
วัดดุสิดารามวรวิหาร

Rating: 3.1/5 (8 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดดุสิดารามวรวิหาร วัดในกรุงเทพ ที่เที่ยวกรุงเทพ ในสมัยที่ล่วงมาแล้วประมาณ 6๐ ปีเศษ ขณะที่ท่านผู้เล่ายังเยาว์อยู่ได้เคยเห็นเสาหินต้นหนึ่ง ขนาดโตประมาณเท่าเสา 4 กำ หรือ 5 กำ สูง 2 ศอกเศษ ปักอยู่ที่มุมภายในพระระเบียงรายรอบพระอุโบสถ ใกล้กับพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในทิศเหนือด้านหลังพระอุโบสถที่ยังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ ซึ่งใน
ขณะนั้นสถานที่นั้นยังรกเป็นป่าหญ้าคาเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในสมัยนั้น (โดย ผู้ที่มาดูบางคนก็เห็น แต่บางคนไม่เห็น) ต่อภายหลังผู้บอกเล่าได้มาดูอีกแต่ไม่เห็น และไม่ทราบว่าเสาหินนั้นสูญหายไปอย่างไร เมื่อไร ดังนั้น เรื่องนี้จึงน่าจะลงมติสันนิษฐานได้ว่าการขนานนามวัดนี้ว่า “เสาประโคน” โดยอาจถือเอาเสาหินนั้นเป็นนิมิตก็ได้ ทั้งตรงกับความหมายของคำว่า “ประโคน” ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกเสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดนอีกด้วย หากพิจารณาดูก็พอสมเหตุสมผล แต่จะรับรองว่ายุติแน่นอนก็ไม่ได้
อนึ่ง คำว่า “ประโคน” ซึ่งเป็นชื่อของพระอารามนี้ โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิยามไว้ดังนี้ว่า “โคน เห็นจะแปลว่า เสา ว่า หลัก ตัวอย่างเช่นคำ เสาประโคน ประ ซึ่งจะเป็นคำนำเข้าไปให้ผังพริ้งเพริศ เช่น จบ เป็นประจบ จวบเป็นประจวบ ชุมเป็นประชุม” ซึ่งส่วนหลักฐานที่จะแสดงให้รู้ ว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นในปีไหน ใครเป็นผู้สร้าง และได้สร้างถาวรวัตถุหรือปูชนียวัตถุอะไรไว้บ้างในยุคแรก ก็ไม่มีปรากฏ จึงทราบไม่ได้
ปูชนียวัตถุที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ คือ พระประธานปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ หน้าตักกว้าง 2.12 เมตร สูงถึงพระรัศมี 2.๐๐ เมตร พระอรรคสาวกสูง 97 เซนต์ นั่งพับแพนงเชิง1 อยู่บนแท่นบัวคว่ำบัวหงายด้านขวาและด้านซ้ายพระประธานข้างละ 1 องค์ ผินหน้าเข้าหาพระประธาน พระพุทธรูปยืนก่อด้วยปูนลงรักปิดทองติดกับฝาผนังพระระเบียงรอบพระอุโบสถ 64 องค์
ในลานมุมพระระเบียงทั้งสองข้างหน้าพระอุโบสถมีพระปรางค์อยู่ข้างละ 1 องค์ ฐานล่างกว้าง 4.1๐ เมตร สูง 9.75 เมตรเท่ากัน และในลานมุมพระระเบียงด้านหลัง มีพระเจดีย์ข้างละ 1 องค์ ฐานล่างกว้าง 4.1๐ เมตร สูง 1๐.15 เมตรเท่ากัน นอกจากนี้ยังมีปูชนียวัตถุที่เป็นสังหาริมทรัพย์ คือ พระพุทธรูปปางต่างๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้างอีกมาก
ถาวรวัตถุของวัดที่มีอยู่ในบัดนี้ คือพระอุโบสถ เสาและฝาผนังถึงขื่อก่ออิฐถือปูน เครื่องบนทำด้วยไม้หลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้าใบระกา มุงด้วยกระเบื้องดินเผาธรรมดาเข้าใจว่าเป็นแบบทรงอยุธยา วัดภายนอก เฉพาะตัวพระอุโบสถ ยาว 22.1๐ เมตร กว้าง 1๐.1๐ เมตร พะไล1 ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถยาวด้านละ 4.1๐ เมตร กว้าง 1๐.1๐ เมตร ภายในตัวพระอุโบสถ ยาว 19.52 เมตร กว้าง 7.92 เมตร สูงจากพื้นถึงท้องขื่อ 9.57 เมตร ภายในพะไล 2 ข้าง ยาวข้างละ 3.36 เมตร กว้าง 9.8๐ เมตรเท่ากัน
หน้าบันพระอุโบสถทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตอนล่างก่ออิฐถือปูน ตอนบนใช้ไม้แกะสลักเป็นลวดลายก้านขดมีเทวดาถือพระขรรค์ประทับนั่งบนแท่น อยู่ท่ามกลางลงรักปิดทอง ประดับกระจกเหมือนกันทั้ง 2 ข้าง
ชุ้มประตูด้านหน้าด้านหลังพระอุโบสถ ภายในพะไลแลซุ้มหน้าต่างภายนอกด้านข้างทั้ง 2 ของพระอุโบสถ ทำลวดลายด้วยปูน มีช่อฟ้าใบระกา ปิดกระจก
บานประตูและหน้าต่างพระอุโบสถด้านนอก พื้นลงรักเรียนลายรดน้ำ2ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ที่หน้าต่างลบเลือนไปหมดแล้ว ยังเหลือปรากฏอยู่ที่บานประตูบ้างเพียงบางส่วน







แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
Facebook Fanpage