
มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

Rating: 4.5/5 (4 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ที่เที่ยวกรุงเทพ ก่อนปี พ.ศ. 2492 หมู่บ้านลำสาลีนั้นจะมีสภาพความเป็นอยู่ไม่ผิดอะไรกับชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ โดยอาชีพส่วนใหญ่คือการทำนา ซึ่งพอยามว่างเสร็จจากการทำนาก็หากุ้งหาปลาฆ่าเวลาไปวัน ๆ การคมนาคมติดต่อในสมัยนั้นหน้าน้ำก็ใช้เรือแต่ พอถึงหน้าแล้งก็เดินเท้าไปมาหาสู่กัน เมื่อถึงคราวจำเป็นหรือเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ก็ต้องใช้ไอ้ทุยนี่แหละ ขี่บ้าง เทียมเกวียนบ้าง พูดถึงไอ้ทุย มันก็คือที่มาของ"ลำสาลี" โดยกล่าวคือ ในตำนานจากการบอกเล่าของคนในอดีตว่า "โต๊ะกีลี" แกเป็นคนเลี้ยงควาย
ชาวบ้านส่วนใหญ่จะนำควายมาให้แกเลี้ยงดูเป็นฝูงใหญ่ ตอนนั้นท้องทุ่งแถบนี้มีทุ่งหญ้าเป็นป่าละเมาะ โต๊ะกีลีหรือตาสำลีแกจะต้อนควายที่แกดูแลลงคลองหัวหมาก มากินหญ้าในทุ่งแถบนี้ในหน้าแล้ง ซึ่งอยู่บริเวณหน้ามัสญิดฯในปัจจุบัน นานวันเข้าทางที่แกต้อนควายเดินอยู่ทุกวันก็แปรเปลี่ยนไปเป็นลำราง ชาวบ้านเรียกลำรางนี้จนติดปากว่า"ลำตาสำลี" และเพี้ยนมาเป็น"ลำสาลี"ในปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นจาก โต๊ะกีดำ อิสมาแอล ได้อุทิศที่ดิน โฉนดเลขที่ 5769 เล่มที่ 56 หน้า 69 เลขที่ดิน 127 จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 85 วา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างมัสยิด และโรงเรียน พร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมกันซื้อที่ดินโฉนดเดียวกันร่วมอุทิศอีก 1 ไร่ และได้มีการประชุมกันจึงเห็นควรให้มีการก่อสร้างโรงเรียนก่อน โดย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2492 เวลา 8.00 น. ได้มีการยกเสาเริ่มก่อสร้าง โดยในตัวอาคาร นั้นจะมีความยาว 16 เมตร กว้าง 6 เมตร ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 เดือน และใช้งบประมาณ 13,000 บาท โดยใช้แรงงานของคนในหมู่บ้านในการร่วมกันก่อสร้าง
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมอบให้ทางราชการ และเปิดทำการสอนเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2493 จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารขึ้นอีกหลัง เพื่อใช้เป็นที่สอนศาสนา ประกอบกับในสมัยนั้นการละหมาดวันศุกร์จะต้องเดินเท้าไปละหมาดที่มัสยิดหัวหมากน้อย เมื่อมีโรงเรียนสอนศาสนาแล้ว และจำนวนประชาชนเพื่อมากขึ้นจึงร่วมปรึกษาหารือกัน เห็นควรให้มีการก่อสร้างอาคารมัสยิดขึ้น
โดยมีมติให้ก่อสร้างในบริเวณโรงเรียน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2494 ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารมัสยิด จะเสียงกลองหนังดังกึกก้อง ซึ่งแสดงความหมายว่า บัดนี้การเรียกร้องเชิญชวนสู่การละหมาด ได้เกิดขึ้นแล้วที่ หมู่บ้านลำสาลี โดยจะใช้อาคารเรียนของโรงเรียนสอนศาสนาเป็นอาคารชั่วคราว และซึ่งใช้ประกอบศาสนกิจเรื่อยมา และได้ยื่นขอจดทะเบียนมัสยิด ซึ่งได้รับการอนุมัติตามพระราชบัญญัติอิสลาม ขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2494 ทะเบียนเลขที่ 75 โดยในชื่อ มัสยิดญามิอุ้ลมุตตะกีน โดย ท่านอิหม่าม มุฮัมมะเด็น กลิ่นมาลัย และพร้อมการแต่งตั้งกรรมการมัสยิดอีกทั้ง 12 ท่าน
ต่อมา โต๊ะกีเลาะห์ แดงโกเมนได้อุทิศที่ดินโฉนดที่ 2064 เล่มที่ 19 หน้า 64 จำนวน 5 ไร่ 12 วา เมื่อเวลาเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนได้เปลี่ยนไป จำนวนสัปบุรุษเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่ของโรงเรียนที่ใช้ทำการละหมาดไม่พอเพียง จึงเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องสร้างอาคารมัสยิดขึ้นมาใหม่ โดยการนำของท่านอิหม่าม มุฮัมมะเด็น กลิ่นมาลัยได้อุทิศเงินก้อนใหญ่เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นการก่อสร้างอาคารมัสยิด และแล้วในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2505 ตรงกับเดือนรอมฎอน ฮ.ศ. 1381 เวลา 8.15 น.
ได้ทำการยกเสาอาคารมัสยิดหลังใหม่ โดยมีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 18 เมตร โดยใช้งบประมาณ 100,000 บาท จากผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคด้วย และได้มีการก่อสร้าง บาแล และ หออาซาน ในปีต่อมาจนในปี พ.ศ. 2530 อาคารไม้หลังเดิมนั้นไม่สามารถรองรับจำนวนสัปบุรุษที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นคณะกรรมการมัสยิดและสัปบุรุษ จึงได้ประชุมร่วมกัน และได้มีมติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ โดยในระหว่างการก่อสร้างนั้นให้ใช้อาคารเรียนของโรงเรียน กันซุสซอลีฮีน
ทำการละหมาดชั่วคราวจนกว่าอาคารมัสยิดหลังใหม่จะใช้การได้ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ได้ทำการรื้ออาคารมัสยิดหลังเก่าเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง และแล้ววันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ในตอนเช้า นั้นจะมีผู้คนมากมายได้รวมตัวกัน เพื่อขอดุอา และรอคอยเวลาที่จะเริ่มตอกเสาเข็มต้นแรกด้วยความดีใจ และตื้นตันใจ จนทุกอย่างแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการยืนยันในความมั่นคงแข็งแรงและถาวร ในการเริ่มต้นการก่อสร้าง
จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา โดยได้รับการอุทิศจากพี่น้องทั้งในและนอกชุมชนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง นอกจากนั้นแล้วในการดำเนินการก่อสร้าง ได้ใช้บุคคลากร ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการก่อสร้าง การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และแรงงาน ก็ใช้คนในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งแล้วเสร็จ โดยไม่มีการหยุดการก่อสร้างเลย และได้ใช้อาคารมัสยิดหลังใหม่ในการประกอบศาสนกิจ และกิจกรรมต่างๆมากมาย พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติม เสริมแต่ง ตัวอาคาร และบริเวณโดยรอบจนสมบูรณ์ จึงเห็นพ้องต้องกันให้ดำเนินการจัดงานทำพิธีเปิดป้ายอาคารมัสยิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 28 พฦศจิกายน




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage