หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.ราชเทวี > ต.ทุ่งพญาไท > พระราชวังพญาไท


กรุงเทพมหานคร

พระราชวังพญาไท

พระราชวังพญาไท

Rating: 3.8/5 (6 votes)

เปิดให้เข้าชม เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น โดยมีวิทยากรอาสาสมัครของชมรมคนรักวังฯ พาเดินชมส่วนต่าง ๆ ของพระที่นั่งและบรรยายให้ความรู้ไปด้วย มี 2 รอบ คือรอบเวลา 9.30 น. และ 13.30 น. แต่ถ้าเป็นวันอื่นก็สามารถเดินเยี่ยมชมบริเวณภายนอกได้
 
พระราชวังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ
 
รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญหลายครั้ง ณ วังพญาไท วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็สวรรคต
 
พระราชวังพญาไท เมื่อครั้งยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463
 
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท
 
รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่งรัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต
 
พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา, พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก อีกด้วย
 
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไทในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้แก่ ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นเมืองจำลองขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว
 
ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2468 ตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่มีพระราชดำริจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
 
ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไทได้เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการโรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร จึงพระราชทานวังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาจนปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ พระราชวังพญาไทยังเคยเป็นสถานที่จัดงานสำคัญหลายวาระ เช่น งานฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540, การจัดแสดงดนตรีของวง อ.ส.วันศุกร์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550, การแข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 35 รวมทั้งการจัดการแสดงดนตรีต่างๆ เช่น ดนตรีคลาสสิก และดนตรีไทย เป็นต้น
 
ปัจจุบันพระราชวังพญาไทอยู่ในสภาพทรุดโทรมและกำลังอยู่ในระหว่างระดมทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวร ภายใต้การดำเนินงานของ ชมรมคนรักวัง และ มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
 
สิ่งก่อสร้างในเขตวังพญาไท
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ในปัจจุบัน คงเหลือพระที่นั่งที่สร้างในรัชกาลที่ 5 เพียงองค์เดียว คือ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธาวาส พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระตำหนักเมขลารูจี สวนโรมัน และ ศาลท้าวหิรันยพนาสูร
 
โดยชื่อของพระที่นั่งจะตั้งให้มีความคล้องจองกัน ได้แก่ ไวกูณฐเทพยสถาน พิมานจักรี ศรีสุทธนิวาส เทวราชสภารมย์ อุดมวนาภรณ์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของพระราชวังพญาไทคือหอคอยสูงและหลังคายอดแหลมของพระที่นั่งพิมานจักรี ส่วนภายในมีภาพเขียนแบบปูนเปียกเป็นลวดลายงดงามแบบตะวันตก
 
พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน เดิมเป็นพระที่นั่ง 2 ชั้น และได้ต่อเติมเป็นพระที่นั่ง 3 ชั้นในภายหลัง พระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ในชั้นที่ 2 โดยชั้นที่ต่อเติมขึ้นมาในภายหลังจัดเป็นห้องบรรมทมและห้องสรงส่วนพระองค์
 
พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค โดยจุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ
 
รวมทั้ง บริเวณฝาผนังใกล้กับเพดานและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียกซึ่งมีความงดงามมากและบานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.6" ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ 6 พระที่นั่งพิมานจักรีใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมเหสี
 
พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น มียอดโดมเช่นเดียวกับพระที่นั่งพิมานจักรีแต่ขนาดเล็กกว่า ตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมแบบอิงลิช กอธิค (English Gothic) บริเวณเพดานประดับลวดลายจิตรกรรมแบบอาร์ต นูโว และผนังเป็นภาพเขียนสีน้ำมันในแบบตะวันตก
 
โดยมีทางเชื่อมกับพระที่นั่งพิมานจักรีบริเวณชั้น 2 ของพระที่นั่ง เดิมพระที่นั่งองค์นี้ชื่อว่า "พระที่นั่งลักษมีพิลาศ" ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ อดีตพระคู่หมั้นในพระบาทสมเด็จะพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา จึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้เป็น พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ดังเช่นปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ในอดีตใช้เป็นที่รับรองสำหรับเจ้านายฝ่ายใน
 
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงเสด็จมาประทับ ณ พระราชวังพญาไท โดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไบแซนไทน์
 
ภายในท้องพระโรงทาสีฉูดฉาดหลายสี และมีพระปรมาภิไธยย่อ "สผ" (เสาวภาผ่องศรี พระนามเดิมของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง) อยู่ตอนบนใกล้หลังคาภายในพระที่นั่ง พระที่นั่งแห่งนี้ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาในโอกาสต่าง ๆ ใช้รับรองแขกส่วนพระองค์ ใช้เป็นโรงละคร เป็นต้น
 
พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถาน เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น เน้นการออกแบบที่เรียบง่าย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและมีเหล็กโครงสร้างดัดเป็นแบบอาร์ต นูโว (Art Nouvea) ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว
 
สันนิษฐานว่าการสร้างพระที่นั่งองค์นี้ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรี แต่เมื่อใช้เป็นที่ประทับของพระสุจริตสุดาและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระสนมเอกและพระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ตามลำดับ จึงมีการสร้างทางเชื่อมกับพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถานในชั้นที่ 2 ทำให้สามารถเดินถึงกันกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรีได้
 
การเดินทางโดยรถประจำทาง สาย 8, 12, 14, 18, 28, 92, 97, 108 ปอ.92, 509, 522, 536 ปอ.พ.4

เว็ปไซต์ : www.phyathaipalace.org

โทร : 023547660 ต่อ 93646, 93698

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พระราชวัง กลุ่ม: พระราชวัง

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

แผนที่พระราชวังพญาไท

อัลบั้มรูป

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(20/21)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(52)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(4)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(6)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(53)