หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.อุบลราชธานี > อ.เมืองอุบลราชธานี > ต.ในเมือง > วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ


อุบลราชธานี

วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

Rating: 3.8/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ (วัดใต้เทิง) หรือวัดใต้ เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี มีเนื้อที่ตั้งวัด 9 ไร่ 40 – 3 – 10 วา อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมูล ทางด้านทิศตะวันออก สถานที่ใกล้เคียง สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาค 2 อุบลราชธานี และโรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล 
   
ความหมายชื่อวัดใต้ (วัดใต้เทิง วัดใต้ท่า) เรื่องเดิมนั้นวัดใต้มีอยู่ 2 วัด คือวัดใต้ท่า (วัดร้าง) ตั้งอยู่ริมน้ำมูล หมายถึงวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ติดกับแม่น้ำมูล ภาษาอีสานเรียกว่า “ท่าน้ำ” หมายถึงทางลงแม่น้ำ จึงรียกว่าวัดใต้ท่า คำว่า ใต้ท่า หมายถึง วัดที่ อยู่ใกล้ทางลงแม่น้ำมูล หรือข้างล่าง อยู่ทางทิศใต้ท่าน้ำ, (คำว่าเทิง เป็นสำเนียงภาษาพื้นบ้านทางภาคอีสาน โดยมีความหมายว่า ที่สูง ข้างบนหรืออยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป
 
ดังนั้น วัดใต้เทิง จึงมีความหมายว่า วัดที่ตั้งอยู่เหนือขึ้นไป ถัดขึ้นไปจากวัดใต้ท่าที่อยู่ใกล้ริมแม่น้ำมูล เดิมทีเดียวคงจะชื่อวัดใต้เทิงเพียงสั้นๆ ต่อมาเพื่อให้สื่อความหมายถึงพระประธานในอุโบสถพระนามว่าพระเจ้าองค์ตื้อ จึงได้นำพระนามของพระพุทธรูปมาต่อกับชื่อวัด กลายเป็นวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
 
วัดใต้เทิง ได้จดทะเบียนเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2322 และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2441 โดยมีท้าวสิทธิสาร กับ เพี้ยเมืองแสนและราษฎร ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสูงคามสีมา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ 103/378 (ตราประทับอักษรขอม) ว่า
 
ซึ่งมีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่คนทั้งปวงว่า “ที่เขตอุโบสถวัดใต้แขวงเมืองอุบลราชธานี โดยยาว 12 วา 1 ศอก กว้าง 7 วา 1 ศอก ท้าวสิทธิสารกับเพี้ยเมืองแสนและราษฎรได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสุงคามสีมา พระเจ้าทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรรมการปักคำกำหนดให้ตามประสงค์
 
ทรงพระราชอุทิศนั้นให้เป็นที่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งตากหาก จากพระราชอาณาเขต เป็นที่เศษสำหรับพระสงฆ์มาจากทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรม มีอุโบสถกรรม เป็นต้น ประกาศพระราชมานตั้งแต่ วันที่ 29 พฤศจิกายน รศ.117 พระพุทธศาสนกาล 2441 พรรษา เป็นวันที่ 10976 ในรัชกาลปัจจุบัน”
 
เมื่อ พ.ศ.2509-2519 ได้ก่อสร้างโบสถ์และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ 5 ลำดับที่ 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 196 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2522 กำหนดเขตกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2522
 
พระพุทธประธานในพระอุโบสถนามว่า พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว (รวมฐาน) ได้รับการยกย่องมาว่า เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามในประเทศไทยและภาคอีสานเป็นพระประธานองค์ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตามประวัติในประเทศไทย มีอยู่ 5 องค์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ครองนครเวียงจันทร์ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เดิมประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า ฐานรองรับสูง 70 เซนติเมตร สร้างแบบง่ายๆ
 
ภายหลังอุโบสถหลังเก่าทรุดโทรม พระเจ้าองค์ตื้อจึงอยู่กลางแจ้ง ตากแดด ตากฝน เป็นเวลานานทำให้องค์พระพุทธรูปองค์ตื้อมีรอยแตก เป็นสะเก็ดออกมา ผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยปู่ย่าตาทวดได้บอกเล่าสืบต่อกันมาว่า "พระพุทธรูปองค์ตื้อนี้ได้ถูกหุ้มห่อทาปอมพอกเอาไว้พอกด้วยเปลือกไม้ ยางบด ผสมผงอิฐเจ และทองคำ เงิน นาก สัมฤทธิ์ เงิน รางกาชาดซะพอก ให้น้ำเกลี้ยง น้ำชาดผสมทาปอมพอก แล้วลงรักปิดทองที่เข้าเมืองอุบลราชธานี และเถราจารย์ในสมัยนั้น เพราะเป็นสมบัติล้ำค่าที่ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ซึ่งองค์พระพุทธรูปเป็นทองแท้สัมฤทธิ์กลัวว่าจะถูกข้าศึกศัตรูขนเอาไป จึงได้ทาปอมพอกปิดเอาไว้ และปล่อยทิ้งเป็นวัดร้างนานถึง 200 ปี"
 
ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507-2508 ครั้งนั้นพระภิกษุสวัสดิ์ ทสฺสนีโย ปัจจุบัน เป็นราชาคณะชั้นราช ที่พระราชธรรมโกศล เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ รูปที่ 13 ปัจจุบันและเป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ) ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น นำพระภิกษุ-สามเณร ทายก-ทายิกา และชาวบ้านชุมชนใกล้กวัด ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2519 เมื่อสร้างฐานแท่นพระพุทธรูปพระประธานเสร็จจึงได้ยกพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อขึ้นประดิษฐานที่แท่นจนถึงปัจจุบันนี้ รวมอายุองค์พระประมาณ 225 ปี
 
หมายเหตุ ความหมายคำว่า “ตื้อ” เป็นจำนวนนับของชาวล้านนา หรือภาคอีสาน เช่น หลักหน่วย-สิบ-ร้อย-พัน-หมื่น-แสน-ล้าน-โกฏิ-ตื้อ-อสงไขย นับไปไม่ได้ชาวพุทธได้นำทองคำ เงิน นาก สัมฤทธิ์ จำนวนมากหล่อเป็นพระพุทธรูปที่งดงาม จนหาค่าประมาณมิได้ องค์พระหนักเก้าแสนบาทบนจึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” หรือ (พระเจ้าแสนตื้อ)

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(5)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(6)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(37)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(4)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(2)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(5)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(6)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(8)

น้ำตก น้ำตก(12)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(2)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(11)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(6)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(1)