หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นราธิวาส > อ.สุไหงโกลก > ต.ปูโยะ > ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊..


นราธิวาส

ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง)

ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง)

Rating: 4/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 16.00 น.
 
ป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุแห่งสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งคลุมพื้นที่ของ 3 อำเภอ คือ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ประมาณ 120,000 ไร่ แต่ส่วนที่สมบูรณ์โดยประมาณมีเพียง 50,000 ไร่ เป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าและพรรณไม้ พื้นที่ป่าพรุมีลำน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน คือ คลองสุไหงปาดี แม่น้ำบางนรา และคลองโต๊ะแดง อันเป็นที่มาของชื่อป่า
 
ภายในศูนย์ฯ ได้จัดให้มีทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของป่าพรุ เริ่มที่บึงน้ำด้านหลังอาคารศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นสะพานไม้ต่อลัดเลาะเข้าไปในป่าพรุ  ระยะทาง 1,200 เมตร
 
บางช่วงเป็นสะพานไม้ร้อยลวดสลิง บางช่วงเป็นหอสูงสำหรับมองทิวทัศน์เบื้องล่างที่ชอุ่มไปด้วยไม้นานาพรรณในป่าพรุ จะมีป้ายชื่อต้นไม้ที่น่าสนใจ และซุ้มความรู้อยู่เป็นจุดๆ สำหรับให้ความรู้แก่ผู้เดินชมด้วย เปิดทุกวันเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม และยังมีห้องจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่คนที่มาเที่ยวชมอีกด้วย
 
ป่าพรุ หรือ peat swamp forest เกิดขึ้นได้อย่างไร ? คำตอบคือ เกิดจากแอ่งน้ำจืดขังติดต่อกันชั่วนาตาปี และมีการสะสมของชั้นดินอินทรียวัตถุ ก็คือซากพืช ซากต้นไม้ ใบไม้ จนย่อยสลายอย่างช้าๆ กลายเป็นดินพีท (peat) หรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำมีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีท กับดินตะกอนทะเล สลับชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอน น้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายไปและเกิดป่าชายเลนขึ้นแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงและมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดลง และเกิดป่าพรุขึ้นอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี 
 
ระบบนิเวศน์ในป่าพรุนั้นมีหลากหลาย ทุกชีวิตล้วนเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกันให้ทรงตัวอยู่ได้ ฉะนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย
 
พันธุ์ไม้ที่พบในป่าพรุมีกว่า 400 ชนิด บางอย่างนำมารับประทานได้ เช่น หลุมพี ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลปาล์ม มีลักษณะต้นและใบคล้ายปาล์ม แต่มีหนามแหลมอยู่ตลอดก้าน ผลมีลักษณะคล้ายระกำ แต่จะเล็กกว่า รสชาติออกเปรี้ยว ชาวบ้านนำมาดองและส่งขายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งคนมาเลย์จะนิยมมาก ฤดูเก็บจะอยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม
 
ถ้าเป็นช่วงอื่นจะหายากและราคาสูง บางอย่างเป็นพืชพรรณในเขตมาเลเซีย เช่น หมากแดง ซึ่งมีลำต้นสีแดง เป็นปาล์มชั้นดีมีราคา มีผู้นิยมนำไปเพาะเพื่อประดับสวน เพราะความสวยของกาบและใบ ลำต้นมีสีแดงดังชื่อ ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น ปาหนันช้าง พืชในวงศ์กระดังงาที่มีดอกใหญ่และ กล้วยไม้กับพืชเล็กๆ ซึ่งจะต้องสังเกตดีๆ จึงจะได้เห็น
 
สัตว์ป่าที่พบกว่า 200 ชนิด เช่น ค่าง ชะมด หมูป่า หมีขอ แมวป่าหัวแบน  (ซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองที่หายากอีกชนิดหนึ่งของไทย) หนูสิงคโปร์ พบค่อนข้างยากในคาบสมุทรมลายูแต่ชุกชุมมากบนเกาะสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยพบชุกชุมในป่าพรุโต๊ะแดงนี้เท่านั้น  และหากป่าพรุถูกทำลายหนูเหล่านี้อาจออกไปทำลายผลิตผลของเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบได้ 
 
 พันธุ์ปลาที่พบ ได้แก่ ปลาปากยื่น เป็นปลาชนิดใหม่ของโลกพบที่ป่าพรุสิรินธรนี้เท่านั้น ปลาดุกรำพัน ที่มีรูปร่างคล้ายงูซึ่งอาจพัฒนาเป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เลี้ยงในแหล่งที่มีปัญหาน้ำเปรี้ยวได้ ปลากะแมะ รูปร่างประหลาดมีหัวแบนๆ กว้างๆ และลำตัวค่อยๆ ยาวเรียวไปจนถึงหาง มีเงี่ยงพิษอยู่ที่ครีบหลัง ปลาเหล่านี้จะอาศัยป่าพรุเป็นพื้นที่หลบภัยและวางไข่ก่อนที่จะแพร่ลูกหลานออกไปให้ชาวบ้านได้อาศัยเป็นเครื่องยังชีพ
 
นกที่นี่มีหลายชนิด แต่ที่เด่นๆ ได้แก่ นกกางเขนดงหางแดง มีมากในเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่นี่เมื่อปีพ.ศ. 2530 นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย ซึ่งในประเทศไทยจะพบที่ป่าพรุสิรินธรเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และปัจจุบันนกทั้งสองชนิดอยู่ในภาวะล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์
 
ความน่าสนใจของป่าพรุไม่ใช่เพียงแต่ พรรณไม้แปลกๆ สัตว์ป่าหายาก แต่คนที่ไปเที่ยวโดยเฉพาะเด็กๆจะได้ประสบการณ์ชีวิตกลับไปมากมาย จากธรรมชาติรอบตัวบางทีหากเดินชมธรรมชาติเงียบๆ อาจจะได้พบสัตว์ป่ากำลังหาอาหารอยู่ก็เป็นได้  เส้นทางนี้นำเราเข้าไปหาธรรมชาติอย่างใกล้ชิดแต่ก็ไม่ได้นำเราเข้าไปล่วงเกินธรรมชาติมากนัก
 
หากนำคู่มือดูนก สมุดบันทึก ดินสอสี กล้องส่องตา กล้องถ่ายรูป และยาทากันยุงไปด้วย อาจจะเพลิดเพลินจนใช้เวลาในนี้ได้ทั้งวัน อากาศสดชื่นเย็นสบายในป่าพรุก็ยังทำให้คนที่เข้าไปเยือนรู้สึกสดชื่นประทับใจ แต่ช่วงเวลาที่มาท่องเที่ยวได้สะดวกคือ กุมภาพันธ์-เมษายน เพราะฝนจะตกน้อยที่สุด เนื่องจากป่าพรุมีภูมิอากาศแบบคาบสมุทร ฉะนั้นจึงมีฝนตกชุกตลอดปี
 
สิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังก็คือ ยุงดำ สัตว์กินเลือด พาหะนำโรคเท้าช้าง ซึ่งจะมีอยู่ชุกชุมและออกหาอาหารในช่วงเวลาค่ำ และ ไฟป่า ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสูบบุหรี่ โดยเผลอทิ้งก้นบุหรี่ลงไป เมื่อป่าพรุเกิดไฟป่าแล้วจะดับยากมากกว่าป่าชนิดอื่น เนื่องจากเชื้อเพลิงไม่ได้มีแค่ต้นไม้ในป่า แต่รวมไปถึงซากไม้ และต้นไม้ที่ทับถมกันในชั้นดินพรุ จึงเป็นไฟที่ลุกลามลงไปใต้ดิน ทำให้การควบคุมหรือดับไฟลำบาก ไฟจะคุกรุ่นกินเวลานับเดือนๆ ต้องรอจนกว่าจะมีฝนตกชุก น้ำท่วมผิวดินไฟจึงจะดับสนิท
 
การเดินทาง หากเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯจะค่อนข้างสะดวกกว่า เพราะสถานีปลายทางอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก หากมิได้นำรถมาเองสามารถใช้บริการรถรับจ้างจากตัวเมืองสุไหงโกลกได้โดยสะดวก
 
ทางรถยนต์ จากอำเภอตากใบใช้เส้นทางตากใบ - สุไหงโกลก (ทางหลวงหมายเลข 4057) ประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีทางแยกเล็กๆ เข้าสู่ถนนชวนะนันท์ เข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 2 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเข้าสู่ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นระยะ สอบถามรายละเอียดที่ ตู้ ปณ. 37 อำเภอสุไหงโกลก นราธิวาส 96120
 
โดยทางอื่น อยู่ห่างจากอำเภอสุไหงโก-ลก ประมาณ 7 กม. โดยใช้เส้นทางสุไหงโก-ลก-ตากใบ กม.ที่ 5 เลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนะนันท์ เข้าไปประมาณ 4 กม. จะถึงที่ทำการของ "ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร"

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า หมวดหมู่: ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล กลุ่ม: อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

แผนที่ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง)

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(7)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(5)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(16)

มัสยิด มัสยิด(23)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(8)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(5)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(2)

น้ำตก น้ำตก(16)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(2)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(5)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(4)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สนามกีฬา สนามกีฬา(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(1)