หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.ยะลา > อ.เมืองยะลา > ต.สะเตง > มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา


ยะลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Rating: 3.8/5 (4 votes)

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เดิมเป็นโรงเรียนอาชีพประจำจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ที่หมู่บ้านมลายูบางกอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเป็นผู้ตั้ง ใช้เงินศึกษาพลี (เงินศึกษาพลี เป็นเงินที่รัฐเก็บจากชายไทยอายุ 18 – 60 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา) เป็นค่าก่อสร้างสถานที่เป็นเงิน 2,000 บาท ดำรงโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาพุทธศักราช 2464
 
สอนชั้นประถมปีที่ 4 และประโยคประถมบริบูรณ์ คือชั้นประถมปีที่ 6 ในสมัยนั้น วันที่ 17 พฤษภาคม 2478 ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ข้างวัดพุทธภูมิ คือ ส่วนของบริเวณที่เป็นโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจังหวัดยะลาขณะนี้ การย้ายโรงเรียนครั้งนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่าตั้งโรงเรียนเดิม คือที่มลายูบางกอกเป็นเนินสูง ไม่เหมาะแก่การฝึกหัดภาคปฏิบัติ คือการทำสวนปลูกผักในสมัยนั้น พระภูมิพิชัย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
 
พ.ศ. 2477 จัดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นต้นปีที่ 1-2
 
พ.ศ.2478 จัดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร 2 ชั้น คือ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 นักเรียนสอบไล่ได้ ป.5 เป็นนักเรียนปีที่ 1 นักเรียนที่สอบไล่ได้ ป. 6 เป็นนักเรียนปีที่ 2 และมี ประถม เกษตรกรรมปีที่ 1,2 รวมอยู่ด้วย วันที่ 22 สิงหาคม 2480 ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่โรงเรียน อนุบาลซึ่งได้ปลูกสถานที่ขึ้นใหม่ (โรงเรียนอนุบาลสมัยนั้นอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคปัจจุบัน) วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2481 โอนชั้นประถมเกษตรกรรมไปขึ้นกับเทศบาลเมืองยะลายังคงเหลือแต่ชั้น ฝึกหัดครู ปีการศึกษา 2482 ไม่มีนักศึกษามาสมัครเรียนเลย โรงเรียนต้องปิดตลอดปีการศึกษา 2482 วันที่ 17 พฤษภาคม 2483 เริ่มเปิดทำการสอนใหม่เป็นมัธยมพิเศษ เริ่มสอนปีที่ 1 แล้วปีต่อมาคือปี พ.ศ. 2484 ขยายถึงชั้นปีที่ 3
 
พ.ศ. 2493 เปิดชั้นฝึกหัดครูมูล รับนักเรียนที่สอบไล่ได้ ม.6 เข้าเรียนตามหลักสูตร 1 ปี และยุบเลิกชั้น ป.ป. ปีที่ 1
 
พ.ศ. 2494 เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดปีที่ 1 ยุบเลิกชั้น ป.ป. ปีที่ 2
 
พ.ศ. 2498 ยุบเลิกชั้นประถมประโยคครูมูล เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาปีที่ 1 ยุบเลิกชั้น ว. ปีที่ 1
 
พ.ศ. 2499 เปิดชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาปีที่ 2 ยุบเลิกชั้นประโยคครูมูลและเปิดสอนชั้นประกาศนียบัตรวิชาการเรื่อยมา
 
พ.ศ. 2504 โรงเรียนฝึกหัดครูยะลา ได้ย้ายมาจากศาลากลางเก่าที่สะเตง มาอยู่ที่ปัจจุบันได้ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง หอนอน 1 หลัง และโรงอาหารชั่วคราว 1 หลัง และยังใช้สถานที่เดิมอยู่ด้วยเพราะสถานที่สร้างใหม่ไม่เพียงพอ ที่สถานที่ปัจจุบันนี้ ฯ พณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแผนผังของสถาบันราชภัฏไว้ไห้ ตั้งแต่เมื่อแรกที่ได้ที่ดินมาดำเนินการก่อสร้าง
 
พ.ศ. 2505 กรมการฝึกหัดครู ประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูยะลาเป็นวิทยาลัยครูยะลาและในปีการศึกษา 2506 ได้เปิดชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงเป็นรุ่นแรก และขยายการเปิดสอนชั้น ปกศ. ชั้นสูง วิชาเอกต่างๆ ต่อๆ มา
 
พ.ศ. 2509 วิทยาลัยครูยะลาได้รับเงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ ทำให้เป็นสถานศึกษาสมบูรณ์ มีอาคารสถานที่พร้อมทั้งอาคารเรียน หอนอนหญิง หอนอนชาย หอประชุม บ้านพักครู โรงครัว ตลอดจนการสาธารณูปโภคภายในสถาบัน พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอน 48 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 ฉบับพิเศษ เรื่อง "พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู
 
พ.ศ. 2518 " ทำให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญา วิทยาลัยครูภัฏยะลาได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีรุ่นแรก บังคับวิชาเอกภาษาอังกฤษและวิชาโทภาษาไทยและได้เปิดสอนมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนหลายวิชาเอก และวิชาโท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2527
 
พ.ศ. 2528 ได้ขยายหลักสูตรเปิดสอนวิชาการในสาขาต่าง ๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิชาเอกวารสารและการประชา-สัมพันธ์ สาขาศิลปกรรมและศิลปประยุกต์ วิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป หลักสูตรอนุปริญญา-วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกการอาหาร
 
พ.ศ. 2529 ขยายหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ เปิดสอนสาขาวิชาดนตรีและ ศิลปการแสดง วิชาเอกนาฎศิลป์และการศิลปการแสดง          
 
พ.ศ. 2530 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาศิลปะศาสตร์ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน
 
พ.ศ. 2531 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชา การจัดการทั่วไป
 
พ.ศ. 2532 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (วท.บ) โปรแกรมวิชา สุขศึกษา
 
พ.ศ. 2534 เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (อ.วท.) โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์
 
พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิทยาศาสตร์ (อ.วท.) โปรแกรมวิชาเคมีปฏิบัติ
 
พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาสาขาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามสถาบันว่า "สถาบันราชภัฏ" แทนวิทยาลัยครู จึงถือเอา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันราชภัฏ" สืบต่อมา วันที่ 24 มกราคม 2538 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 4 ก. "พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ"
 
พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูยะลาจึงมีนามใหม่ว่า "สถาบันราชภัฏยะลา" ซึ่งทำให้สถาบันฯ สามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี
 
พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ
 
พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชา ศิลปกรรม
 
พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต)
 
พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
 
พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) โปรแกรมวิชาภาษาไทยและเปิดสอน กศ.บป. (ศูนย์แม่ลาน รุ่นที่ 3)
 
พ.ศ. 2543 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 1
 
พ.ศ. 2544 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.พท. รุนที่ 4 และนักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 16 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2544
 
พ.ศ. 2545 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.พท. รุ่นที่ 5 นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 17 และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 2
 
พ.ศ. 2546 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.พท. รุ่นที่ 6 นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 18 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2546
 
พ.ศ. 2547 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 19 รับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 3 และเปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 1
 
พ.ศ. 2548 จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาแทนสถาบันราชภัฏยะลา และรับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 20 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2548 นอกจากนี้ยังได้จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
 
พ.ศ. 2549 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 21 รับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 4 และนักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2
 
พ.ศ. 2550 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 22 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2550 และรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
 
พ.ศ. 2551 รับนักศึกษาภาคปกติ เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551 นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 23 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2551
 
พ.ศ. 2552 รับนักศึกษาภาคปกติ เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2552 รับนักศึกษา นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 3 และเปิดสอน หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
 
พ.ศ. 2552 รับนักศึกษาระดับบันฑิตศึกษา ในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา

เว็ปไซต์ : www.yru.ac.th

โทร : 073299699

แฟกซ์ : 073299611

มหาวิทยาลัย หมวดหมู่: มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่ม: มหาวิทยาลัยเอกชน

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

แผนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยเอกชน(1)

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองยะลา(1)