หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.นครราชสีมา > อ.เมืองนครราชสีมา > ต.ในเมือง > ประเพณีภาคอีสาน วัฒนธรรมภาคอีสาน ประเพณีไทยที่สำคั..


นครราชสีมา

ประเพณีภาคอีสาน วัฒนธรรมภาคอีสาน ประเพณีไทยที่สำคัญ

ประเพณีภาคอีสาน วัฒนธรรมภาคอีสาน ประเพณีไทยที่สำคัญ

Rating: 2.5/5 (137 votes)

ประเพณีภาคอีสาน วัฒนธรรมภาคอีสาน ประเพณีไทยที่สำคัญ อีสานมีความจำกัดในทรัพยากรธรรมชาติ จากสภาพอากาศแห้งแล้งในหน้าแล้ง น้ำจะท่วมสองฝั่งลำน้ำ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามที่เนินไม่ไกลจากแม่น้ำ สะท้อนถึง ภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐาน และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดิมนั้นเคยอยู่ในเขตอิทธิพลอารยธรรมจากขอม และเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของคนไท-ลาว กลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีการ ผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน และสั่งสมสืบทอดต่อกันมาเป็นวัฒนธรรมอีสานที่มีลักษณะ เฉพาะตัวและน่าสนใจ
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาค โดยทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็นนั้นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูกระดึง ซึ่งจะเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสาน เช่น แม่น้ำชี , แม่น้ำมูลอีสาน และลำตะคอง มีเนื้อที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดภาคอีสานต่าง ๆ ดังนี้ จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดนครพนม, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดกาฬสินธุ์ม จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดบึงกาฬ, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดยโสธร, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดเลย, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดหนองบัวลำภู, จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดอุดรธานี
 
ประเพณีอีสาน และพิธีกรรมตามประเพณีของชาวอีสาน นั้นเกี่ยวข้องทั้งกับความเชื่อในอำนาจนอกเหนือธรรมชาติ และพุทธศาสนาเถรวาท มีทั้งพิธีกรรมอันเป็นประเพณีที่เป็นสิ่งปฏิบัติ และจารีตที่ยึดถือสืบต่อกันมา ซึ่งประเพณีภาคอีสานที่สำคัญมีดังนี้
 
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
 
1. ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีภาคอีสาน สำหรับการประกวดต้นเทียนพรรษาถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศเป็นประจำทุกปี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ร่วมชมความงดงามอลังการของต้นเทียนพรรษา ซึ่งแต่ละต้นล้วนเกิดจากความเพียรพยายามของช่างเทียนที่มีความชำนาญ สร้างและแกะสลักต้นเทียนอันวิจิตรงดงาม กล่าวได้ว่าฝีมือของช่างเทียนโคราชนั้นไม่แพ้ใคร
 
งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี
 
2. งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี ป็นงานประจำปีของจังหวัดซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นเวลาที่ ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) ได้รับชัยชนะจากข้าศึก เพราะวันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2369 คือวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพออกจากเมืองนครราชสีมา จึงเป็นงานประเพณีทำให้ระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและภาคเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิงที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พลเมือง เป็นแบบอย่างให้กับพลเมืองได้ตระหนักถึงบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล
 
การแข่งเรือพิมาย
 
3. การแข่งเรือพิมาย วัฒนธรรมภาคอีสาน ช่วงเวลา หลังวันออกพรรษา แต่ไม่เกินวันเพ็ญเดือนสิบสอง การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการเล่นในฤดูน้ำหลากที่สร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน และคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกัน เป็นการสร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่ง ฝีพายเป็นเรือขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แข่งขันจนกว่าจะได้เรือที่ชนะเลิศของแต่ละรุ่น ซึ่งขณะแข่งขันผู้ชมการแข่งขันสองฟากฝั่งจะโห่ร้องเมื่อเรือหมู่บ้านของตนได้รับชัยชนะเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันการแข่งขันเรือพิมาย ได้พัฒนาการแข่งเรือแบบพื้นบ้านมาเป็นการแข่งเรือแห่งประเทศไทย และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลเที่ยวพิมายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ได้สืบทอดภูมิปัญญาและการช่างฝีมือ ในการสร้างเรือ การดูแลรักษา เป็นกระบวนการสร้างพลังสามัคคี การเกาะเกี่ยวทางสังคม อย่างแน่นแฟ้น ได้รักษาและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นที่ดีงามให้คงไว้กับชุมชน
 
ฮีตสิบสองคองสิบสี่
 
4. ฮีตสิบสองคองสิบสี่ วัฒนธรรมภาคอีสาน ชาวจังหวัดอำนาจเจริญ มีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ผีสางเทวดาและธรรมชาติอย่างผสมกลมกลืน ประเพณีและวัฒนธรรมที่ปรากฏทางด้านจิตใจ วัตถุและพิธีกรรมยังเป็นไปตามประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอีสานทั่วไป คือ "ฮีตสิบสองคองสิบสี่" ซึ่งยึดถือปรากฏกันจนมาถึงปัจจุบัน ฮีตสิบสองเป็นประเพณีที่ชาวอีสานประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล คำว่า "ฮีต" มีความหมายตรงกับคำว่า "รีต" อันหมายถึงจารีตประเพณี ดังนั้น "ฮีตสิบสอง" จึงหมายถึงประเพณีที่ชาวอีสานจะต้องประพฤติปฏิบัติในรอบปีทั้งสิบสองเดือน ถ้าใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิด เรียกว่า "ผิดฮีต" สังคมทั่วไปจะตั้งข้อรังเกียจ ฮีตสิบสองจึงเป็นข้อบัญญัติที่นักปราชญ์ชาวอีสานโบราณ ได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนได้ประกอบกิจกรรมร่วมกัน ทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นประเพณีจรรยาทางสังคมอีสานทั่วไป จึงยึดมั่นในการปฏิบัติตามฮีตสิบสองอย่างเคร่งครัด ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยเริ่มงานบุญตั้งแต่เดือนอ้าย (เดือนธันวาคม) ฮีตสิบสอง การทำบุญในรอบปีมี 12 เดือน
 
งานประเพณีแข่งขันเรือยาว
 
5. งานประเพณีแข่งขันเรือยาว ประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน ซึ่งติดกับแม่น้ำโขง มีเรือจากอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เรือจากอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และเรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาร่วมแข่งขันเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและมหรสพในยามค่ำคืน จัดขึ้นช่วงเดือน ตุลาคมของทุกปี
 
ประเพณีแข่งเรือเล็ก
 
6. ประเพณีแข่งเรือเล็ก ประเพณีไทย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาลโคกก่งกับประชาชนในชุมชนต่าง ๆ การแข่งขันเรือเล็กเป็นประเพณีท้องถิ่นของชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ให้เกิดความรักสามัคคี และเกิดแหล่งเรียนรู้ชุนชนเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชน
 
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
 
7. ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง วัฒนธรรม และประเพณีไทย ช่วงเวลา เดือนเมษายนทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า) ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดินทางมาเพื่อปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท เป็นวันที่ประชาชนทั่วไปร่วมทำบุญปิดทองนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่ประดิษฐานอยู่ในปรางค์องค์น้อยและทำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมทั้งนี้เพราะในช่วงงานประเพณีขึ้นเขา ชาวบ้านหญิงชายจะแต่งกายด้วยผ้าไหมทอลวดลายสวยงามประณีตที่สุดของตนเองเป็นการอวดฝีมือ และความสามารถสร้างชื่อเสียงของหมู่บ้านและของตนเองอีกด้วย และยังเป็นโอกาสให้ชาวบ้านได้เที่ยวชมความงามของปราสาทพนมรุ้ง และชักชวนให้คนเดินทางมาเที่ยวชมในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมากขึ้นทุกปี เป็นการแสดงถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีของประชาชนในท้องที่อำเภอประโคนชัย และบริเวณใกล้เคียง และยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
 
ฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล
 
8. ฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล วัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 12-20 มกราคม ของทุกปี ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ประมาณร้อยละ 95 เป็นคนท้องถิ่นเดิมมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่นกับหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ประกอบกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัด มีลักษณะเด่นชัดที่เน้นและเชิดชูวีรกรรมความซื่อสัตย์กตัญญูของเจ้าพ่อพระยาแล ทำให้มีงานประจำปีและงานประเพณีซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดสืบต่อกันมา จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแล ผู้สร้างเมืองชัยภูมิคนแรก
 
งานมหกรรมโปงลาง
 
9. งานมหกรรมโปงลาง ประเพณีภาคอีสาน ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์-6 มีนาคม ของทุกปี โปงลาง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้เพราะโปงลางได้เปลี่ยนสภาพจากขอลอหรือเกราะลอ มาเป็นเครื่องดนตรีธรรมชาติประเภทเครื่องตีไม้ โดยปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดกาฬสินธุ์คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชิ้นอื่น ๆ จนเกิดเป็นวงดนตรีโปงลาง มีการคิดท่าฟ้อนประกอบลายโปงลางรวมทั้งการแสดงต่าง ๆ ที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิตธรรมชาติของคนชนบทอีสาน จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป งานมหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่จัดเป็นประจำทุกปี เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจกับงานเทศกาลนี้ โดยในแต่ละปีจะเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองเลื่องชื่อของจังหวัดไปปีละเป็นจำนวนมาก เป็นการส่งเสริมรายได้อุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย วัตถุประสงค์หลักของงานนี้มุ่งเผยแพร่ ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
 
เพื่อสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีและผลงานของส่วนราชการทั้งภาครัฐและเอกชนของจังหวัด แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป จุดเน้นสำคัญของงานคือขบวนแห่ในพิธีเปิดงานที่มโหฬารที่แสดงให้เห็นถึง ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างขึ้นจากคำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า "โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรม ผู้ไทย ผ้า
 
ไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี" ที่แสดงถึงความรักสามัคคี ความพร้อมเพรียง การรวมใจเป็นหนึ่งของผู้คนที่จะช่วยกันจรรโลง เชิดชูเกียรติ ชื่อเสียง และเอกลักษณ์ของเมืองกาฬสินธุ์ให้เป็นที่รู้จักสืบไป
 
งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว
 
10. งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีภาคอีสาน ช่วงเวลา วันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม ของทุกปี งานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (ผ้าไหม) และของที่ระลึกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
 
ประเพณีการละเล่นผีตาโขน
 
11. ประเพณีการละเล่นผีตาโขน ประเพณีไทย ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
 
ประเพณีไหลเรือไฟ
 
12. ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีภาคอีสาน ช่วงเวลา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ
 
การเบิกน่านน้ำ
 
13. ประเพณีการเบิกน่านน้ำ ประเพณีไทย ช่วงเวลา กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในเทศกาลออกพรรษา ก่อนจะมีการแข่งขันเรือพาย เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค 7 ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 
การทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ
 
14. การทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ วัฒนธรรมไทย ช่วงเวลา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณที่ทรงมีต่อพุทธบริษัท และเพื่อสืบทอดประเพณีสำคัญในพุทธศาสนา เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จกลับลงมาจากเทวโลกของพระพุทธองค์
 
ประเพณีตรุษสงกรานต์
 
15. ประเพณีตรุษสงกรานต์ ประเพณีไทย ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี เพื่อให้ประชาชนได้รดสรงน้ำหลวงพ่อพระใสโดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐานบนยาน แล้วนำออกมาแห่ไปรอบ ๆ เมืองให้ประชาชนได้นำน้ำอบน้ำหอมมาสรงโดยทั่วกัน การจัดกิจกรรมในวันตรุษสงกรานต์เป็นการจัดตามประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคีความเพลิดเพลินสนุกสนานและความเชื่อของท้องถิ่นว่า เมื่อได้ประกอบกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ตามประเพณีแล้วจะก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่บ้านเมือง และชุมชนตลอดไป
 
งานเทศกาลบั้งไฟพญานาค
 
16. งานเทศกาลบั้งไฟพญานาค เทศกาลเริ่มเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน งานเทศกาลบั้งไฟพญานาคประเพณีภาคอีสานจะมีขึ้นในช่วงวันออกพรรษาของทุกปี ในจังหวัดที่ติดแม่น้ำโขง โดยเฉพาะจังหวัดหนองคาย โดยในตอนช่วงกลางดึกถึงรุ่งเช้าของวันดังกล่าวจะมีดวงไฟ หรือ “บั้งไฟ” โผล่ขึ้นมาจากกลางแม่น้ำโขงในบริเวณต่าง ๆ เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของผู้ที่พบเห็น โดยชาวบ้านเชื่อว่าดวงไฟดังกล่าวเกิดจากพญานาคที่อาศัยอยู่ใต้แม่น้ำโขงพ่นดวงไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และบางคนก็กล่าวว่าดวงไฟเป็นสิ่งที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว บ้างก็ว่าเกิดจากปฏิกิริยาเคมีของดินใต้แม่น้ำ แต่ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร “บั้งไฟ” ก็ยังเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ควรจะได้ไปเห็นสักครั้ง นอกจากนี้งานเทศกาลที่จัดขึ้นในแต่ละบริเวณที่มักมีดวงไฟขึ้นจากน้ำโขง ก็ยังเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้ เพราะมักจะมีงานวัด การออกร้านแสดงสินค้าพื้นเมือง และการแสดงพื้นเมืองให้นักท่องเที่ยวได้ตื่นตาตื่นใจทั้งวันทั้งคืน
 
ประเพณีบุญบั้งไฟ
 
17. ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นงานประเพณีไทยท้องถิ่นของชาวอีสาน ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอีสานมาช้านาน โดยก่อนถึงฤดูทำนา โดยจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปเพื่อบูชาพญาแถน เทพเจ้าแห่งฝน ให้ปล่อยฝนตกลงมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ในการทำเกษตรกรรม เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว มีตำนาน มาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้าน ดังกล่าวได้กล่าวถึง ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา  พระยาแถน หรือ เทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตก ถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก โดยหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงาน บุญบั้งไฟบูชา จะทำให้ฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิด ภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ บั้ง” แปลว่า”ไม้กระบอก” บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอก ไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการ บวงสรวงพญาแถน
 
เทศกาลชมแห่นาคโหด
 
18. เทศกาลชมแห่นาคโหด ประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี เพื่อที่ให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยการ แห่นาค จากบ้านตนเองรอบหมู่บ้าน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้าน ช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่าโยนนาคอย่างรุนแรง ใครที่ชอบความตื่นเต้นไม่ควรพลาด
 
ประเพณีบุญเบิกฟ้า
 
19. ประเพณีบุญเบิกฟ้า ช่วงเวลา วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี โดยเป็นประเพณีของชาวมหาสารคามที่ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่า ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอกตัวกำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยงการเกษตรในปีนั้น ๆ
 
ประเพณีบุญข้าวสาก
 
20. ประเพณีบุญข้าวสาก ช่วงเวลา เดือนตุลาคม (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10) จังหวัดยโสธร เป็นประเพณีภาคอีสานที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต
 
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
 
21. ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นงานบุญของชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสกลนคร ปฏิบัติกันในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น 12 - 13 ค่ำ เดือน 11 การทำปราสาทผึ้ง สืบเนื่องมาจากครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จจำพรรษาบนสวรรค์ ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยพระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ พระอินทร์จึงนิรมิตบันได 3 ชนิดขึ้นมา การที่จะได้อยู่ในปราสาทอันสวยงามนั้นต้องกระทำความดี สร้างบุญสร้างกุศล และต้องประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักธรรม และสร้างปราสาทกองบุญไว้ในโลกมนุษย์เสียก่อน ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างปราสาท และเกิดประเพณีแห่ปราสาทผึ้งขึ้นมา
 
ศิลป และวัฒนธรรมภาคอีสานโดยภาพรวมมีดังนี้
การทอผ้า มีการสืบทอดการทอผ้าต่อๆกันมาไม่ขาดสาย ชนิดของผ้าเป็นประเภทผ้าไหม และผ้าฝ้าย อาทิเช่น ผ้าไหมมัดหมี่, (หมายเหตุ คำว่า มัดหมี่ คือกรรมวิธีทอผ้าชนิดหนึ่ง โดยวิธีการมัดเส้นด้ายก่อนนำมาย้อมสีเพื่อนำไปทอเป็นผ้าต่อไป) 
 
เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน แบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ เพลงพิธีกรรม และเพลงการละเล่น
1. เพลงพิธีกรรม  ได้แก่ เพลงที่ใช้ในการ ขับประกอบพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ หรือใช้ประกอบในการ แสดงหรือเทศนาธรรม เช่น ลำพระเวส (เทศน์เรื่องพระเวสสันดร ชาดก หรือเทศน์มหาชาติ) หรือเรียกว่า เทศน์แหล่, ลำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมเพื่อรักษาคนป่วย,  และเพลงที่ใช้ประกอบพิธี บายศรีสู่ขวัญ
 
2. เพลงการละเล่น มี หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำเพลิน และเพลงโคราช เป็นต้น
 
การฟ้อนรำ มีประเภทฟ้อนรำใช้ในพิธีกรรม ได้แก่ ฟ้อนผีฟ้า, ฟ้อนภูไท, ฟ้อนไทดำ, เซิ้งบั้งไฟ และรำบายศรี เป็นต้น ประเภทฟ้อนรำเพื่อความสนุกสนาน ได้แก่ รำโปงลาง, เซิ้งสวิง, เซิ้งกะติ๊บ, ฟ้อนกลองตุ้ม และรำกลองยาวอีสาน เป็นต้น
 
เครื่องดนตรีอีสาน เครื่องเป่าได้แก่ แคน, โหวด, และ ปีไสล, เครื่องดีด ได้แก่ พิณ,กระจับปี่, และเครื่องสี เช่น ซอกันตรึม เป็นต้น
            
อาหารประจำถิ่นภาคอีสาน อาหารประจำถิ่นยอดนิยมภาคอีสานคือ ส้มตำ ซึ่งทำจากมะละกอดิบนำมาสับเป็นเส้น ๆ ปรุงรสจัด  นอกจากนั้นก็มี ปลาร้า, ลาบ, ก้อย, แกงผักหวาน, แกงอ่อม, ผัดหมี่โคราช และไส้กรอกอีสาน เป็นต้น

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 8 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(20)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(5)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(6)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(30)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(6)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(6)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(4)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(5)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(8)

น้ำตก น้ำตก(9)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(2)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(8)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(21)

สวนน้ำ สวนน้ำ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(6)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(2)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(5)