หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.นครราชสีมา > เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน


นครราชสีมา

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน

Rating: 1.9/5 (74 votes)

เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน ภาคอีสานเป็นแหล่งรวมกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันถึง 3 กลุ่ม จึงมีเพลงพื้นบ้านแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
 
1. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว กลุ่มชนกลุ่มนี้ ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี เลย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ มุกดาหาร ยโสธร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มชนนี้ใช้ภาษาถิ่น คือ ภาษาอีสาน เพลงพื้นบ้านของกลุ่มวัฒนธรรมไทย- ลาว มี 2 ประเภท คือ หมอลำ และเซิ้ง
 
1.1 หมอลำเป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมมากในภาคอีสาน ได้พัฒนาการแสดงเป็นคณะ มีการฝึกหัดเป็นอาชีพ รับจ้างไปแสดงในงานต่างๆ มีทำนองลำ เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ลาย" ที่นิยมมีด้วยกัน 4 ลาย คือ 1. ลายทางเส้น 2. ลายทางยาว 3. ลายลำเพลิน 4. ลายลำเต้ย เนื้อเพลงพื้นบ้านภาคอีสาน ได้แก่ ลายลำเต้ย 
 
1.2 เซิ้ง หรือลำเซิ้ง คำว่า "เซิ้ง" หมายถึง การฟ้อนรำ เช่น เซิ้งกระติบ หรือทำนองเพลงชนิดหนึ่ง เรียก ลำเซิ้ง เซิ้งทั่วไปมี 3 แบบ คือ เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งเต้านางแมว และเซิ้งเต้านางด้ง การเซิ้งนี้มักจะเป็นกลุ่มย่อยๆ ตั้งกระบวนแห่ไปขอปัจจัย เพื่อร่วมทำบุญงานวัด 
 
2. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย (กูย) เป็นกลุ่มประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ มีภาษาของตนเอง คือ ภาษาเขมร และภาษาส่วย(กูย) ซึ่งต่างไปจากภาษาถิ่นอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น โดยเฉพาะเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า "เจรียง" ซึ่งแปลว่า ร้อง หรือขับลำ
 
การเล่นเจรียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีทั้งที่จัดเป็นคณะ และเล่นกันเองตามเทศกาล เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
2.1 เจรียงในวงกันตรึมวง ซึ่งเป็นวงดนตรีประกอบด้วย ปี่ออ ปี่ชลัย กลอง กันตรึม ฉิ่ง ฉาบ กรับ ปัจจุบันมีซออู้ และซอด้วงด้วย เมื่อเจ้าภาพจัดหาวงกันตรึมมาเล่น ก็จะมีการร้องเพลง คือ เจรียงประกอบวงกันตรึม เนื้อร้องจะเลือกให้เข้ากับงานบุญกุศลนั้นๆ หรือตามที่ผู้ฟังขอมา
 
2.2 เจรียงเป็นตัวหลัก ในวันเทศกาล ชาวบ้านที่มีอารมณ์ศิลปินจะจับกลุ่มร้องเจรียงที่จำสืบทอดกันมา ผลัดกันร้อง และรำฟ้อนด้วย เช่น เจรียงตรุษ เจรียงนอรแกว (เพลงร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิง)
 
3. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช กลุ่มชนวัฒนธรรมไทยโคราช ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ เพลงพื้นบ้านของชนกลุ่มนี้ คือ เพลงโคราช ปัจจุบันพัฒนาจากเพลงพื้นบ้านมาเป็นคณะหรือเป็นวง มีการฝึกหัดเป็นอาชีพ รับจ้างแสดงในงานบุญ งานมงคล งานแก้บนท้าวสุรนารี เนื้อร้องโต้ตอบระหว่างชาย-หญิง กลอนเพลงมีหลายแบบ เช่น เพลงคู่สอง เพลงคู่สี่ ใช้ปรบมือตอนจะลงเพลงแล้วร้อง "ไช ยะ"
 
เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง และเป็นที่รู้จักกันดีเฉพาะถิ่นนั้นๆ ลีลาการขับร้องหรือการฟ้อนรำจึงมีอิสระทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา จึงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ด้วยสาเหตุที่เพลงพื้นบ้านใช้ภาษาถิ่น ใช้ทำนองสนุก จังหวะเร้าใจ เนื้อหาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาชาวบ้าน
 
เพลงพื้นบ้าน ถือว่าเป็นวรรณกรรมชาวบ้านประเภทหนึ่งที่ใช้ร้องเล่นในสังคมท้องถิ่น ถ่ายทอด สืบทอดกันมาโดยใช้ความจำ ไม่มีการบันทึกให้ทราบถึงผู้แต่ง ที่มาของเพลงหรือแม้กระทั่งระเบียบวิธีการเล่นก็ใช้จดจำสืบต่อกันมา จึงเรียกได้ว่าเป็นวรรณกรรมปากเปล่าหรือวรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นวัฒนธรรมทางด้านความบันเทิงของชาวบ้านในท้องถิ่น แล้วแพร่กระจายจากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก
 
เพลงพื้นบ้าน เป็นวิวัฒนาการทางการใช้ภาษาในระดับสูงขึ้นมา เพราะเมื่อสังเกตดูเพลงพื้นบ้านจะเป็นสื่อถ่ายทอดเรื่องราวอันเกิดขึ้นในสังคมชาวบ้านทุกระดับจากระดับชาวบ้านในหมู่บ้าน ตำบล เมือง จนกระทั่งถึงระดับชาติ เมื่อถึงระยะหนึ่งจะมีผู้คิดประดิษฐ์คำให้เรื่องเหล่านั้นมีคำที่ไพเราะ ถ้อยคำคล้องจอง เมื่อถึงระยะหนึ่งก็จะมีผู้คิดใส่ทำนองร้องและใส่เครื่องดนตรีประกอบ ทำให้เพลงพื้นบ้านมีความไพเราะ มีคุณค่าทางด้านให้ความบันเทิงและสะท้อนสภาพสังคมทุกด้าน เราสามารถจะศึกษาชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ภาษาและวัฒนธรรมอื่นๆจากเพลงพื้นบ้านได้ทั้งสิ้น

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(20)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(5)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(6)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(30)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(6)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(6)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(4)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(5)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(8)

น้ำตก น้ำตก(9)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(2)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(8)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(21)

สวนน้ำ สวนน้ำ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(6)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(2)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(5)