หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.บางกอกน้อย > ต.บ้านช่างหล่อ > วัดพระยาทำวรวิหาร


กรุงเทพมหานคร

วัดพระยาทำวรวิหาร

วัดพระยาทำวรวิหาร

Rating: 2.7/5 (32 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดพระยา ทำเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 47 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าวัดอยู่ทางทิศตะวันออก มีทางเข้า-ออกติดต่อกับถนนอรุณอมรินทร์ตรงเชิงสะพานข้ามคลองมอญฝั่งเหนือ ตรงกันข้ามกับกรมอู่ทหารเรือ อยู่ทางทิศเหนือของวัดนาคกลางโดยมีคลองมอญคั่นกลาง
 
ลักษณะพื้นที่ของเขตวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ แบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง (ประมาณครึ่งหนึ่ง) แบ่งให้ทางราชการสร้างโรงเรียนอยู่ทางทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ และให้ประชาชนอยู่อาศัย
 
อาณาเขตของวัดมีดังนี้
ทิศตะวันออก ยาวประมาณ 5 เส้น 4 วา จดคลองสาธารณประโยชน์ (คลองซอยบ้านขมิ้น)
 
ทิศตะวันตก ยาวประมาณ 5 เส้น จดลำกระโดงสวนอนันต์
 
ทิศเหนือ ยาวประมาณ 3 เส้น 3 วา จดที่ดินของนาวาตรีหลวงสิทธิ
 
ทิศใต้ ยาวประมาณ 3 เส้น 3 วา จดคลองมอญ
 
วัดพระยาทำ เดิมมีชื่อว่า วัดนาค คู่กับ วัดกลาง ซึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งคลองมอญ คือ วัดนาคอยู่ฝั่งเหนือ วัดกลางอยู่ฝั่งใต้ ต่อมาเมื่อวัดนาคเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระยาทำแล้ว จึงรวมชื่อวัดนาคกับวัดกลางเป็น วัดนาคกลาง ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน และ วัดทั้งสองนี้ต่างก็เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานกันว่า วัดนาคสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ยังไม่พบหลักฐานทางเอกสารว่าใครเป็นผู้สร้าง สร้างในรัชกาลใด
 
มาในสมัยกรุงธนบุรี มีเรื่องเกี่ยวข้องกับวัดนาคปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อราว พ.ศ. 2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปทรงปราบก๊กพระฝาง (เรือน) ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ในฝ่ายเหนือได้สำเร็จ และรับสั่งให้จับพระสงฆ์ฝ่ายเหนือที่ร่วมกับพระฝางทำความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั้งหลายมาลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ และโปรดให้สังฆการีลงมาอาราธนาพระราชาคณะและพระสงฆ์อันดับจากกรุงธนบุรีขึ้นไปบวชพระสงฆ์ไว้ในหัวเมืองเหนือทุกๆ เมือง และโปรดให้พระราชาคณะอยู่สั่งสอนพระธรรมวินัยในเมืองต่างๆ ดังนี้
1. พระพิมลธรรมไปอยู่เมืองสวางคบุรี
2. พระธรรมโคดมไปอยู่เมืองพิชัย
3. พระธรรมเจดีย์ไปอยู่เมืองพิษณุโลก
4. พระพรหมมุนีไปอยู่เมืองสุโขทัย
5. พระเทพกระวีไปอยู่เมืองสววรคโลก
6. พระโพธิวงศ์ไปอยู่เมืองศรีพนมทุ่งยั้ง
 
พระธรรมเจดีย์ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ไปจัดการคณะสงฆ์ที่เมืองพิษณุโลกนั้นเป็น เจ้าอาวาสวัดนาค มาก่อน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรม และโปรดให้ไปครองวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ในปัจจุบัน)2 ข้อนี้แสดงว่า มีวัดนาคอยู่ก่อนสมัยกรุงธนบุรีแน่นอน
 
ในต้นรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยมีเรื่องให้รวมวัดนาคกับวัดกลางเข้าด้วยกัน คือ ให้มีพัทธสีมาเดียวกัน ดังความปรากฏในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า พระพุฒาจารย์ (อยู่)3 วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) ปรึกษากับพระธรรมธีรราชมหามุนี (ชื่น)4 วัดหงส์รัตนารามแล้วนำความขึ้นถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า “วัดนาคกับวัดกลางมีอุปจารใกล้กันนัก
 
จะมีพัทธสีมาต่างกันมีควร ควรจะมีพัทธสีมาเดียวกัน ร่วมกระทำอุโบสถสังฆกรรมในพัทธสีมาเดียวกัน” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำรัสให้พระราชาคณะประชุมกันพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้
 
ในที่สุดที่ประชุมพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราช(ศรี) เป็นประธาน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วัดทั้งสองนี้มีคลองคั่นเป็นเขตอยู่ ควรมีพัทธสีมาต่างกันได้ ดังตัวอย่างมีเคยมีมาในครั้งกรุงเก่า ปรากฏว่ามตินี้ทำให้พระพุฒาจารย์ (อยู่) ถูกลงพระราชอาญาโดยให้ถอดสมณศักดิ์ ฐานเจรจาอวดรู้กว่าผู้ใหญ่ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ทรงออกประกาศให้เรียกว่า “มหาอกตัญญู”4
 
การที่มีคดีคัดค้านไม่ให้วัดนาคกับวัดกลางมีพัทธสีมาแยกกันดังกล่าวข้างต้นนั้น ชวนให้สันนิษฐานว่า ขณะนั้น คงจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในวัดใดวัดหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 วัดนี้ก็เป็นได้ มิฉะนั้นจะรื้อฟื้นเรื่องเก่าขึ้นมาเพื่อประโยชน์อะไร
 
อย่างไรก็ดี ใดด้านเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของวัดนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดว่าในต้นรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325) ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนกัน กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี เจ้าอาวาสวัดนาค(สืบต่อจากพระธรรมเจดีย์ในสมัยกรุงธนบุรี) พระครูศรีสุนทรกษรวิจิตร เป็นตำแหน่งคู่สวดในสมเด็จพระสังฆราชไปอยู่วัดกลาง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระมหาทองดี เปรียญเอก วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระนิกรมมุนีไปครองวันนาคแทน1 
 
ในรัชการที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายสิบวัด และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการผู้ใหญ่ช่วยรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ด้วย ในการนี้ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สมุหนายก มีจิตศรัทธารับบูรณปฏิสังขรณ์วัดนาค แบบสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดทับลงในที่เดิม ครั้นเสร็จแล้วได้น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดนาคจึงได้เป็นพระอารามหลวง และมีนามใหม่ว่าวัดพระยาทำ หมายถึง วัดที่เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์สร้างขึ้นใหม่
 
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนาคครั้งใหญ่นี้ เป็นบุตรคนที่ 5 ของพ่อค้าเรือสำเภาสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อว่า จีนกุ๋ย อยู่ที่ตำบลคลองโรงช้าง เหนือจังหวัดราชบุรีขึ้นไป เมื่อจีนกุน มีครอบครัวแล้วได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมฝั่งแม่กลอง (จังหวัดสมุทรสงคราม) ติดกับวัดใหญ่ ห่างจากวัดเพชรสมุทรวรวิหารไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร ในสมัยกรุงธนบุรีจีนกุนได้เข้ารับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระราชสิทธิ ได้ยกที่ดินของตนทั้งหมดถวายให้แก่วัดใหญ่ แล้วย้ายมาอยู่ในกรุงธนบุรี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หน้าวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)
 
ต่อมาย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในคลองบางกอกน้อย ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ ตำแหน่งจางวางกรมพระคลังสินค้า ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นพระยาพระคลัง ครั้นถึงรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เป็นต้นสกุลรัตนกุล2 ถึงแกอสัญกรรมในรัชการที่ 2 ท่านมีบุตรธิดา 4 คน คือ (1) จมื่นมหาดเล็ก (ทองอยู่) (2) พระยาพิไชยสงคราม (สัตวา) ต่อมาเลื่อนเป็นเจ้าพระยารัตนามาตยพงศ์ภักดี (3) ท้าววรจันทร์(ยิ้ม) (4) พระนิกรมมุนี(เบญจวรรณ) เจ้าอาวาสวัดพระยาทำ3
 
ต่อมาในรัชการที่ 3 พระบาทสมเด็จตพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมทั้งวัดอีกครั้งหนึ่ง จนมีสภาพถาวรมั่นคงมาถึงรัชการที่ 5 พระอุโบสถ และเสนาสนะต่างๆ เริ่มชำรุดทรุดโทรมลง พระครูสุนทรากษรวิจิตร (แจ้ง) เจ้าอาวาสร่วมกับอุบาสกอุบาสิกาบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นก็มีการบูรณะสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

โทร : 024111349

มือถือ : 0890083127

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดพระยาทำวรวิหาร

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(20/21)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(52)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(4)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(6)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(53)