หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงราย > อ.เมืองเชียงราย > ต.รอบเวียง > พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9


เชียงราย

พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9

พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9

Rating: 4.3/5 (6 votes)

ข้อมูลติดต่อ ฝ่ายกิจการพลเรือน จังหวัดทหารบกเชียงราย 
โทร. 053-600902, 053-711200-1 ต่อ 3807
กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17  ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
 
ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทร. 053-711205 โทรสาร. 3032378
 
ประวัติความเป็นมาของรอยพระบาท ปี พ.ศ.2497 เริ่มสถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดเชียงราย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) 
 
ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งเข้ามาทางภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐาน เป็นชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน จว.เชียงราย ,ชายแดน จว.พะเยา ในปัจจุบัน
 
หลังจากได้ปลุกระดมชาวไทยภูเขาบางพื้นที่ประสบผลสำเร็จ ปี พ.ศ.2507 ได้คัดเลือกแนวร่วมบางส่วนเพื่อส่งไปอบรมวิชาการเมืองและการทหารรุ่นแรกที่ เมืองฮัวมินห์ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม
 
เพื่อกลับมาเตรียมปฏิบัติงานในพื้นที่ไว้รอรับสมาชิก พคท. ซึ่งได้เดินทางเข้าสู่พื้นที่ชายแดน จว.เชียงราย  ปี พ.ศ. 2509 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการชี้นำ ด้านการเมืองและการทหาร      
 
เมื่อสามารถขยายผลงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท.จึงเปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธกับเจ้าหน้าที่ในภาคเหนือขึ้นเป็นครั้งแรก ที่บ้านน้ำปาน ตำบลนาไร่หลวง อ.ทุ่งช้าง จว.น่าน เมื่อ วันที่ 26 ก.พ.2510 ซึ่งถือว่าเป็นวัน "เสียงปืนแตก" ของ พคท.ในเขตภาคเหนือ
 
ต่อจากนั้นได้มีการต่อสู้เรื่อยมา โดยในวันที่ 10 พ.ค.2510 ได้มีการต่อสู้กับหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ที่บ้านห้วยชมภู  ต.ยางฮอม  อ.เทิง  จว.เชียงราย (เป็นครั้งแรกในเขตพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น)
 
เมื่อ ปี พ.ศ. 2521  พคท. สามารถจัดตั้งฐานที่มั่นในภาคเหนือได้ถึง 9 แห่ง และฐานที่มั่นที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ "ฐานที่มั่นดอยยาว-ดอยผาหม่น" จว.เชียงราย พคท.ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย" แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตงาน คือ เขตงาน 52  , เขตงาน 9  , เขตงาน 7  และ เขตงาน 8
 
สำหรับพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของ เขตงาน 8 ในเขต อ.เทิง และ  อ.เชียงของ จว.เชียงราย รวมพื้นที่ อ.เวียงแก่น และ อ.ขุนตาล ในปัจจุบันด้วย กองกำลังติดอาวุธของ พคท.ในขณะนั้นมีประมาณ 600 คน   มีมวลชนซึ่งส่วนใหญ่ชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ 2,300 คน
 
ความเคลื่อนไหวที่สำคัญ  คือ ขัดขวางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการสร้างทาง  และการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง การสู้รบ ณ สมรภูมิแห่งนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิพลชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ) , ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรม ณ เนิน 1188 ดอยพญาพิภักดิ์)
 
โดยใช้กำลังทหารในพื้นที่ จว.เชียงราย  เข้าปฏิบัติการกวาดล้าง และปราบปราม พคท. ตามคำสั่งกองทัพภาคที่ 3 และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 จนถึงปี พ.ศ.2525 จึงสามารถกำชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือ พคท.
 
เมื่อ  ปี พ.ศ. 2524   กองพันทหารราบที่ 473  ซึ่งมี พ.ท.วิโรจน์  ทองมิตร เป็นผู้บังคับหน่วย (ตำแหน่ง ปกติ  ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17) ได้นำกำลังทหารเข้าปฏิบัติการพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น  ตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จนเกิดยุทธการยึด เนิน 1188 บนดอยพญาพิภักดิ์  ได้
 
เมื่อ วันที่ 27 ก.พ.2525  ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์จอมทัพไทย , สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
 
และพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ได้เสด็จฯ เพื่อเยี่ยมเยือนทหารหาญและราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ ดอยพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว เขต อ.เทิง จว.เชียงราย (ปัจจุบันเป็นเขต  อ.ขุนตาล) และในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลนั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารกล้าทั้งปวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
ปัจจุบัน รอยพระบาท ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่  ณ ศาลารอยพระบาท บริเวณด้านหน้า กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของกำลังพลคู่กับอนุสาวรีย์ผู้เสียสละและให้สาธารณชน เยาวชนคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้เข้ามาเยี่ยมชมสืบต่อไปและ ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐาน รอยพระบาท ไว้บนดอยโหยด ค่ายเม็งรายมหาราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีการสมโภช
 
และได้มีพิธีอัญเชิญรอยพระบาท ในหลวงรัชกาลที่ 9  ไป ประดิษฐาน ณ  ที่แห่งใหม่ เมื่อ วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพื่อเฉลิมฉลองในวันฉัตรมงคล  สำเร็จ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
 
หากนักเที่ยวต้องการเข้าไปเยี่ยมชมและสักการะ สามารถเดินทางเข้าไปยังค่ายเม็งรายมหาราช  ได้ทั้งด้านหน้า ช่องทาง 1 และด้านหลังค่าย  ช่องทาง 5  ( มีซุ้มประตู  ชื่อ ศาลารอยพระบาท )  ผ่าน สนามกอล์ฟแม่กก  คลับเฮาส์  อาคารที่พักรับรองริมแม่น้ำกก  และ ผ่าน สนามกอล์ฟ (กำลังก่อสร้าง 9 หลุม)  เพื่อขึ้นไปสักการะ  
 
และสัมผัสบรรยากาศ ชมวิวทิวทัศน์ ตัวเมืองเชียงราย ได้โดยรอบ ณ ศาลารอยพระบาท  บนดอยโหยด  แห่งนี้ได้โดยสะดวก ทั้งนี้มีป้ายบอกเส้นทางเรียบร้อยแล้ว แต่หากสงสัย ให้หยุดสอบถามเส้นทาง จาก เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารทั้งสองช่องทาง ได้ทุกวันในเวลาราชการ ทั้งนี้  ค่ายเม็งรายมหาราช  ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พิพิธภัณฑ์ กลุ่ม: พิพิธภัณฑ์

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(7)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(3)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(38)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(5)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(9)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(14)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(18)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(13)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(7)

น้ำตก น้ำตก(16)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(6)

ถ้ำ ถ้ำ(8)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(10)

ทะเล และหาด ทะเล และหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(2)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(1)