หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.สุโขทัย > อ.เมืองสุโขทัย > ต.เมืองเก่า > พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช


สุโขทัย

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

Rating: 4.4/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 3 ตัน ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาอาสน์ ขนาดเท่าพระแท่นจริงยาว 4 เมตร กว้าง 2.88 เมตร
 
ลักษณะพระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม และมีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก เครื่องฉลองพระองค์และศิราภรณ์ยึดถือลักษณะจากเทวรูปของศิลปสมัยสุโขทัย พระหัตถ์ขวาทรงถือสมุดไทยอันหมายถึงสรรพวิทยาการต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้
 
พระหัตถ์ซ้ายแสดงลักษณะทรงสั่งสอนพสกนิกรหรือขณะออกว่าราชการ พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของ พระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย ผู้ปั้นหุ่นพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ นายสนั่น ศิลากรณ์ นายช่างเอกของกรมศิลปากรซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีฝีมือเป็นเยี่ยมและ เป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
 
ประวัติการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ จังหวัดสุโขทัย ในโอกาสนี้ได้ทรงประกอบพิธีบวงสรวงสังเวย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดศรีชุมด้วย
 
ในครั้งนั้นปรากฏว่าประชาชนได้เรียกร้องให้ทางราชการดำเนินการสร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยให้เหตุผลว่า พระบรมราชานุสาวรีย์ของมหาราชพระองค์อื่นได้สร้างครบถ้วนทุกพระองค์แล้ว ยกเว้นแต่พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังนั้นจังหวัดสุโขทัยจึงได้ริเริ่มดำเนินการนำเสนอความเห็นมายังกระทรวง มหาดไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาลงมติรับหลักการ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2507และได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นโดยกรม ศิลปากรรับผิดชอบการออกแบบและการหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2507 สืบเนื่องต่อมาหลายปีผ่านสมัยของรัฐบาลหลายชุด คณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ได้ดำเนินการมาเป็นระยะ คือ พิจารณาคัดเลือกสถานที่โดยอาศัยหลักเกณฑ์และแนวทางจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ และเห็นว่าบริเวณพื้นที่ริมทางหลวงภายในกำแพงเมืองเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม กว้างประมาณ 26 ไร่ อาณาเขตขณะที่กำหนดเมื่อพ.ศ. 2508 ทิศเหนือติดต่อกับวัด ตะกวนซึ่งเป็นวัดร้าง ทิศตะวันตกติดต่อกับตระพังตะกวน ต่อมาในปีพ.ศ. 2520 กรมศิลปากรได้ดำเนินการโครงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ปรับปรุงพื้นที่ให้มีความกลมกลืนกับสภาพของโครงการ บริเวณที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงเป็นภูมิทัศน์ที่งดงามยิ่ง
 
พิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 และเมื่องานออกแบบพระบรมรูปและปั้นหุ่นดินเสร็จพร้อมที่จะหล่อได้แล้ว คณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูป ณ มณฑลพิธี กองหัตถศิลป กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2513
 
เมื่อกรมศิลปากรปั้นหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและภาพจำหลักนูนแสดงเหตุการณ์ในรัชสมัยเรียบร้อยแล้ว จังหวัดสุโขทัยมีความประสงค์จะอัญเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐาน ณ ปะรำพิธีบริเวณเนินปราสาท อำเภอเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัยเพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาในระหว่างที่ยังมิได้ประกอบพิธีเปิด ซึ่งขณะนั้นเป็นระยะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างแท่นฐานและจัดผังบริเวณ โดยได้ก่อสร้างปะรำเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปชั่วคราว จังหวัดสุโขทัยได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เทื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2518
 
พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ประดิษฐานอยู่ที่ปะรำพิธี ณ เนินปราสาทเป็นเวลา 1 ปี งานก่อสร้างแท่นฐานจึงเสร็จเรียบร้อย จากนั้นจังหวัดสุโขทัยจึงได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากเนินปราสาท ไปประดิษฐานยังแท่นฐานปัจจุบันเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2519และจัดให้มีมหรสพฉลองสมโภชด้วย

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน กลุ่ม: แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(4)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(5)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(10)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(6)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(40)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(9)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(5)

น้ำตก น้ำตก(8)

ถ้ำ ถ้ำ(4)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)