
มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก

Rating: 3.4/5 (5 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
มัสยิดวัดเกาะ ที่เที่ยวกรุงเทพ อยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาด้านตะวันออกใกล้กับวัดเกาะ(วัดสัมพันธวงศ์) เป็นมัสยิดในกรุงเทพที่สร้างบนพื้นที่ของหลวงโกชาอิศหาก โดยบ้านของท่านอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาด้านตรงข้าม คือ บริเวณคลองสาน ในประมาณรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายหวัน มูซาพ่อค้าจากไทรบุรี เดินทางเข้ามาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองธนบุรี ท่านหวัน มูซาเป็นบิดาของหลวงโกชา แต่งงานกับนางสาวเลี๊ยบ
ซึ่งเป็นลูกสาวชาวจีนย่านสวนมะลิ โดยที่ดินของหลวงโกชา อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฟาก จากฝั่งคลองสานมีที่ดินประมาณ 12 ไร่ โดยมีพวกข้าทาสทำสวนผลไม้จนถึง เลิกทาส แต่เมื่อมีการตัดถนนเจริญนครในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงถูกแบ่งเป็น 2 ฝาก โดยที่ดินส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน หลวงโกชาอิศหาก มีบุตร ธิดาหลายคน แต่จะเป็นชาย 3 คน คือ พระโกชาอิศหาก (หมัด) และพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลา) และขุนกาญจนประศาสน์
อนึ่ง “บินอับดุลลา” คือ นามสกุลพระยาสมันตรัฐฯ ที่ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลวงโกชาอิศหาก รับราชการอยู่ 4 แผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 โดยจะทำหน้าที่เป็นล่ามและรับเครื่องราชบรรณาการ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ดังนั้นเวลาชาวต่างชาตินำเครื่องราชบรรณาการมาก็มาพักกันที่บ้านนี้ ซึ่งคุณปู่นั้นจะทำหน้าที่ถวายเครื่องราชบรรณาการต่อไป สำหรับที่ดินฝั่งตรงข้ามซึ่งเยื้องกับที่บ้านใช้เป็นที่เก็บสินค้า โดยจะเป็นคลังสินค้า เพราะท่านเป็นพ่อค้าติดต่อค้าขาย ที่ดินแปลงนี้มีถนนทรงวาดตัดผ่าน แต่เมื่อเลิกจากคลังสินค้า ที่ดินส่วนหนึ่งขายไป ซึ่งคงเหลืออยู่ประมาณ 2 ไร่เศษโดยเป็นบริเวณที่คุณปู่เกณฑ์ลูกหลานช่วยกันสร้างสุเหร่าไว้เป็นที่ละหมาดรวมกัน
เนื่องจากสุเหร่านั้นจะอยู่ใกล้วัดเกาะจึงเรียกกันว่า สุเหร่าวัดเกาะ และส่วนหนึ่งของพื้นที่ทำเป็นกุโบรฺคือ ที่ฝังศพ และศพของคุณปู่ คุณเติมศักดิ์ สมันตรัฐ ก็ฝังที่นั่น (อิ่ม สมันตรัฐ, สัมภาษณ์ : 26 เมษายน 2540, น้อมจิต สมันตรัฐ, ได้สัมภาษณ์ : 13 พฤษภาคม 2540) คุณเสรี สมันตรัฐ (ได้สัมภาษณ์ 13 พฤษภาคม 2540) โดยจะเล่าว่า สุเหร่านี้ไม่ได้จดทะเบียน เลยไม่มีชื่อเป็นทางการ เรียกกันติดปากว่า สุเหร่าวัดเกาะ
และไม่มีคณะกรรมการมัสยิดเหมือนสุเหร่าหรือมัสยิดที่จดทะเบียน พวกเราสืบสานการปกครองดูแลกันมาตลอด โดยใช้เงินรายได้จากการให้เช่าที่และอาคารรอบมัสยิดเป็นทุน แต่ก็เป็นมัสยิดเปิด คือ ใครมาใช้ก็ได้ แต่ละศุกร์ก็มีมุสลิมเข้ามาละหมาดประมาณ 100 คน เป็นมุสลิมที่ทำงานหรือมีบ้านเรือนบริเวณนั้น ที่กุโบรฺก็เป็นที่สาธารณะเช่นกัน
มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก เป็นสุเหร่าสวนบุคคล แต่เปิดให้ละหมาดแก่สาธารณชน เป็นมัสยิดที่ตัั้งอยู่ใจกลาง china town อย่างกลมกลืน ลักษณะมัสยิด เป็นอาคารสไตล์ยุโรป มีกุโบร์สำหรับฝังพี่น้องมุสลิม ผู้ดูแลมัสยิดเป็นคนวงในของตระกูล ที่ดูแลสืบทอดกันมา ชื่อมัสยิด เป็นชื่อแบบไทย ที่แสดงให้ลูกหลานและผู้เข้ามาละหมาด ได้ทราบถึงรากประวัติของบุคคลที่เริ่มก่อสร้าง และได้แสดงย้ำถึงความเป็นคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่อยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมชาวจีนอย่างสมานฉันท์และกลมเกลียว อันเป็นลักษณะเฉพาะของคนไทยที่มีความรัก สามัคคี ไม่มีความแตกต่างในเรือง เชื่อชาติ ศาสนา ความเป็นอยู่




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
|