Rating: 2.5/5 (998 votes)
1. วัฒนธรรมทางภาษาท้องถิ่น ภาคเหนือนั้นมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวล ไพเราะ เป็นเอกลักษณ์ ภาษาพูด และภาษาเขียน ที่เรียกกันว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยจะมีการออกเสียง สำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันยังคงใช้ภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสารกัน
ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง ของภาคเหนือ เป็นประเพณีภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ชาวบ้านได้ทำบุญร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นงานรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นให้ได้กลับมาเจอกัน และทำบุญร่วมกัน เป็นประเพณีภาคเหนือที่สืบทอด และปฎิบัติกันมาอย่างยาวนาน ที่ไม่สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลาที่จัดงานคือเดือน 5 ถึงเดือน 7 เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3 - 7 วัน
ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง ซึ่งประเพณีภาคเหนือ เป็นงานประเพณีขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีภาคเหนือนี้ว่า โดยพิธีจองเปรียง หรือลอยโขมด
ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง เป็นประเพณีภาคเหนือที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม จะมีประเพณีตั้งธรรมหลวง และทอดผ้าป่า และในเดือนธันวาคมจะมีการเกี่ยวข้าวดอ คือข้าวสุกก่อนข้าวปี และข้างแรมจะมีการเกี่ยวข้าวปี
ประเพณีสืบชะตา ประเพณีภาคเหนือ วัฒนธรรมภาคเหนือ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา โดยเชื่อกันว่าจะเป็นการต่ออายุ หรือต่อชีวิตของบ้านเมือง หรือคนให้ยืนยาว ให้ชีวิตกลับจากร้ายกลายเป็นดี เป็นพิธีกรรมที่ว่าด้วยเรื่องการสือบต่ออายุให้ยืนยาว เสริมสร้างความสุข ความเจริญ และความเป็นสิริมงคลให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของชะตา ตลอดจนมีความเชื่อว่าสามารถขจัดภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย
การกิ๋นแขก-ที่สันกำแพง ประเพณีวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีไทยที่ถือเป็นประเพณีแต่งงาน เรียกแบบภาษาเหนือว่า "กิ๋นแขก" โดยที่อำเภอสันกำแพง ยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้อยู่ เมื่อหาฤกษ์งามยามดีได้แล้ว ก็กำหนดวันที่จะจัดงาน โดยฝ่ายหญิงจะเตรียมอาหารไว้เลี้ยงแขก ตามสมควรแก่ฐานะของตน ฝ่ายชายต้องเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้ ดาบ 1 เล่ม, ขันหมาก 1 ขัน, ผ้าห่มใหม่ 1 ผืน, หีบ 1 ใบ และเงินใส่ผีอีก 18 แถบ ฝ่ายหญิงจะให้ผู้แทนเป็นผู้ถือขันข้าวตอกดอกไม้ เพื่อมาเชิญเจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาว โดยเมื่อถึงประตูบ้านเจ้าสาว ก็จะมีการกันประตูบ้าน ไม่ให้เจ้าบ่าวเข้าไป จะมีการโห่ขานรับขานสู้กัน ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการต่อรองราคา พอได้เวลา และราคาสมควร เจ้าบ่าวก็จะจ่ายค่าผ่านประตูไปให้ เมื่อผ่านประตูเข้ามาก็จะมีการโห่ร้องกันสนุกสนาน โดยการกั้นประตูนี้ ที่บันได จะมีญาติ หรือเด็ก ๆ ของเจ้าสาวมาตักน้ำเพื่อล้างเท้าให้เจ้าบ่าว จากนั้นเจ้าบ่าวก็ให้เงินบ้างพอสมควร จากนั้นญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงก็จะจูงมือเจ้าบ่าวเข้าไปนั่นอยู่กับเจ้าสาวเพื่อทำพิธีการผูกข้อมือ และรับพรจากผู้ใหญ่ และแขกสำคัญที่ได้เชิญมา
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ ภาคเหนือ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าล้านนา เป็นดินแห่งความหลายหลายทางวัฒนธรรม และประเพณี ที่มีเสน่ห์ให้ค้นหาไม่น้อยกว่าภาคอื่น ๆ ของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความน่าหลงไหล ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว, ประวัติศาสตร์ความเป็นมา, ภาษาท้องถิ่น, การแต่งกาย, การละเล่นพื้นบ้าน, อาหารพื้นเมือง, ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ นับเป็นกิจกรรมที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน
ภาคเหนือของประเทศไทย นั้นมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเขตภูเขาสลับกับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา โดยจะมีผู้คนอาศัยกระจายกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเรียกว่ากลุ่มวัฒนธรรมล้านนา โดยผู้คนจะมีวิถีชิวิต, ประเพณี และขนบธรรมเนียม ที่เก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่สำคัญที่ถึงจะมีความคล้ายคลึงกันแต่ก็มีความแตกต่าง เช่น สำเนียงการพูด, การฟ้อนรำ, การขับร้อง และวิถีชีวิตแบบเกษตรกร โดยเฉพาะจะมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อในวิญญาณของบรรพบุรุษ และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยมักแสดงออกความรู้สึก ความคิดผ่านภาษาวรรณกรรม, ดนตรี และงานฝีมือ รวมถึงการจัดงานฉลองในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณ
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เดิมวัฒนธรรมล้านนา มีศูนย์กลางที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่แบ่งการปกครองแบบนครรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย
ภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับกับแอ่งหุบเขา จึงทำให้มีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว และในฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนข้างสูง เนื่องจากห่างไกลทะเล โดยรวมถือว่าภาคเหนือนั้นมีป่าไม้มากถือเป็นแหล่งกำเนิดของเม่น้ำที่สำคัญหลายสายได้แก่ เม่น้ำน่าน, แม่น้ำปิง, แม่น้ำยม และแม่น้ำวัง โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 93,690 ตารางกิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบขนาดของพื้นที่ในภาคเหนือจะมีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศฮังการีมากที่สุด แต่จะมีขนาดเล็กกว่าประเทศเกาหลีใต้เพียงเล็กน้อย
ภาคเหนือ ประกอบไปด้วย 17 จังหวัด ซึ่งจะแบ่งออกเป็นภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่างดังนี้
- ภาคเหนือตอนบน มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดเชียงราย 2. จังหวัดเชียงใหม่ 3. จังหวัดน่าน 4. จังหวัดพะเยา 5. จังหวัดแพร่ 6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7. จังหวัดลำปาง 8. จังหวัดลำพูน 9. จังหวัดอุตรดิตถ์
- ภาคเหนือตอนล่าง มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดตาก 2. จังหวัดพิษณุโลก 3. จังหวัดสุโขทัย 4. จังหวัดเพชรบูรณ์ 5. จังหวัดพิจิตร 6. จังหวัดกำแพงเพชร 7. จังหวัดนครสวรรค์ 8. จังหวัดอุทัยธานี
วัฒนธรรมในท้องถิ่นและประเพณีของภาคเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้
1. วัฒนธรรมทางภาษาท้องถิ่น ภาคเหนือนั้นมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวล ไพเราะ เป็นเอกลักษณ์ ภาษาพูด และภาษาเขียน ที่เรียกกันว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยจะมีการออกเสียง สำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันยังคงใช้ภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสารกัน
2. วัฒนธรรมทางการแต่งกาย วัฒนธรรมภาคเหนือมีการแต่งกายพื้นเมืองที่แตกต่างกันออกไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชน เนื่องจากผู้คนในภาคเหนือมีเชื้อชาติที่หลากหลาย ซึ่งการแต่งกายจะแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น
- ผู้หญิงภาคเหนือ จะนุ่งผ้าถุง หรือผ้าซิ่น มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งหญิงสาว และคนแก่ โดยผ้าถุงจะมีความประณีต มีลวดลายที่งดงาม ส่วนเสื้อคอกลมจะมีสีสัน ลวดลายสวยงาม โดยปกติอาจมีการห่งสไปทับ และเกล้าผม
- ผู้ชายจะนิยมนุ่งกางเกงขายาว 3 ส่วน ที่ชาวบ้านจะเรียกว่า "เตี่ยว", "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" จะทำจากผ้าฝ้าย โดยจะย้อมเป็นสีน้ำเงิน หรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแบบแขนสั้น และแบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงิน หรือสีดำ ที่เรียกกันว่า เสื้อม่อฮ่อม โดยชุดนี้จะใส่เวลาออกไปทำงาน นอกจากนี้ยังใส่เสื้อคอจีนแบบแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า หรือผ้าโพกศรีษะ และมีเครื่องประดับเงิน หรือทอง ซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือ และประพณีภาคเหนือ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์แต่กต่างจากภาคอื่น ๆ ของไทย
ผ้าพื้นเมืองของภาคเหนือ ผ้าไหมลายเพชร จังหวัดกำแพงเพชร, ผ้าฝ้ายลายปลาเสือตอ จังหวัดนครสวรรค์, ผ้าตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ จังหวัดเชียงใหม่, ผ้าพื้นเมืองเชียงแสน ลายดอกขอเครือ (เกี่ยวขอ) จังหวัดเชียงราย, ผ้าไหมลายน้ำไหล จังหวัดน่าน, ผ้าฝ้ายลายดอกปีกค้างคาว จังหวัดตาก, ผ้าไหมลายน้ำไหล จังหวัดน่าน, ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกบีบ จังหวัดพิษณุโลก, ผ้าหม้อห้อม จังหวัดแพร่ และผ้าฝ้ายลายนกกระจิบ จังหวัดพิจิตร
3. วัฒนธรรมการกิน ภาคเหนือจะมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน คือ การกินข้าวเหนียว และปลาร้า ซึ่งภาษาเหนือจะเรียกว่า ข้าวนิ่ง และฮ้า ส่วนวิธีการปรุงอาหารองภาคเหนือ จะนิยมนำมาต้ม, ปิ้ง, หมก และแกง แต่จะไม่นิยมใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ส่วนอาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือได้แก่ น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกปู, แกงโฮะ, ไส้อั่ว, แคบหมู, แกงฮังเล, ลาบหมู, ผักกาดจอ, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ขนมจีนน้ำเงี้ยว และข้าวซอย เป็นต้น
นอกจากนี้คนในภาคเหนือจะนิยมการกินหมาก และอมเมี่ยง โดยนำใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสที่เปรี้ยวอมฝาด และนำใบเมี่ยงมาผสมกับเกลือเม็ด หรือน้ำตาล แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล คนล้านนาโบราณจะมีความนิยมสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วยขนาดเท่านิ้วมือ ยาวเกือบคือ โดยชาวบ้านจะเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า ขี้โย หรือบุหรี่ขี้โย ซึ่งจะนิยมสูบกันมากในภาคเหนือเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น และมีความเชื่อว่าจะทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
4. วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา และความเชื่อ ภาคเหนือนั้นมีความผูกพันกับการนับถือผี ซึ่งเชื่อว่ามีสิ่งเร้นลับที่คุ้มครองรักษาอยู่ โดยจะสังเกตได้จากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อจะเข้าป่า หรือพักแรมอยู่ในป่า จะนิยมบอกกล่าว และขออนุญาตเจ้าที่ เจ้าทางอยู่เสมอ เมื่อเวลาจะกินข้าวในป่าจะแบ่งอาหารบางส่วนในเจ้าที่ด้วยเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ประเพณีภาคเหนือ ที่ยังคงนับถือผีสาง ซึ่งแบ่งประเภทผีสาง ตามความเชื่อได้ดังนี้
ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว, ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา, ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมือง และชุมชน, ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย, ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา, ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน, ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี และผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
ซึ่งชาวล้านนาจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษในช่วงเดือน 4 เหนือเป็ง (มกราคม) ถึง 8 เหนือ (พฤษภาคม) เช่น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพระเยา จะมีการเลี้ยงผีบ้านเสื้อเมือง ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นผีบรรพบุรุษขอชาวไทลื้อ หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือที่เรียกว่า ประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีภาคเหนือที่เก่าแก่ของคนเมืองไม่นับรวมถึงการเลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปูแสะย่าแสะ ของชาวลั๊วะ ซึ่งจะทยอยทำกันเป็นประเพณีภาคเหนือต่อจากนี้
ในช่วงฤดูร้อนจะมีการเข้าทรงเจ้าตามหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อทางภาคเหนือว่าการลงเจ้าเป็นการพบปะเพื่อพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งหนึ่งปีจะมีหนึ่งครั้ง และจะถือโอกาสนี้ทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย อีกทั้งยังมีการมีพิธีเลี้ยงผีมดผีเม็ง ซึ่งจะจัดหนึ่งครั้งในหนึ่งปี โดยจะต้องหาฤกษ์ที่เหมาะสมก่อนวันเข้าพรรษา และทำพิธีอัญเชิญผีเม็งลงมา เพื่อขอให้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองชาวบ้านที่เจ็บป่วย โดยในงานพิธีจะมีการแสดงดนตรีประกอบ
คนล้านนาในภาคเหนือ ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อในเรื่องพิธีเลี้ยงผี แต่ยังไม่ลืมบรรพบุรุษที่เคยช่วยเหลือให้ชีวิตมีความสุขตั้งแต่รุ่นปู่ยาตายาย ยังคงพบเรือนเล็ก ๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้านเสมอ เรียกว่า "หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน" ปัจจุบันในเขตตัวเมืองของภาคเหนือ ประเพณีดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลง และเหลือน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ประเพณีนี้ชาวบ้านในชนบทยังคงปฏิติบัติกันอยู่
5. ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีไทยเกิดจากการผสมผสานวิถีการดำเนินชีวิต และความเชื่อทางพุทธศาสนา การนับถือผี ส่งผลทำให้ประเพณีภาคเหนือนั้นเป็นประเพณีที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปตามฤดูกาล โดยภาคหนือนั้นจะมีงานประเพณีในทุก ๆ เดือน โดยประเพณีภาคเหนือส่วนใหญ่มีดังนี้
ประเพณีสงกรานต์ของภาคเหนือ ถือเป็นประเพณีช่วงแรกของการเริ่มปีใหม่ โดยแบ่งออกได้ดังนี้
- วันที่ 13 เมษายน หรือวันสังขารล่อง โดยคนภาคเหนือมักจะเถือเป็นวันสิ้นสุดของปี โดยจะมีการยิงปืน และจุดประทัด เพื่อใช้ในการขับไล่สิ่งไม่ดี วันนี้ผู้คนจะเก็บกวาดบ้านเรือน และทำความสะอาดวัด
- วันที่ 14 เมษายน หรือวันเนา ในตอนเช้าจะมีการเตรียมอาหาร และเครื่องไทยทาน สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น และในตอนบ่ายจะไปขนทราบจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเป็นเจดีย์ทราบในวัด เพื่อทดแทนทราบที่ผู้คนเหยียบติดเท้าออกมาจากวัดตลอดทั้งปี
- วันที่ 15 เมษายน หรือวันพญาวัน ถือเป็นวันที่เริ่มศักราชใหม่ จะมีการทำบุญถวายขันข้าว, ถวายตุง ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุ และประเพณีรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
- วันที่ 16-17 เมษายน นั้นถือเป็นวันปากปี และวันปากเดือน โดยจะเป็นวันที่ทำพิธีทางไสยศาสตร์ สะเดาะเคราะห์ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ โดยชาวล้านนาในภาคเหนือนั้นจะมีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตนเอง ญาติพี่น้อง และทำให้บ้านเมืองยืนยาว ให้มีความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นสิริมงคลโดยประเพณีการสืบชะตานั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเพณีสืบชะตาคน, ประเพณีสือชะตาบ้าน และประเพณีสืบชะตาเมือง
แห่นางแมว ของภาคเหนือ ประเพณีภาคเหนือนี้จะจัดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเพาะปลูก ชาวบ้านจะมีความเชื่อเรื่องพิธีขอฝนโดยการแห่งนางแมว ซึ่งเชื่อว่าหากจัดพิธีแห่นางแมวแล้วจะช่วยให้ฝนตก ไร่นาอุดมสมบูรณ์ ไม่แล้งน้ำ
ประเพณีปอยน้อย, บวชลูกแก้ว, แหล่ส่างลองเป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของภาคเหนือ เป็นประเพณีภาคเหนือที่นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ในตอนช่วงเช้าหลังการเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ ซึ่งมีการแห่ลูกแก้ว โดยผู้บวชจะแต่งตัวสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้เสร็จออกบวช และตรัสรู้ และนิยมใช้ลูกแก้วขี่ม้า, ขี่ช้าง หรือขึ่คอคน ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง คือ ประเพณีลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนในภาคเหนือ
ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง ของภาคเหนือ เป็นประเพณีภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมภาคเหนือที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ชาวบ้านได้ทำบุญร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นงานรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นให้ได้กลับมาเจอกัน และทำบุญร่วมกัน เป็นประเพณีภาคเหนือที่สืบทอด และปฎิบัติกันมาอย่างยาวนาน ที่ไม่สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลาที่จัดงานคือเดือน 5 ถึงเดือน 7 เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3 - 7 วัน
ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง ซึ่งประเพณีภาคเหนือ เป็นงานประเพณีขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีภาคเหนือนี้ว่า โดยพิธีจองเปรียง หรือลอยโขมด
ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง เป็นประเพณีภาคเหนือที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม จะมีประเพณีตั้งธรรมหลวง และทอดผ้าป่า และในเดือนธันวาคมจะมีการเกี่ยวข้าวดอ คือข้าวสุกก่อนข้าวปี และข้างแรมจะมีการเกี่ยวข้าวปี
ประเพณีลอยโคม ประเพณีภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยจะเป็นการสะเดาะเคราะห์ ช่วยให้เรื่องร้ายกลับกลายเป็นดี และพ้นจากทุกข์ภัย โคมลอยจะทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่ ภายในมีตะเกียงไฟ เพื่อให้เกิดไอร้อน และทำให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ
ประเพณีตานตุง ประเพณีภาคเหนือในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง ธง วัตถุประสงค์ของการทำตุง คือการถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งชาวล้านนาจะถือว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเป็นปัจจัยกุศลให้แก่ตนเองในชาติหน้า โดยมีความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วจะได้เกาะชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก โดยวันที่ถวายตุงจะนิยมทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายองเทศกาลสงกานต์
ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก ประเพณีภาคเหนือที่ชาวพุทธจะมีการทำบุญให้ทาน และรับพระจากพระ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน
ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ ที่จะบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่
ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ประเพณีภาคเหนือในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เพื่อเป็นที่รำลึก และสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
ประเพณีลอยกระทงสาย ประเพณีของภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เพื่อบูชาเจ้าแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฎิกูลลงในแมน้ำ และอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท
ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เพื่อเตรียมอาหารไปถวายข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่ในภาคเหนือ
ประเพณีทอดผ้าป่าแถว ประเพณีของภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องไทยธรรม เพื่อเป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามความเชื่อมาแต่โบราณ โดยจะทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเดือนมิถุนายน หรือปลายเดือนพฤษภาคม
ประเพณีแข่งเรือยาว ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ จังหวัดน่าน
ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ จังหวัดตาก
ประเพณีทานหลัวผิงไฟ ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เพื่อถวายฟืนแด่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในหน้าหนาว ในเดือนมกราคม
ประเพณีอู้สาว เป็นประเพณีของชาวภาคเหนือ คำว่า อู้ ภาษาไทยในภาคเหนือจะแปลว่า การพูดคุย สนทนา หรือแอ่วสาวเพื่อเป็นการพูดคุยกันเป็นทำนอง ซึ่งเป็นกวีโวหาร
นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่วแล้ว ยังมีประเพณีภาคเหนือที่มีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยในเผ่าต่าง ๆ เช่น ไทยใหญ่, ไทยยวน, ไทยพวน, ไทยลื้อ, ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวน หรือไทยโข่ง, ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ เป็นต้น
ประเพณีสืบชะตา ประเพณีภาคเหนือ วัฒนธรรมภาคเหนือ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา โดยเชื่อกันว่าจะเป็นการต่ออายุ หรือต่อชีวิตของบ้านเมือง หรือคนให้ยืนยาว ให้ชีวิตกลับจากร้ายกลายเป็นดี เป็นพิธีกรรมที่ว่าด้วยเรื่องการสือบต่ออายุให้ยืนยาว เสริมสร้างความสุข ความเจริญ และความเป็นสิริมงคลให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของชะตา ตลอดจนมีความเชื่อว่าสามารถขจัดภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย
ประเภทของประเพณีสืบชะตา ประเพณีภาคเหนือ การสืบชะตาไม่ได้ทำเฉพาะคนเพียงอย่างเดียว แต่เชื่อว่า เมื่อคนนั้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะต้องมีการสืบชะตาต่อเนื่องกันไปด้วย สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเพณีการสืบชะตาเมือง มีหลักฐานที่ปรากฎตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ล้านนาในราชวงศมังราย โดยเชื่อกันวาง แผนผังเมืองจะต้องมีดวงชะตาเมือง ต้องมีจุดศูนย์กลางของเมือง เมือบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ประชาชนก็จะอยู่ด้วยความสุข เป็นพิธีที่แสดงออกซึ่งความเคารพ และความกตัญญูต่อผู้พิทักษ์บ้านเมือง เช่น พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, พระหลักเมือง เป็นต้น
2. ประเพณีการสืบชะตาบ้าน มีจุดประสงค์เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรือสิ่งที่ไม่ดีในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้านนั้น ๆ
3. ประเพณีการสืบชะตาคน เป็นประเพณีภาคเหนือ ที่นิยมทำกันในวันเกิด, วันได้ยศตำแหน่ง หรือบางครั้งที่เกิดอาการเจ็บป่วย วัตถุประสงค์เพื่อต่ออายุ ทำให้แคล้วคลาดจากโรคภัยไข้เจ็บ
4. ประเพณีการสือบชะตาพืชผล เป็นประเพณีที่ไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก วัตถุประสงค์เพื่อให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ และเกิดสิริมงคลแก่ไร่นาของชาวสวน
การกิ๋นแขก-ที่สันกำแพง ประเพณีวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีไทยที่ถือเป็นประเพณีแต่งงาน เรียกแบบภาษาเหนือว่า "กิ๋นแขก" โดยที่อำเภอสันกำแพง ยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้อยู่ เมื่อหาฤกษ์งามยามดีได้แล้ว ก็กำหนดวันที่จะจัดงาน โดยฝ่ายหญิงจะเตรียมอาหารไว้เลี้ยงแขก ตามสมควรแก่ฐานะของตน ฝ่ายชายต้องเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้ ดาบ 1 เล่ม, ขันหมาก 1 ขัน, ผ้าห่มใหม่ 1 ผืน, หีบ 1 ใบ และเงินใส่ผีอีก 18 แถบ ฝ่ายหญิงจะให้ผู้แทนเป็นผู้ถือขันข้าวตอกดอกไม้ เพื่อมาเชิญเจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาว โดยเมื่อถึงประตูบ้านเจ้าสาว ก็จะมีการกันประตูบ้าน ไม่ให้เจ้าบ่าวเข้าไป จะมีการโห่ขานรับขานสู้กัน ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการต่อรองราคา พอได้เวลา และราคาสมควร เจ้าบ่าวก็จะจ่ายค่าผ่านประตูไปให้ เมื่อผ่านประตูเข้ามาก็จะมีการโห่ร้องกันสนุกสนาน โดยการกั้นประตูนี้ ที่บันได จะมีญาติ หรือเด็ก ๆ ของเจ้าสาวมาตักน้ำเพื่อล้างเท้าให้เจ้าบ่าว จากนั้นเจ้าบ่าวก็ให้เงินบ้างพอสมควร จากนั้นญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงก็จะจูงมือเจ้าบ่าวเข้าไปนั่นอยู่กับเจ้าสาวเพื่อทำพิธีการผูกข้อมือ และรับพรจากผู้ใหญ่ และแขกสำคัญที่ได้เชิญมา
ขั้นตอนสุดท้ายจะเรียกว่า พิธีเสียผี จะทำหน้าที่โดยบิดา และมารดาของฝ่ายหญิง เป็นการประกอบพิธีภายใน โดยคนภายนอกจะไม่มีส่วนรู้เห็น เมื่อบ่าวสาว ได้อยู่กินกัน 3 - 7 วัน ก็จะมีการกราบไหว้พ่อตระกูลด้วย ซึ่งก็จะมีการรับไหว้ และให้ศีล ให้พรกัน หลังจากนั้นบ่าวต้องไปอยู่บ้านเจ้าสาวกับพ่อตาแม่ยาย อย่างน้อย 1 ปี เพื่อฝึกงาน ฝึกอาชีพกับพ่อตา เมื่อเห็นว่ามีความสามารถพอแล้ว ก็สามารถไปตั้งครอบครัวใหม่ของตนเองได้ แต่จำเป็นต้องจัดพิธีการให้พ่อตาแม่ยายเป็นพี่เลี้ยงในการ ตั้งครอบครัวใหม่ในครั้งนี้ โดยในปัจจุบันจะไม่นิยมทำกันแล้ว เมื่อแต่งงานก็มักจะไปตั้งครอบครัวใหม่เลย ไม่มาอยู่กับพ่อตาแม่ยายตามประเพณีของภาคเหนือแต่โบราณ
6. เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ วัฒนธรรมภาคเหนือ วัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านท้องถิ่นในภาคเหนือ นั้นจะเน้นความสนุกสนาน ร้องได้ทุกโอกาส นิยมร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และพักผ่อนหน่อนใจ ลักษณะการขับร้อง และท่วงทำนอง นุ่มนวล อ่อนโยน สอดคล้องกับเครื่องเล่นดนตรีหลัก เช่น ปี่, ซึง และสะล้อเป็นต้น โดยสามารถแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 4 ประเภท ดังนี้
- เพลงซอ เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ คือ เพลงที่ร้องตอบโต้กันระหว่างชาย และหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกัน โดยมีการบรรเลงปี่, สะล้อ และซึง ตามจังหวะไปด้วย
- เพลงค่าว เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ
- เพลงจ๊อย เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ มีผู้ร้องหลายคน คล้ายการขับลำนำเป็นการนำบทประพันธ์เพลงในภาคเหนือ มาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ การแสดงอารมณ์รัก ความเงียบเหงา มีผู้ขับร้องเพียงคนเดียว อาจใช้ดนตรีบรรเลง หรือไม่ก็ได้ เช่น จ๊อยให้กับคนรัก, จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอการต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
- เพลงเด็ก เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กในภาคอื่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็ก, เพลงสิกจุ่ง-จา เป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะมีผู้เล่นกี่คนก็ได้ โดยใช้ชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้ หรือใต้ถุนบ้าน โดยการแกว่งชิงช้าไปมาให้สูง ๆ ร้องเพลงประกอบกับผู้เล่นตามจังหวะที่ชิงช้าแกว่งไปมา
นอกจากนี้ มีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือนิยมใช้กล่อมลูก มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "สิกจุ้งจาโหน", อื่อจา" ซึ่งเป็นเพลงกล่อมเด็กของภาคเหนือที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของคนในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
7. นิทานพื้นบ้าน ลักษณะนิทานพื้นบ้านในแต่ละภาคจะแตกต่างกันไปตามลักษณะสำคัญทางภูมิภาค ซึ่งจะเต็มไปด้วยสาระ คติสอนใจ พร้อมความเพลิดเพลินสนุกสนาน โดยส่วนมากนิทานพื้นบ้านของภาคเหนือมักจะเป็นตำนานของสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญที่เล่าสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน นิทานพื้นบ้าน จึงสะท้องให้เห็นสภาพวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นภาคเหนือ ได้แก่ เรื่อง เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์, เรื่อง ลานนางคอย จังหวัดแพร่, เรื่อง ปู๋เซ็ดค่ำลัวะ, เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงค่ำพญา, เรื่อง เชียงดาว, เรื่อง ดนตรีธรรมชาติ, เรื่อง อ้ายก้องขี้จุ๊, เรื่อง ควายลุงคำ, เรื่อง ผาวิ่งชู้ และเรื่อง ย่าผันคอเหนียง เป็นต้น
8. เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่
- สะล้อ หรือทะล้อ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เป็นเครื่องสายบรรเลง ใช้คันชักสี ตัวสะล้อเป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว
- ซึง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดี วัสดุทำจากไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็ง
- ขลุ่ย เครื่องดนตรีพื้นบ้านลักษณะเดียวกันกับขลุ่ยของประเพณีภาคกลาง
- ปี่ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ตัวลิ้นทำด้วยโลหะ ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง
- ปี่แน เครื่องดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะคล้ายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ปี่ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือพิณเพียะ
- กลองเต่งถิ้ง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ที่มีลักษณะเป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง
- ตะหลดปด หรือมะหลดปด เครื่องดนตรีพื้นบ้าน มีลักษณะเป็นกลองสองหน้า ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร
- กลองตึ่งโนง เครื่องดนตรีพื้นบ้านประเภทกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองยาวประมาณ 3 - 4 เมตร
- กลองสะบัดชัยโบราณ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ใช้ตีเมื่อยามออกศึกสงคราม เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้กับทหารในการต่อสู้ ปัจจุบันจะเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้าน ลีลาการตีกลองจะมีลักษณะเร้าใจโลดโผน ใช้อวัยวะต่าง ๆในร่างกาย เช่น ศอก, เข่า, ศีรษะ ใช้ประกอบในการตีกลองสะบัดชัยโบราณ
9. การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ สามารถพบเห็นได้ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนาของภาคเหนือ, งานมงคล และงานรื่นเริงทั่วไป ซึ่งจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ เช่น ฟ้อนภูไท ฟ้อนเทียน, ฟ้อนดาบ, ฟ้อนเงี้ยว, ฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเมือง, ฟ้อนลาวแพน, ฟ้อนดวงเดือน, ฟ้อนรัก, ฟ้อนมาลัย, ฟ้อนดวงดอกไม้, ฟ้อนโยคีถวายไฟ, ฟ้อนไต, รำกลองสะบัดชัย, รำลาวกระทบไม้ และระบำชาวเขา ภาคเหนือในประเทศไทยนั้นประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน และประเพณีที่คล้ายคลึงกัน โดยจะสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตตามฤดูกาล
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร
ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว