หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.นครราชสีมา > อ.เมืองนครราชสีมา > ต.ในเมือง > พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา


นครราชสีมา

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

Rating: 5/5 (1 votes)

วันทำการ: ทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องติดต่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ)
เวลาทำการ 09.00 – 15.30 น.
 
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา ณ อาคาร 10 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
 
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา ภายใต้การบริหารของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีพัฒนาการมาจาก “หอวัฒนธรรม” โดยมีการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 เมื่อครั้งสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ยังเป็น “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม” ของวิทยาลัยครูนครราชสีมา โดยมีว่าที่ ร.ต. ถาวร สุบงกช เป็นหัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมท่านแรก ใช้ห้อง 514 และ 515 เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสิ่งอื่น ๆ ที่ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนมอบให้เป็นผู้เก็บรักษา และขอซื้อเพิ่มเติมในบางส่วน ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาการให้เป็นนิทรรศการที่นำเสนอเนื้อหาประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครราชสีมา
 
พ.ศ. 2565 พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในการนำระบบการบริหารจัดการข้อมูลพิพิธภัณฑ์แบบเครือข่าย หรือ Museum Pool ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Nectec มาปรับใช้ในการให้บริการผู้ชม ณ เรือนพ่อคง เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
 
พื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา แบ่งหัวข้อการจัดแสดงออกเป็น 7 ห้อง ดังนี้
1. ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม จะนำเสนอเนื้อหาในการค้นพบมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องในแถบลุ่มแม่น้ำมูลตอนต้น โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีประวัติศาสตร์อายุสมัยไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี หลายแหล่ง ซึ่งจะสามารถฉายภาพอดีตให้เห็นว่าบรรพบุรุษในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง โดยรวมถึงให้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อตอบคำถามว่า “ทำไมโบราณคดีจึงศึกษาวิจัย ณ ลุ่มแม่น้ำมูลตอนต้น เป็นจำนวนมาก”
 
2. ห้องสมัยทวารวดี จะนำเสนอเนื้อหาถึงชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์แรกเริ่มได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ เมืองเสมา ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย คือนำศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่คงขนบธรรมเนียมบางอย่างไว้ เช่น การฝังศพนอนหงาย และเหยียดยาว รวมทั้งอุทิศสิ่งของต่างๆ ให้กับศพซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แทนที่จะปลงศพด้วยการเผาตามแบบศาสนาพุทธ
 
3. ห้องสมัยลพบุรี จะนำเสนอเนื้อหาถึงวัฒนธรรมขอมที่ได้แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสาน ที่ส่งผลต่อความความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงสมัยลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-19 เฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปกรรม และวัฒนธรรมทางความเชื่อ โดยสะท้อนอยู่ในโบราณสถานที่ได้รับแบบอย่างจากวัฒนธรรมขอมที่สำคัญ ได้แก่ แบบแผนการสร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม, การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าบาราย ศาสนสถานขนาดใหญ่ในรูปแบบปราสาทหิน เครื่องปั้นดินเผาแบบขอม เป็นต้น
 
4. ห้องสมัยอยุธยา จะนำเสนอเนื้อหาในส่วนของการก่อตั้ง "เมืองนครราชสีมา" โดยเริ่มต้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีฐานะเป็นเมืองชั้นโท มีบทบาทสำคัญในการเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้ได้มีการสร้างป้อมปราการให้มั่นคงแบบฝรั่ง และส่งเจ้านายผู้ใกล้ชิดมาปกครองเมือง ซึ่งได้นำรูปแบบการออกแบบผังเมืองและสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังคงหลงเหลือปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบัน
 
5. ห้องสมัยรัตนโกสินทร์ จะนำเสนอเนื้อหาของเมืองนครราชสีมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ โดยให้เมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองเอก อีกทั้งส่วนการดำรงชีวิตของชาวโคราชในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นถือว่าไม่ต่างจากในสมัยอยุธยามากนัก แต่เนื่องจากการเดินทางไปเมืองหลวงยังไม่สะดวกเท่าที่ควร ในด้านทำเลที่ตั้งนครราชสีมายังเป็นเมืองที่คอยสกัดกั้นการรุกรานจากข้าศึกในด้านภาคอีสานจนเกิดวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ของคุณหญิงโมซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นท้าวสุรนารีในภายหลัง
 
6. ห้องมหานครแห่งอีสาน จะนำเสนอเนื้อหาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นระยะที่มหาอำนาจตะวันตกกำลังดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำให้มีการปฏิรูปการปกครองจัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาล และยังใช้เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งยุทธศาสตร์ทางทหาร ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นตัวอย่างของการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางได้อย่างผสมกลมกลืนกันในทางสังคมและทางวัฒนธรรมประเพณีไทยของชาวกรุงเทพฯและชาวอีสานอีกด้วย
 
และในส่วนนี้ยังนำเสนอเนื้อหาในการจัดสร้างสนามกีฬาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 333 ปีเมืองนครราชสีมา ในปี 2547 และจึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์และอาเซียนพาราเกมส์ ในปี 2550-2551 นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เมืองนครราชสีมาพัฒนาไปสู่การเป็นมหานครแห่งการกีฬา
 
7. ห้องของดีเมืองโคราช จะเสนอเนื้อหาในส่วนของดีโคราชที่มีอย่างมากมาย โดยเฉพาะในคำขวัญเก่าของจังหวัด คือ “โคราชลือเลื่อง เมืองก่อนเก่า นกเขาคารม อ้อยคันร่ม ส้มขี้ม้า ผ้าหางกระรอก” และได้คัดเลือกบางส่วนมาจัดแสดงเพื่อนำเสนอให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักว่าโคราชมีของดีอีกมากมายที่ได้รับการกล่าวขวัญในอดีต ทั้งมวยโคราช ผ้าหางกระรอก รถสามล้อถีบ รำโทนโคราช และเพลงโคราช และนอกจากนี้ยังได้รองรับการจัดนิทรรศการหมุนเวียนอีกด้วย
 
นอกจากนี้ยังมี เรือนพ่อคง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวโคราช ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ หรือพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย และที่สำคัญที่สุดคือ การมีบทบาทในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และอัตลักษณ์ของคนโคราช ซึ่งจะมาสู่การอนุรักษ์เรือนโคราชหลังอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
 
ส่วนการแสดงกลางแจ้ง คือ เรือนโคราช มีลักษณะเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ใต้ถุนโล่ง โดยจะมีลักษณะเด่นเฉพาะที่สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพและภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของช่างท้องถิ่นโคราช ที่มีความริเริ่ม มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศเฉพาะถิ่นโคราช โดยทำหน้าที่เป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวโคราชที่จะอธิบายการเป็นอยู่ครอบคลุมทั้งปัจจัย 4 เป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับนักศึกษาหรือผู้ชมทั่วไปสามารถมาเรียนรู้ หรือพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย รวมทั้งรองรับต่อการจัดกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกิจกรรมทางวัฒนธรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย อาทิ ประเพณีสงกรานต์, การบายศรีสู่ขวัญ และกิจกรรมทางศาสนา การเสวนาทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
 
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่  ศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์ภูมิปัญญาหรือทรัพย์สินทางปัญญาของบรรพชนคนไทย ที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงชนรุ่นหลัง ให้ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ จรรโลง สืบสานต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย จึงทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา มีภารกิจในการ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้คนในท้องถิ่น ตามปรัชญาที่ว่า "สืบสานมรดกวัฒนธรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่วิถีชีวิตที่ดีงาม"

 

โทร : 044009009 # 1013 # 1010

แฟกซ์ : 044253097

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พิพิธภัณฑ์ กลุ่ม: พิพิธภัณฑ์

ปรับปรุงล่าสุด : 1 สัปดาห์ที่แล้ว

แผนที่พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(20)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(5)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(6)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(6)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(30)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(6)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(6)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(4)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(5)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(8)

น้ำตก น้ำตก(9)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(2)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(8)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(21)

สวนน้ำ สวนน้ำ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(6)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(2)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(5)