบูชาพระประธานในอุโบสถ พระวิหาร หรือพระธาตุเจดีย์
 
โดยเป็นเครื่องอามิสบูชาที่สำคัญอย่างหนึ่งตามความเชื่อของล้านนา สัตตภัณฑ์ส่วนมากจะทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นลวดลายรูปสัตว์ พันธุ์พฤกษา ที่นิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นรูปนาค อนึ่งนอกจากช่างจะแกะสลักแล้วบางครั้งยังมีการลงรักปิดทองประดับกระจกสี ด้านบนมักจะแกะสลักเป็นเชิงเทียนจำนวนรวม 7 อัน
 
โดยสัตตภัณฑ์และเชิงเทียนทั้ง 7 อันมีผู้ได้ให้ความหมายด้านรูปลักษณ์ว่าอาจหมายถึง ภูเขาทั้ง 7 ที่ตั้งรายล้อมภูเขาพระสุเมรุ อันหมายถึงสวรรค์ที่ประทับของเทพดาทั้งหลาย ประกอบด้วย ยุคนธร อิสินธร กรวิก เนมินทร สุทัศนะ วินันตกะ
 
และอัศกันต์สัตตภัณฑ์อีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแบบขั้นบันได กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นฝีมือช่างเมืองแพร่ และน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะไทลื้อ ประดับเชิงเทียนตามริมบันไดทั้งสองข้าง ข้างละ 3 เล่ม
 
และประดับที่กลางบันไดด้านหลังอีก 1 เล่ม โดยสัตตภัณฑ์แบบนี้ไม่มีการตกแต่งมากเท่าสัตตภัณฑ์แบบแรก และเป็นสัตภัณฑ์ที่หาชมยากปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์วัดหลวง จ.แพร่, วัดหนองแดง อ.เชียงกลาง จ.น่าน และที่วัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 8 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดร้องแง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(4)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(6)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(68/402)

โบสถ์ โบสถ์(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(18)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(13)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(9)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(6)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(16)

น้ำตก น้ำตก(28)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(11)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(11)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(4)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(2)