หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.คลองกระแซง > วัดมหาธาตุวรวิหาร


เพชรบุรี

วัดมหาธาตุวรวิหาร

วัดมหาธาตุวรวิหาร

Rating: 3/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดมหาธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองกระแชง อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรีมาแต่สมัยอยุธยา มีลักษณะพิเศษคือ มีพระปรางค์ห้ายอด ล้อมรอบด้วยพระระเบียงคด ที่หน้าบันพระวิหารหลวงประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยา มีความงดงามมาก ใบเสมา  เป็นใบเสมาคู่สมัยอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยหินทรายแดง จำหลักลวดลายทั้งใบ 
 
พระปรางค์วัดมหาธาตุ ฯ  เป็นพระปรางค์ห้ายอด ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่กลางเมืองเพชรบุรี  ความสูงถึงยอดนภศูลประมาณ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร  สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 1,000 ปี หลักฐานจากสมุดเพชรบุรี ระบุว่าได้พบอิฐสมัยทวาราวดี บริเวณป่าช้าวัดมหาธาตุ ฯ ด้านที่อยู่ติดกับวัดแก่นเหล็ก เป็นแผ่นอิฐยาวประมาณหนึ่งศอก ปิดทับอยู่บนหลุมฝังศพ มีซากโครงกระดูกหนึ่งโครง มีอักษรจารึกที่แผ่นอิฐนั้นมีความว่า "ข้าพเจ้าจีนแดงได้สร้างพระปรางค์ไว้ไม่สำเร็จ ขอให้ข้าพเจ้าได้สร้างพระปรางค์นี้อีกต่อไป" 
 
พระปรางค์วัดมหาธาตุ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัตนโกสินทร์มาโดยตลอด ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการบูรณะมาแล้ว 5 ครั้ง คือ 
 
ครั้งแรก  เมื่อปี พ.ศ.2357 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
 
ครั้งที่สอง  เมื่อปี พ.ศ.2406 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) สมุหพระกลาโหม และพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (ท้วม  บุนนาค) รักษาการเจ้าเมืองเพชรบุรี ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์ 
 
ครั้งที่สาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรพันธพิพิสุทธ (เทศ  บุนนาค) ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปรางค์ โดยก่อให้สูงระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เสร็จองค์พระปรางค์ก็พังลงมา จึงได้ก่อขึ้นไปอีกประมาณสี่ศอก งานค้างอยู่เพียงเท่านั้น เนื่องจากเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อน 
 
ครั้งที่สี่ เมื่อปี พ.ศ.2471 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสุวรรณมุนี (ชิด) เจ้าอาวาส ได้มอบให้นายพิณ อินฟ้าแสง เป็นผู้ออกแบบ และขออนุญาตบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อทางราชการ ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จเป็นองค์พระปรางค์ห้ายอด แต่ยังไม่มีลวดลายตกแต่งภายนอก เพราะทุนทรัพย์หมดลง ใช้เวลาดำเนินการอยู่ 1 ปี 11 เดือน รวมเงิน 13,000 บาท ในการบูรณะครั้งนี้ได้พบตลับลายครามบรรจุพระพิมพ์ขนาดเล็ก เป็นพระพุทธรูปทองและเงิน และพบพระบรมสารีริกธาตุจำนวนสององค์ 
 
ในปี พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ไปยังวัดมหาธาตุ ฯ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,500 บาท ร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์ด้วย ได้มีผู้ร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำนวนมาก การบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2479 เป็นพระปรางค์ที่สูงใหญ่สง่างาม ประกอบด้วย ศิลปะปูนปั้นอย่างวิจิตรงดงาม รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 20,000 บาท 
 
ครั้งที่ห้า  ในรัชสมัยปัจจุบัน พระเทพสุวรรณมุนี เจ้าอาวาส ได้ทำการบูรณะ เมื่อปี พ.ศ.2535 ใช้เวลาประมาณปีเศษ โดยใช้เงินจากผู้มีจิตศรัทธา เป็นเงิน 11 ล้านบาทเศษ
 
พระวิหารหลวง มีงานประติมากรรมที่หน้าบันและงานจิตรกรรมในพระวิหารหลวง ดังนี้ 
-  หน้าบัน  เป็นฝีมือของชาวเพชรบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปั้นเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ และหนุมานแบกครุฑ ประกอบด้วยลายก้านขด ส่วนล่างของหน้าบันทำเป็นรูปเทพพนม ช่อฟ้าและหางหงส์ก็ปั้นเป็นรูปเทพพนมเช่นกัน 
 
-  ภาพจิตรกรรม  บริเวณขื่อ เพดาน และผนังด้านหน้าพระประธาน ระหว่างช่องประตู เป็นภาพพุทธประวัติผนังทิศเหนือตอนบนสุด เขียนลายเส้นลวดลูกฟักก้ามปู ถัดลงมาเขียนภาพเทพชุมนุมสามชั้น ชั้นละ 29 องค์ แต่ละชั้นมีลายเส้นลวดกั้นแบ่งระดับ ระหว่างองค์เทพมีพัดกั้น ตรงลายลูกฟักที่เส้นลวด เขียนชื่อผู้บริจาคเงินไว้ทุกช่อง
 
ระหว่างช่องหน้าต่าง แบ่งผนังออกเป็นเจ็ดห้อง เขียนภาพทศชาติชาดก ผนังด้านทิศใต้ จัดผนังแบบเดียวกับด้านทิศเหนือและเขียนภาพคล้ายกัน แต่จำนวนเทพชุมนุมแต่ละชั้นมีน้อยกว่า สมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ในจดหมายเหตุระยะทางไปมณฑลราชบุรี ร.ศ.121 ได้กล่าวถึงภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวงไว้ มีความตอนหนึ่งว่า 
 
"ผนังข้างบน ด้านหน้ามีมารประจญ ด้านข้างเทพชุมนุม หลังท้าวมหาชมพู ข้างล่างเรื่องมหาชาติ เห็นจะราวพระยอดฟ้า ไม่สู้เก่านัก ไม่สู้ดี แปลกแต่เทพชุมนุมมีวิทยาธรนั่งด้วย เห็นจะเอาอย่างวัดใหญ่" 

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดมหาธาตุวรวิหาร

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)