หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.แพร่ > อ.เมืองแพร่ > ต.ร่องฟอง > บ้านร่องฟอง


แพร่

บ้านร่องฟอง

บ้านร่องฟอง

Rating: 3.8/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
บ้านร่องฟอง เป็นหมู่บ้านผลิตเครื่องมือเกษตรที่ทำจากเหล็ก เช่น จอบ เสียม มีด พร้า เคียว ชมวิธีการตีเหล็ก และการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าร่ม การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 101 (สายแพร่-น่าน) ประมาณ 4 กม.แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1101 จะพบป้ายบอกทางเข้าหมู่บ้าน
ดั่งเดิมหมู่บ้านร่องฟองเป็นชาวไทยใหญ่ ชาวบ้านตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ที่ ที่มีห้วยน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน
 
ห้วยน้ำนั้นถูกเรียกชื่อว่าห้วยฮ่องฟอง ซึ่งคำว่า “ฮ่องฟอง” เป็นภาษาพื้นเมือง ที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้เนื่องมาจากเมื่อถึงฤดูฝน จะมีน้ำไหลลงมาจากภูเขาด้านตะวันออก น้ำที่ไหลลงมาจะกระทบกับโขดหินตามลำห้วย แตกกระเซ็นเป็นฟองเต็มลำห้วยทุก ๆ ปี จึงเรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า “ห้วยร่องฟอง”
 
และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำห้วยแห่งนี้ บรรพบุรุษจึงตั้งรกรากตามแนวลำห้วย และเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ตามชื่อของลำห้วยว่า “หมู่บ้านร่องฟอง” ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2401 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่ที่ 3 ของตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีประชากรประมาณ 30 กว่าหลังคาเรือน โดยมีบ่หลักเสนา เสนาธรรม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านร่องฟอง (ผู้ใหญ่บ้านแต่เดิมเรียก “บ่หลัก”)อาชีพหลักคือการเกษตร อาชีพเสริมคือรับจ้างเย็บผ้าที่ตำบลทุ่งโฮ้ง นอกจากนี้ยังมีอาชีพทำล้อเกวียนจำหน่าย เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนในขณะนั้น
 
ต่อมามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้น จึงหันมาเปลี่ยนจากการรับจ้างเย็บผ้าและรับจ้างตีเหล็กจากตำบลทุ่งโฮ้ง มาทำโรงงานตีเหล็กและเย็บผ้ากันเองที่หมู่บ้านร่องฟอง ในสมัยก่อนยังมีในการประกอบอาชีพตีเหล็กและเย็บผ้าน้อย บางครัวเรือนจึงรวมทุนกันทำโดยใช้แรงงานในครัวเรือนและบรรดาญาติพี่น้องเป็นหลัก ยังไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยจึงใช้แรงงานคนในการทำงาน เช่น การตีหุ่นมีด , การสูบลมเป่าไฟ , การลับและขัดมีดให้มีความขาวคม และทำการเผาถ่านเองเพื่อเป็นวัตถุดิบในการเผาเหล็ก
 
ต่อมาการบริหารงานของฝ่ายปกครองมีความสามัคคี ประชากรมีความเข้มแข็ง ประกอบกัปเพื่อการได้มาซึ่งงบประมาณมาพัฒนาชุมชนอย่างเป็นเอกเทศ เพื่อความเจริญในหลาย ๆ ด้าน จึงมีการแยกหมู่บ้าน ออกเป็นห้าหมู่บ้าน และสถาปนาตนเองตั้งเป็นตำบลร่องฟองขึ้น
 
ตำบลร่องฟอง เป็นตำบลเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีอาชีพหลักตีเหล็กและเย็บผ้า ส่วนด้านการเกษตรเป็นอาชีพเสริม โดยรวมแล้วประชาชนภายในตำบลร่องฟองผู้ชายจะตีเหล็ก ผู้หญิงจะเย็บผ้า สามารถสร้างรายได้ภายในครอบครัวตลอดทั้งปี จึงมีสโลแกนด์ว่า “ชายตีเหล็ก หญิงเย็บผ้า นำหน้าเศรษฐกิจ พิชิตความจน ชุมชนให้ความร่วมมือ” 
 
ตำบลร่องฟองอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2547 มีประกาศจากกระทรวงมหาดไทย เรื่องการยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีประชากรไม่ถึงเกณฑ์ ให้ยุบรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้น
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศยุบองค์การบริหารส่วนตำบลโดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชำ รวมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และเรียกชื่อว่าองค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ประกาศ ณ วันที่ 6 เดือนกันยายน พ.ศ.2547 
 
ดังนั้นตำบลน้ำชำจึงอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ตำบลน้ำชำมี 4 หมู่บ้าน อาชีพหลักทำการเกษตร สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์คือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ยี่ห้อ “อิ่มทิพย์” เกิดจากภูมิปัญญาและการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านตำบลน้ำชำ
 
โดยมีตลาดรองรับอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลน้ำชำคือวนอุทยานแพะเมืองผี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีตำนานอันลึกลับมาเป็นเวลายาวนาน มีนักท่องเที่ยวมาแวะเยี่ยมชมความสวยงามตลอดทั้งปี สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้

วิถีชีวิต หมวดหมู่: วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน กลุ่ม: หมู่บ้าน ชุมชน

ปรับปรุงล่าสุด : 5 ปีที่แล้ว

แผนที่บ้านร่องฟอง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(4)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(2)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(2)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(31)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(6)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(14)

น้ำตก น้ำตก(6)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(5)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(5)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(5)