หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.พระนคร > ต.พระบรมมหาราชวัง > ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทยที่สำคัญ


กรุงเทพมหานคร

ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทยที่สำคัญ

ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทยที่สำคัญ

Share Facebook

Rating: 2.6/5 (540 votes)

ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง พื้นที่ภาคกลางมีจังหวัดต่างๆ มากถึง 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม ลักษณะของพื้นที่ภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ภาคกลาง จึงประกอบอาชีพเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมงทั้งน้ำจืดและ ประมงน้ำเค็ม อีกทั้งอาชีพค้าขายก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนภาคกลางนิยมกันมากเพราะว่าภาคกลาง จะมีทางคมนาคมที่สะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้ เหมาะแก่การทำการค้าเป็นอย่างยิ่ง
 
อาชีพในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก คือการทำนา แต่จะมีอาชีพอย่างอื่น อีกมาก เช่น การทำไร่ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, การทำสวนผัก และสวนผลไม้ เช่น สวนส้ม, ส้ม, โอ, มะขามหวาน, มะม่วง, การเลี้ยงปลา, การเลี้ยงกุ้ง, เลี้ยงสุกร, วัวเนื้อ, วัวนม, ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการอุตสาหกรรมต่าง ๆ การค้า งานบริการ ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพสำคัญ กรุงเทพมหานครเป็นนครที่ใหญ่โตมีประชากรมาก รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทุกอย่างไว้ และขณะเดียวกันก็นับรวมเอาปัญหาสารพัดอย่างไว้ด้วย เช่น ปัญหาชุมชนแออัด, ปัญหาอาชญากรรม, ยาเสพย์ติด, การจราจรติดขัด, มลพิษทั้งอากาศ และน้ำ ภาคกลางนั้นจึงเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจทุกด้าน ดังนั้นประชากรในเขตนี้โดยเฉลี่ยจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าประชากรในเขตอื่น ในขณะที่ประเทศเริ่มมีผลิตผลทางอุตสาหกรรม มากขึ้น การขยายตัวได้เริ่มจากภาคนี้และทำให้ในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของ โดยผลิตผลทางอุตสาหกรรมมีมากกว่ามูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางด้านเกษตรกรรม แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราส่งสินค้าทางการเกษตรน้อยลง แต่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างสองกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 
 
วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย คำว่าวัฒนธรรมมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Cultura ภาษาอังกฤษใช้ คำว่า Culture ไทยได้บัญญัติคำว่า วัฒนธรรม ขึ้นใช้เมื่อพุทธศักราช 2483 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูล สงคราม โดยศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิป พงศ์ประพันธ์ ครั้งแรกทรงบัญญัติ คำว่า พฤทธิธรรม ขึ้นใช้ก่อนเมื่อทรงเห็นว่าไม่เป็นที่นิยมใช้จึงทรงเปลี่ยนไปใช้คำว่า วัฒนธรรม ซึ่งเป็นคำที่มี ความไพเราะและมีความหมายสอดคล้องกับวิชาภาษาอังกฤษ คำนี้จึงเป็นที่ยอมรับและใช้กัน อย่างแพร่หลายและยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
 
วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นคิดขึ้น กำหนดขึ้นบัญญัติขึ้น โดยไม่ได้กระทำตามสัญชาตญาณ เพื่อใช้ในสังคม ของตน อีกทั้งวัฒนธรรมจะปรากฏในรูปของระบบความคิด (Thinking) การกระทำ (Doing) และการมีอยู่ (Having) ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและปรุงแต่งขึ้น
 
วัฒนธรรมพื้นบ้าน คือ รูปแบบการดำเนินชีวิตเผ่าชนต่าง ๆ ที่อาศัยรวมกันในประเทศ โดยมีลักษณะหน้าตา, สีผิว, เผ่าพันธุ์, การดำรงชีพ, ศาสนา, ความเชื่อ และขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างกัน แต่ได้อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศใด ประเทศหนึ่งมีความหลากหลาย แต่มีรูปแบบการดำรงชีพ และเอกลักษณ์ที่ใกล้เคียงกัน
 
ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทยที่สำคัญมีดังนี้

ประเพณีสงกรานต์
 
1. ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีภาคกลาง ช่วงเวลา ตามประเพณีเดิมของไทย วันตรุษกับวันสงกรานต์แยกเป็น 2 วัน คือ วันสิ้นปีทางจันทรคติ ได้แก่ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันตรุษ ส่วนวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ คือ วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษ มักตรงกับวันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงรวมวันขึ้นปีใหม่มาไว้ในวันที่ 1 เมษายน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งยึดถือสืบเนื่องมาแต่โบราณ เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงว่างจากการงานประจำ มีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลหรือเมืองหนึ่ง ๆ แม้ปัจจุบันทางราชการประกาศวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ประเพณีการทำบุญและการรื่นเริงในวันตรุษและสงกรานต์ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
 
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
 
2. พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประเพณีภาคกลาง เป็นพระราชพิธีเก่าแก่ที่แสดงถึงการเริ่มต้นฤดูทำนา ซึ่งจะเป็นแบบอย่างและเสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจ รวมทั้งสิริมงคลแก่เกษตรกรไทย ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป้าหมายสำคัญของการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อเป็นการทำขวัญและเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และเกษตรกรรมก็เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นประเพณีไทยหลายอย่างมักเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเกษตรกร พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงถือว่าเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกประจำปี กำหนดเวลาการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำกันประมาณเดือนหกของทุกปี เพราะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นทำนาในประเทศไทย แต่ไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอน เนื่องจากต้องพิจารณาฤกษ์ยามที่เหมาะสมในแต่ละปี
 
ประเพณีถือศีลกินเจ
 
3. ประเพณีถือศีลกินเจ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง เยาวราชมีชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงต้นเดือนเก้า จะเห็นชาวจีนนุ่งผ้าขาวใส่เสื้ออาภรณ์สีขาวเดินไปสู่ศาลเจ้าและสำนักทางศาสนาทางจีนเป็นหมู่ใหญ่แสดงให้เห็นว่าเทศกาลถือศีลกินเจได้เริ่มแล้ว พิธีกินเจจะทำอยู่เก้าวันเก้าคืน เพื่อบูชาพระเก้าองค์กับดาวพระเคราะห์เก้าดวง เมื่อถึงวันเทศกาลถือศีลกินเจพุทธบริษัทแห่งนิกายมหายานมักหยุดทำธุรกิจ จะกระทำการแผ่เมตตาธรรมแก่มวลมิตรพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ให้อโหสิกรรมแก่กันและกัน แต่งตัวด้วยอาภรณ์ขาวล้วน ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินกันไปเป็นหมวดเป็นหมู่ ไปสู่ศาสนสถาน พื่อกระทำพิธีบูชาพระทั้งเก้าองค์ และตลอดเก้าวันของพิธีถือศีลกินเจพุทธศาสนิกชนจะพึงสมาทานรักษาศีลสามข้อ คือ เว้นจากการนำชีวิตสัตว์มาบำรุงชีวิตตน เว้นจากการนำเลือดสัตว์มาเพิ่มเลือดตน เว้นจากการนำเนื้อสัตว์มาเพิ่มเนื้อตน ดังนั้นเมื่อถือศีลสามข้อนี้แล้ว จึงรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ได้ ต้องรับประทานแต่อาหารถั่วงาและพืชผักอย่างอื่น ประเพณีถือศีลกินเจได้กระทำสืบเนื่องมานาน เป็นประเพณีที่อิงศาสนา อิงโหรศาสตร์ และอิงวัฒนธรรม ในช่วงเวลาของพิธีถือศีลกินเจถือว่าเป็นช่วงที่ละเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์และกระทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
 
งานประเพณีแข่งเรือ
 
4. งานประเพณีแข่งเรือ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง จัดแข่งเรือเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม มีเรือยาวมาร่วมประมาณ 30 ลำ มีนักท่องเที่ยวจากอำเภอต่างๆ และจังหวัดใกล้เคียงมาชมมากมาย
 
การแสดงโขน
 
5. การแสดงโขน ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง มีการจัดงานการแสดงโขน โดยประชาชนในตำบลโรงเรียนวัดตลาด ซึ่งมีกิจกรรมส่งเสริมด้านเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี อุปกรณ์ประกอบฉากในการแสดง และบุคคล โดยมีการแสดง 2 ครั้งต่อปี หรือทุกเดือน และมีการไปแสดงตามห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงแรมต่าง ๆ ในวันสำคัญต่าง ๆ มีผู้แสดงจำนวน 25 - 30 คน/ครั้ง
 
งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี
 
6. งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง งานบุญประจำปีทางฝั่งธนบุรีที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นที่รู้จักของคนฝั่งธนบุรีและกรุงเทพฯ อย่างกว้างขวางในสมัยก่อน คือ "งานชักพระวัดนางชี" หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ" ในสมัยก่อนงานชักพระวัดนางชีเป็นงานเทศกาลประจำที่ครึกครื้นมโหฬารที่สุดในแถบนั้น ผู้ที่เข้าขบวนแห่จะแต่งตัวกันอย่างสวยงาม ประณีต เรียบร้อยจะเตรียมซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไว้ตั้งแต่มีงานภูเขาทอง เป็นที่เชื่อกันว่าในปีใดถ้าไม่มีการแห่พระบรมธาตุจะต้องมีอันเป็นไปอันทำให้ชาวบ้านแถบนั้นเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือภัยพิบัติต่าง ๆ แม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลห้ามไม่ให้มีการแห่แหนหรือจัดงานใดเลย แต่งานแห่พระบรมธาตุก็ยังคงต้องดำเนินไปตามประเพณีโดยได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุในสมัยก่อนจะเป็นขบวนเรือพายช่วยกันชักจูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไป ทางวัดจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้สรงน้ำแต่เช้าตรู่ และจะเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากวัดตั้งแต่ 6.00 น. ก่อนปี พ.ศ. 2522 ได้นำพระบรมสาริริกธาตุมาให้สรงน้ำตั้งแต่เวลา 17.00 ของวัน แรม 1 ค่ำเดือน 12 จนถึงเวลา 9.00 น. ของวันต่อมา
 
ประเพณีสารทข้าวหลาม
 
7. ประเพณีสารทข้าวหลาม ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ช่วงเวลา วันเพ็ญหรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ประเพณีสารทเดือนสามเป็นประเพณีที่แสดงความสามัคคี ความพร้อมเพรียงของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มาร่วมกันลงแรงกายและแรงศรัทธา จัดพิธีเผาฟืนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่พระภิกษุสงฆ์และจัดทำข้าวหลามถวายพระสงฆ์ เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพชน เป็นพิธีที่ชาวไทยเชื้อสายมอญเชื่อว่า การทำทานฟืนร่วมกับข้าวหลามและดอกทอง (ดอกไม้ชนิดหนึ่ง) ในวันเพ็ญเดือนสามนั้น นอกจากเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้วยังอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษด้วย
 
ประเพณีฟาดข้าวชาวกระเหรี่ยง
 
8. ประเพณีฟาดข้าวชาวกระเหรี่ยง ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง เป็นงานประเพณีที่ปฎิบัติสืบต่อกันมานานแต่โบราณเป็นภูมิปัญญ หรือความสามารถของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะให้ลูกหลานมีความสมานสามัคคีกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหมู่บ้านไหนก็ยังมาช่วยเหลือซึ่งกันและกันมารวมตัวกันจัดกิจกรรมร่วมกัน

งานพระนครคีรีเมืองเพชร
 
9. งานพระนครคีรีเมืองเพชร ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย จัดในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีกิจกรรมต่างๆมากมายทั่วเมืองเพชรบุรี เช่น กระประดับไฟบริเวณเขาวัง พลุไฟ ประกวดร้องเพลง การแสดงดนตรีไทย การแข่งวัวเทียมเกวียน
 
พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดบันได
 
10. พิธีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ข้าวทิพย์มธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค สมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภต่างๆ นานา ปราศจากโรคาพยาธิ ภัยพิบัติ ประสบสิ่งที่เป็นมงคล ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความศรัทธาความเชื่อที่ยังมีอยู่ของประชาชนทั่วไป และผู้นำในชุมชนที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ เพราะต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนจำนวนมาก ในการเตรียมการ การจัดหาอุปกรณ์ในการกวน แรงงานในการกวน และการเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินที่ใช้ในการจัดซื้อจัดหาสิ่งของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลข้างต้นในปัจจุบันบางวัด บางท้องที่จึงเลิกประเพณีกวนข้าวทิพย์นี้ไป เพราะขาดความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ
 
ประเพณีท้องถิ่นฉลากหาบ
 
11. ประเพณีท้องถิ่นฉลากหาบ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย คือการบุญในพระพุทธศาสนาดำเนินการในช่วงเข้าพรรษา คือเดือน 8 แรม 1 ค่ำโดยใช้ชาวบ้านจะแต่งตัวสวยงามเป็นพิเศษพร้อมมีการประดับตกแต่งหาบด้วยสิ่งของเป็นอาหาร คาว หวาน และเครื่องใช้ที่เป็นความจำเป็นของพระสงฆ์ในการจำพรรษาประเพณีได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน หาบไปทำบุญที่วัดโดยให้พระสงฆ์จับฉลากพร้อมถวายสิ่งของในหาบนั้น จัดงานที่ วัดจันทาราม หมู่1 ตำบลบ้านทาน อำบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
 
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร
 
12. งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ การจัดงานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธรนับเป็นกุศโลบายอันแยบยล ที่ดึงพุทธศาสนิกชนให้เข้าวัดผ่อนคลายภารกิจในชีวิตประจำวัน เพื่อกราบไหว้บูชาองค์หลวงพ่อซึ่งเปรียบได้ดังตัวแทนของพุทธองค์ และให้ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ให้เว้นความชั่วให้ทำแต่ความดี อันส่งผลให้การดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข โดยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตใจ
 
ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก
 
13. ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย การก่อพระเจดีย์ทรายเป็นประเพณีที่ชาวไผ่ดำ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้กระทำสืบทอดกันมาแต่อดีตกาล วัตถุประสงค์เพื่อนำเอาทรายมาใช้ทำสาธารณประโยชน์ในวัด ส่วนการก่อพระทรายข้าวเปลือก เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวไผ่ดำ ที่นำเอาผลผลิตจากอาชีพการทำนา คือ ข้าวเปลือก มาก่อเป็นเจดีย์แทนทราย เป็นการทำบุญศาสนาของชาวบ้านด้วยการนำผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ มาร่วมกันบริจาคเพื่อให้ทางวัดได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนา อีกทั้งสร้างนิสัยด้านการบริจาค ความสามัคคีแก่ผู้คนในชุมชน
 
ประเพณีแห่ธงตะขาบ
 
14. ประเพณีแห่ธงตะขาบ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ถวายธงตะขาบเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ เป็นประเพณีของชาวรามัญที่ตั้งรกรากอยู่ใกล้วัดพิมพาวาส ในเขตอำเภอบางปะกง เชื่อกันว่าธงที่แขวนส่ายเพราะแรงลมเป็นการบอกรับบุญกุศลของบรรพบุรุษ และช่วยให้ผู้ล่วงลับได้ขึ้นสวรรค์
 
ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
 
15. ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา วันแรม 8 ค่ำ ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 6 รวม 8 วัน เป็นวันประกอบพิธีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จากนั้นในวันที่ 9 คือ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันถวายพระเพลิง ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่บ้านหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมานานนับร้อยปี บนพื้นฐานความเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนที่ได้ร่วมถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า จะได้บุญกุศลอย่างแรงกล้า การระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จปรินิพานอันเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ก่อให้เกิดสติที่ไม่ติดยึดอยู่กับวัตถุใดๆ และเห็นชีวิตเป็นอนิจจัง
 
ประเพณีเสนเฮือน
 
16. ประเพณีเสนเฮือน ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา เดือนสี่ เดือนหก และเดือนสิบสอง พิธีเสนเฮือน ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มคนในสังคม ญาติพี่น้องที่อยู่ห่างกันได้พบกันเป็นประจำ มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันอาหารในลักษณะผลัดกันเลี้ยงซึ่งกัน และกัน ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคม และเกิดความสามัคคีระหว่างญาติพี่น้องสายเดียวกัน และคนในชุมชน จัดขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษซึ่งเชื่อว่า บรรพบุรุษของตนที่ตายไปจะได้ไม่อดอยากเป็นอยู่สุขสบาย มีผลให้ลูกหลานมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายด้วย ลาวโซ่งทุกคนจึงต้องทำพิธีเสนผีเฮือนเป็นประจำปีละครั้ง หรือ 2-3 ครั้ง เพราะเชื่อว่าถ้าผีบรรพบุรุษอดอยากจะก่อกวนสมาชิกในครัวเรือน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงจะเดือดร้อน ไม่มีความสุข เจ็บไข้ได้ป่วย เกิดอัปมงคลแก่ครอบครัว ที่สำคัญจะถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นคนอกตัญญูไม่รู้จักบรรพบุรุษที่เคยเลี้ยงดูมา ลาวโซ่งจะไม่ทำพิธีเสนผีเฮือนในเดือน 9 เดือน 10 เพราะเชื่อว่าเดือนเก้าเดือนสิบผีเฮือนต้องไปเฝ้าแถน การเสนผีจะไม่ปรากฏผลใด ๆ จึงนิยม เสนเฮือนเดือน 4 6 และ 12 เพราะเป็นเดือนที่ว่าง ข้าวปลา อาหารสมบูรณ์
 
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
 
17. ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง วัฒนธรรมไทย ช่วงเวลา วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี ณ หมู่บ้านหนองพังนาค ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ชาวบ้านจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาธจนเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคีในกลุ่มชนในอันที่จะร่วมกันนำเอาวัสดุข้าวของต่าง ๆ มาร่วมทำบุญ เมื่อเสร็จและถวายเป็นพุทธบูชาก็แบ่งปันกันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล
 
ประเพณีถวายสลากภัต
 
18. ประเพณีถวายสลากภัต ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง วัฒนธรรมไทย เพื่อให้ภิกษุได้มีอาหารฉัน มีกำลังเพื่อการปฏิบัติธรรมวินัย การถวายอาหารแด่ภิกษุโดยวิธีการจับสลาก ใช้ในกรณีที่หาอาหารได้ยาก แต่ปัจจุบันแม้จะมีอาหารสมบูรณ์แล้วก็ยังนิยมทำบุญตามประเพณีอยู่ ผลที่ปรากฏคือคนมาร่วมงานทำบุญกันมาก เป็นงานบุญที่รวมคนได้เป็นอย่างดี ได้เห็นฝีมือการตกแต่งต้นสลากภัตที่สวยงาม เป็นการอนุรักษ์ช่างฝีมือพื้นบ้านและชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกัน
 
ประเพณีใส่กระจาด
 
19. ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน ซึ่งจัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลเทศน์มหาชาติ ซึ่งส่วนมากจะกำหนดในฤดูกาลออกพรรษา เมื่อหมู่บ้านใดกำหนดให้เทศน์มหาชาติขึ้นทางวัดก็จะส่งหนังสือกัณฑ์เทศน์ไปตามวัดต่าง ๆ เพื่อให้วัดต่าง ๆ ส่งพระมาร่วมเทศน์ด้วย โดยเรียกวันก่อนจะถึงวันเทศน์ 1 วัน ว่า "วันตั้ง"คือ วันใส่กระจาดนั่นเอง
 
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
 
20. ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น
 
ประเพณีไทยทรงดำ
 
21. ประเพณีไทยทรงดำ และโฮมสเตย์ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย เป็นการจัดให้มีการแสดงการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำ การแต่งกาย การรำแคน การเล่นลูกช่วง การตีคลี
 
ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108
 
22. ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108 ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย วัฒนธรรมไทย ช่วงเวลา ประเพณีการทำบุญตักบาตรพระ 108 เริ่มในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งถือว่าเป็นวันทำบุญที่แท้จริง แต่ประเพณีจะเริ่มขึ้นตั้งแต่แรม 7 ค่ำ เดือน 12 โดยเริ่มพิธีตั้งแต่ตอนบ่าย  เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้วในอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ โดยจัดขึ้นตามวัดริมลำน้ำในคลองบางกอกน้อยหลายวัดด้วยกัน คือ วัดไทยเจริญ วัดบางไกรนอก วัดอุทยาน วัดโบสถ์ วัดบางไกรใน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา ทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล และเกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชุมชน

มอญรำ
 
23. ประเพณีมอญรำ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย วัฒนธรรมไทย ช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการจัดงานศพ ซึ่งเจ้าภาพจะกำหนดวันสวดพระอภิธรรมศพ ในจังหวัดปทุมธานีหากมีคนตายจะมีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัด ในการสวดพระอภิธรรม จะมีการหามอญรำมาแสดงหน้าศพ คณะมอญรำจะเป็นหญิงสาวจำนวน 8-12 คน แต่งกายแบบสาวชาวรามัญ นุ่งผ้าซิ่นมีเชิง เสื้อแขนยาวทรงกระบอก คอกลม ห่มสไบ เกล้าผมมวยรัดด้วยดอกมะลิร้อย ทัดดอกไม้สดข้างเดียว สวมกำไลข้อเท้า รำเป็นชุดๆ ตามจังหวะปี่พาทย์มอญ
 
ประเพณีแห่ปลา
 
24. ประเพณีแห่ปลา ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา ช่วงเวลาที่จัดงาน คือ หลังจากงานสงกรานต์ 13 เมษายน ไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ขบวนแห่ปลา แห่นกในปัจจุบันได้รับความร่วมมือจากตำบลต่างๆ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จึงทำให้รูปขบวนวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ มีสาวงามจำนวนมากขึ้น มีขบวนรถจากตำบลต่างๆ ตกแต่งอย่างสวยงามขั้นขบวนสาวงามอยู่เป็นระยะๆ มีวงดุริยางค์ของโรงเรียนต่าง ๆ นำแต่ละขบวนเป็นที่ครึกครื้นแล้วปิดท้ายด้วยขบวนกลองยาวอย่างเคย 
 
ประเพณีการส่งข้าวสงกรานต์
 
25. ประเพณีการส่งข้าวสงกรานต์ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา ช่วงสงกรานต์ วันที่ 13-15 เมษายน การส่งข้าวสงกรานต์เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวรามัญที่พระประแดง ซึ่งคงจะได้รับอิทธิพลมาจากตำนานสงกรานต์ ตอนท่านเศรษฐีนำเครื่องสังเวยไปบวงสรวงเทวดาที่ต้นไทร เพื่อขอบุตรเพราะข้าวที่ใส่หม้อดิน กับข้าวต่างๆก็ใส่กระทงซึ่งทำด้วยใบตองไม่ใส่ถ้วย คล้ายกับการเซ่นจ้าวหรือบูชาเทวดา ชาวพระประแดงจะส่งข้าวสงกรานต์เฉพาะในวันที่ 13,14 และ 15 เมษายน
 
ประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์
 
26. ประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา ตั้งแต่ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 เป็นระยะเวลา 7 วัน 7 คืน แต่มาระยะหลังได้ผนวกงานกาชาดไปด้วยเป็น 10 วัน 10 คืน พระสมุทรเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาวสมุทรปราการ อีกทั้งยังเป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงดำริให้สร้างขึ้นและพระราชทานนามว่า "พระสมุทรเจดีย์" เมื่องานแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ผ่านพ้นไปแล้วจะเป็นการสมโภชมีมหรสพ การออกร้านตลอดระยะเวลา 7 วัน 7 คืน แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ก่อนที่จะกลับบ้านก็คือ การปิดทองและการไปนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์นั่นเอง สำหรับในคืนวันแรม 7 ค่ำนั้นจะมีงานตลอดรุ่ง ในเวลาเช้าของวันแรม 8 ค่ำจะมีการแข่งเรือพายเป็นที่สนุกสนาน
 
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
 
27. ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา วันเข้าพรรษา เจตนาเดิมของชาวบ้านที่ทำประเพณีนี้เพราะต้องการให้พระที่กำลังเดินขึ้นไปที่พระอุโบสถ เพื่ออธิษฐานเข้าพรรษาได้มีดอกไม้บูชาพระ ชาวบ้านเองก็พลอยเป็นผู้ได้บุญไปด้วย แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิธีการใหญ่ มีประชาชนจากท้องถิ่นอื่นมาร่วมงาน ขบวนรถแต่ละอำเภอตกแต่งสวยงาม บางครั้งก็มีการโฆษณากิจกรรมของท้องถิ่นตนไปด้วย เป็นงานที่รวมคน รวมความคิด รวมฝีมือ และรวมศรัทธา
 
พิธีรำโรง
 
28. พิธีรำโรง ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง วัฒนธรรมไทย การรำโรงเป็นพิธีกรรมคนไทยเชื้อสายมอญนิยมปฏิบัติเพื่อแก้บน เมื่อตนบนสิ่งใด แล้วได้รับผลตามที่ตนบนไว้ก็จะทำพิธีรำโรงเพื่อเป็นการแก้บน ความสำคัญของพิธีกรรมนี้จึงอยู่ที่การรักษาสัจจะวาจาที่ตนให้ไว้ และความภาคภูมิใจที่ตนได้รับความสำเร็จตามที่ตนบนไว้
 
งานประเพณีทิ้งกระจาด
 
29. งานประเพณีทิ้งกระจาด ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา วันเพ็ญ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน ประมาณปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน ตามปฏิทินไทย เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนร่วมกันอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการสร้างความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน งานทิ้งกระจาด เป็นประเพณีของพุทธศาสนาทางฝ่ายมหายาน เป็นการจำเริญเมตตาธรรมแก่ดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว
 
ประเพณีกำฟ้า
 
30. ประเพณีกำฟ้า ประเพณีภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง ประเพณีไทย ช่วงเวลา วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยพวน กำฟ้า หมายถึง การนับถือฟ้า งานบุญกำฟ้าจึงเป็นงานบุญที่มีความเชื่อว่า เมื่อได้ประกอบพิธีกรรมและขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้ว เทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีความป็นสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น
 
นิทานพื้นบ้าน
 
เพลงพื้นบ้าน ประเพณีภาคกลาง เพลงพื้นบ้านของแต่ละภาคนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงดังกล่าว และขับร้องสืบทอดต่อกันมากปากต่อปาก โดยส่วนมากเพลงพื้นบ้านจะเป็นเพลงที่มีคำร้องง่าย ๆ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ ส่วนในภาคกลาง อีกทั้งเพลงพื้นบ้านก็จะแต่งมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยแยกเป็นประเภท ได้ดังนี้
 
– เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่ เพลงร่อยพรรษา, เพลงเรือ, เพลงรำภาข้าวสาร, เพลงครึ่งท่อน และเพลงหน้าใย เป็นต้น
 
– เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเต้นรำกำเคียว, เพลงเกี่ยวข้าว และเพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว, สำหรับเพลงสงฟาง, เพลงสงคอลำพวน, เพลงพานฟาง, เพลงโอก, เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
 
– เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่ เพลงหย่อย, เพลงสงกรานต์, เพลงระบำบ้านไร่, เพลงช้าเจ้าหงส์, เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้าง, เพลงพวงมาลัย, เพลงใจหวัง, เพลงกรุ่น, เพลงฮินเลเล, เพลงยั่ว, เพลงชักเย่อ และเพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
 
– เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกัน ได้แก่ เพลงเทพทอง, เพลงฉ่อย, เพลงลำตัด, เพลงทรงเครื่อง, เพลงปรบไก่ และเพลงอีแซว เป็นต้น
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ประเพณี และวัฒนธรรมภาคกลาง ชาวภาคกลางก็มีดนตรีครบทุกประเภท ทั้ง ดีด สี ตี เป่า เรียกได้ว่า ครบเครื่องเลยทีเดียว เนื่องจากชาวภาคกลางก็ให้ความสำคัญกับเพลงพื้นบ้าน และมักจะร้องเพลงในหมู่คณะเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน สำหรับเรื่องดนตรีพื้นที่บ้านที่ชาวภาคกลางนิยมเล่นนั้น ได้แก่
 
ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ในวงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.1350) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึงบรรเลงประสมเป็นวงมโหรี
 
ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ที่บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร จะมีลูกบิดขึ้นสายอยู่ตอนบน ซอด้วงนั้นใช้สายไหมฟั่นหรือสายเอ็น มี 2 สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่างสาย โดยจะยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ซอด้วงนั้นจะมีเสียงแหลม ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
 
ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วย ไหมฟั่น  มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอประมาณ 60 เซนติเมตร คันชักประมาณ 50 เซนติมตร ซออู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับซอด้วงในวงเครื่องสาย
 
จะเข้ เป็นเครื่องสายที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยาว 140 เซนติเมตร ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย 3 สาย สายที่ 1-2  ทำด้วยไหมฟั่น สายที่ 3 ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียง สูง – ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ทำจากงาสัตว์
 
ขลุ่ย ของไทยนั้นจะเป็นขลุ่ยในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ ที่มีที่บังคับแบ่งกระแสลม จนทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิวตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้มีเสียงต่ำที่สุด โดยระดับเสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ ยังมี เสียงสูงกว่านี้ คือ ขลุ่ยกรวด หรือขลุ่ยหลีบกรวดอีกด้วย โดยขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสาย และวงมโหรี
 
ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ 4 ลิ้น) เช่นเดียวกับ โอโบ (Oboe) มีหลายชนิดคือ ปี่นอก ปี่ใน ปี่กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ในตระกูลปี่ใน ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง 6 รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง 22 เสียง และสามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจนอีกด้วย
 
ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน 21-22 ลูก ร้อยเข้าด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง 2 ไว้บนกล่องเสียงที่ เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอก ทำหน้าที่นำวงดนตรีด้วย เทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิสดาร มักบรรเลง 2 แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวมเรียก ปี่พาทย์ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจากซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของลูกระนาด
 
ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ 18 ลูก มีรูปร่างคล้ายระนาดเอก แต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็กน้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
 
ฆ้องวงใหญ่ จะเป็นหลักของวงปี่พาทย์ และวงมโหรีโดยจะใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง 16 ลูก ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
 
– ลูกฆ้อง เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะคล้ายถ้วยกลม ๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียงต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ
 
– เรือนฆ้อง ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วเศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็นโครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับเรือนฆ้องผูกด้วยเชือก
 
ฆ้องวงเล็ก นั้นจะมีขนาดที่เล็กกว่า โดยเสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ และจะดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือทางอื่นแล้วแต่กรณี โดยจะบรรเลงทำนองที่แปรจากฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็กนั้นมี 18 ลูก
 
โทนรำมะนา รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือกหนัง ตัวกลองยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอก ปากบานแบบลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ 12 เซนติเมตร ใช้ตีคู่กับรำมะนา ส่วนรำมะนานั้น เป็นกลองทำหนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
 
กลองแขก กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีใช้ในวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วยมือทั้ง 2 หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ (เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงต่ำ)
 
กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอก ขึงด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
 
นิทานพื้นบ้านภาคกลาง วัฒนธรรมภาคกลาง เป็นสิ่งที่ความบันเทิงเริงใจแก่ผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยกเอาเรื่องใกล้ตัว เรื่องเก่าแก่สมัยประวัติศาสตร์ หรือเรื่องเล่าตั้งแต่ชนชั้นจนถึงระดับคนยากคนจน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทวดาฟ้าดินมาให้ลูกหลานได้ฟังหลายต่อหลายเรื่อง โดยท้ายเรื่องของนิทานนั้น ๆ มักจะสอดแทรกคติสอนใจ และข้อคิดดี ๆ ให้ได้ฟังพร้อมคิดตามอยู่เสมอ ๆ
 
สำหรับนิทานพื้นบ้านทางภาคกลาง ที่เป็นที่นิยมเล่าสืบต่อกันมามีหลายเรื่องเลยทีเดียวที่สนุกสนาน และนำมาทำเป็นการ์ตูน หรือละครให้ได้ชมกันอย่างมากมาย อาทิ ไกรทอง, บางแม่หม้าย, ตาม่องล่าย, สองพี่น้องม เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก, เรื่องกล่องข้าวน้อย และขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
 
การละเล่นพื้นบ้านของชาวภาคกลางนั้น มีทั้งการละเล่นแบบที่ใช้อุปกรณ์เป็นตัวเชื่อมการเล่น หรือการละเล่นเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นการละเล่นแบบเดี่ยว แต่ส่วนมากมักจะมีการร้องเพลงประกอบการละเล่นต่าง ๆ อาทิ หมากเก็บ, ว่าว, ตี่จับ, รำตง, การเล่นโม่ง, สะบ้าล้อ, หลุมเมือง, เพลงเรืออยุธยา, เพลงเรือบก, คำทาย (โจ๊กปริศนา), เพลงปรบไก่, กลองยาว, การแข่งขันวัวลาน, เพลงปรบไก่, การเข้าผีนางด้ง, การทอยสะบ้า และนางลิงลม ฯลฯ
 
ประเพณีสงกานต์ 

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคกลาง ตามธรรมดาคนไทยสมัยโบราณ นั้นจะไม่นิยมสวมเสื้อผ้าแม้แต่ โดยเวลาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว จึงมีประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมตะวันตกขึ้น ในราชสำนัก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายสตรี โดย
 
ผู้หญิง ผม เลิกไว้ผมปีก หันมาไว้ผมยาวประบ่า การแต่งกาย นุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อผ่าอก แขนยาว ห่มแพร จีบตามขวาง สไบเฉียงทาบบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ถ้าอยู่บ้านห่มสไบไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจึงนุ่งห่มตาด เครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล แหวน เข็มขัด
 
ผู้ชาย ผม เลิกไว้ทรงมหาดไทย หันมาไว้ผมยาวทั้งศีรษะ ผมรองทรง พระมหากษัตริย์ และพวกราชทูตไทยจะแต่งตัวแบบฝรั่งคือ สวมกางเกงใส่เสื้อนอกคอเปิด สวมรองเท้าคัทชู
 
 อาหารภาคกลาง
 
อาหารภาคกลาง ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง, แกงกระทิ รวมทั้งยังมีอาหารชั้นสูงของชาววังที่ได้เผยแพร่ออกมาด้วย เช่น ข้าวแช่, ช่อม่วง, กระเช้าสีดา ฯลฯ เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น กระทงทอง, ข้าวเกรียบปากหม้อ และข้าวตัวหน้าตั้ง ฯลฯ 
 
ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย จะได้รับอิทธิพลมาจากมอญ, อินเดีย และขอม แต่จะมีเอกลักษณ์ด้านความงาม ความประณีต และความผูกพันธ์กับพุทธศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมไทยได้แก่ 
 
การไหว้ 

การไหว้ 
เป็นประเพณีการทักทัยที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย แสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การไหว้ยังมีความหมายอื่นด้วย เช่น การขอบคุณ, การขอโทษ และการกล่าวลา เป็นต้น
 
ภาษาถิ่นภาคกลาง ภาษากลางได้แก่ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดภาคกลางของ ประเทศไทย เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาภาคกลางที่สำคัญ คือ ภาษากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาประจำชาติ 
 
การแบ่งภาษาถิ่นเป็นการแบ่งอย่างคร่าว ๆ ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้วภาษาในแต่ละภาคก็ไม่เหมือนกันทีเดียว อาจจะมีความผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ภาษากรุงเทพฯ ถือเป็นภาษาถิ่นภาคกลางที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษามาตรฐานที่กำหนดให้คนในชาติใช้ร่วมกัน เพื่อสื่อสารให้ตรงกัน โดยแต่ภาษาถิ่นทุกภาษามีศักดิ์ศรีความเป็นภาษาเท่าเทียมกัน ถ้าเราเข้าใจและสามารถใช้ภาษาถิ่นได้ ทั้งนี้จะทำให้สื่อสารสัมฤทธิ์ผล และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันยิ่งขึ้น ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นในประเทศไทย
 
ธงชาติไทย

ธงชาติ และเพลงชาติไทย
 หรือธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 สี คือ 1. สีแดง คือ ชาติ 2. สีขาว คือ ศาสนา 3. สีน้ำเงิน คือ พระมหากษัตริย์
 
พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ไทย
 เป็นประมุขสูงสุดของประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และราชาธิปไตยภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ถือเป็นความผิดต่องค์พระมหากษัตริย์

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(27/28)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(59)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(6)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(19)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(55)