หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.ไร่ส้ม > วัดเขาบันไดอิฐ


เพชรบุรี

วัดเขาบันไดอิฐ

วัดเขาบันไดอิฐ

Rating: 3.8/5 (9 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดเขาบันไดอิฐ แต่เดิมเคยเป็นสำนักสงฆ์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มามีฐานะเป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ใน ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี บนเขาบันไดอิฐแห่งนี้มีถ้ำอยู่มากมาย มีหลักฐานว่าในแผ่นดินพระบรมราชาที่ 2 พระเชษฐาธิราช พ.ศ.2171 "พระศรีศิลป์" ซึ่งเป็นเชื้อสายพระเจ้าทรงธรรม ได้ถูกจับกุมและถูกเนรเทศจากอยุธยามาคุมขังอยู่ที่ถ้ำเขาบันไดอิฐแห่งนี้ เพราะคิดคดซ่องสุมผู้คน คิดแย่งชิงราชสมบัติ แต่แผนการได้รั่วไหลออกมาเสียก่อน
 
เมื่อ "พระศรีศิลป์" มาถูกจองจำที่นี่ก็ได้มี "หลวงมงคล" ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายมารดาของพระศรีศิลป์ คุมบ่าวไพร่ มาทำการขุดเจาะถ้ำ ทางด้านอื่นให้ทะลุติดต่อกันหลายถ้ำจนถึงถ้ำใหญ่ที่คุมขังพระศรีศิลป์ ซึ่งมีแผ่นกระดานตีปิดปากถ้ำ และมีทหารเฝ้ายามคอยส่งอาหารและน้ำ ใส่ตะกร้าหย่อนลงไปให้ ปรากฏว่าอาหารและน้ำไม่มีใครแตะต้องคงอยู่ตามเดิม ตะโกนเรียกก็ไม่มีเสียงขานรับ ก็คิดว่าพระศรีศิลป์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จึงรายงานให้ทางกรุงศรีอยุธยาทราบและมีคำสั่งให้ถมดินปิดปากถ้ำเสีย
 
"พระศรีศิลป์" เมื่อลอบออกจากถ้ำมาได้ก็หลบซ่อนตัวซ่องสุมผู้คน และทหารทำการขบถต่อแผ่นดินตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เพชรบุรี แต่ต่อมาได้ถูกจับตัวส่งกลับไปกรุงศรีอยุธยาและถูกสำเร็จโทษ วัดเขาบันไดอิฐยังมีประวัติและเรื่องราวอีกว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระหว่าง พ.ศ.2240-2249 รัชกาลของพระพุทธเจ้าเสือ มีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่า "พระอาจารย์แสง" เคยบวชอยู่ที่วัดมเหยงค์ กรุงศรีอยุธยา เป็นพระภิกษุที่มีเวทย์มนต์ขลัง เชี่ยวชาญทั้งในพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ การวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งได้ธุดงค์มาพักที่วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี "พระอาจารย์แสง" จำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งนี้จนมรณภาพ เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่ซึ่งสงบ วิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม (ในสมัยรัตนโกสินทร์ สุนทรภู่ก็เคยมาเยือนที่วัดเขาบันไดอิฐ และได้ร้อยกรองถึงสถานที่นี้ไว้ใน "นิราศเมืองเพชร")
 
ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า "พระอาจารย์แสง" เป็นพระอาจารย์ของ "พระเจ้าเสือ" สอนทางเวทย์มนต์คาถา และเหตุที่พระอาจารย์ธุดงค์มาอยู่ที่วัดเขาบันไดอิฐก็เพราะน้อยใจที่กล่าวตักเตือนพระเจ้าเสือไม่ให้ประพฤติในทางโหดร้ายต่อสตรีไม่ได้ พระอาจารย์แสงเห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี้ กษัตริย์ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้ความขลังของวิชาที่เรียนมาเสื่อมลงด้วย
 
"พระเจ้าเสือ" พระองค์นี้มีนิสัยดุดัน ชอบหมกมุ่นในกามราคะ ชอบฆ่าสัตว์ แต่ทรงพระปรีชาสามารถในทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์คาถา ไพร่ฟ้าประชาชนเกรงกลัวมาก จึงขนานนามพระองค์ว่า "พระเจ้าเสือ" (ขุนหลวงสรศักดิ์) มีบันทึกอยู่ในพงศาวดารความว่า "พอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ และเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถี อายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดโยกโคลงไปทรงพระโกรธ ลงพระอาญาถองยอดอกตายคาที่ ถ้าสตรีได้ไม่ดิ้นเสือกโคลงนิ่งอยู่ชอบอัชฌาลัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล
 
ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัชฉาชาติฉนากฉลามทางชลมารค ทรงทะเลเกาะสีชัง เขาสามมุข และประเทศใดย่อมเสวยน้ำจัณฑ์ไปพลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางไนและมหาดเล็กชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไปมิได้มีวิจารณปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดท้างไปในทะเล ให้ปลาฉลากฉลามกินเป็นอาหาร ประการหนึ่งปราศจากเบญจางคิกศีลมักพอพระทัย ทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาปรากฏเรียกว่า "พระเจ้าเสือ"
 
ครั้งที่พระเจ้าเสือเสด็จมาเยือนเมืองเพชร พระองค์โปรทราบเบ็ดโดยเรือพระที่นั่งพายในท้องที่ ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม กรรมการเมืองเพชรสมัยนั้นได้จัดสร้างพลับพลารับเสด็จไว้ที่บ้านคุ้งตำหนัก และตามตำนานยังมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า พระเจ้าเสือได้ประกาศเป็นกฎหมายไม่ให้ราษฎรจับปลาที่พระองค์ทรงโปรด ปลาที่พระองค์ทรงโปรดมากคือปลาตะเพียน และปลาหมอ
 
นอกจากพระเจ้าเสือจะเสด็จมาเมืองเพชร เพื่อตกปลาและคล้องช้างแล้วพระองค์ยังมีพระประสงค์เพื่อขอร้องให้พระอาจาร์แสงกลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย แต่ก็ไม่สำเร็จ อาจารย์แสงไม่ยอมกลับพระองค์จงจนพระทัยยอมพระอาจารย์ แต่ก็โปรดฯให้บูรณะซ่อมแซมวัดเขาบันไดอิฐขึ้นใหม่ให้สวยงามหลายอย่าง
 
วัดจึงเจริญรุ่งเรืองและในสมัยโบราณก็ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่วัดจะต้องมีเกจิอาจารย์หรือพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญทางด้านอาคม รวมถึงเก่งทางวิปัสสนาหรือทางใน ซึ่งจะต้องมีการถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ใกล้ชิดเหมือนที่วัดเขาบันไดอิฐ เพราะปรากฏยืนยันเป็นหลักฐานได้ว่าวัดเขาบันไดอิฐยังมีพระอาจารย์ชื่อว่า "เหลือ" เป็นพระมีเวทย์มนต์ขลังมาก ผู้คนนับถือเยอะ เล่ากันว่าในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทหารเมืองเพชรจะออกรบจะต้องมาขอผ้ายันต์และตะกรุดโทน หรือไม่ก็สักยันต์ลงกระหม่อม รดน้ำมนต์เพื่อเพิ่มความขลังให้รอดปลอดภัยกลับมา
 
อุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูนขนาดห้าห้อง ฐานอ่อนโค้งมีเสาอิงประดับผนังด้านนอก ปั้นบัวหัวเสาเป็นบัวแวง ประดับกระจกสี ผนังทางด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า)เจาะเป็นช่องประตูสองช่อง ซุ้มประตูประดับลวดลายปูนปั้น หน้าบันของซุ้มประตูปั้นลายกนกหัวนาค กนกก้านขดหางโตผสมลายพุ่ม ด้านหลังเจาะเป็นช่องหน้าต่างขนาดเล็กหนึ่งช่อง ผนังด้านข้างทางทิศใต้ เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมไม่มีซุ้มสองช่อง ทางด้านทิศเหนือเป็นหน้าต่างหนึ่งช่อง และมีประตูที่ห้องที่สองถัดเข้ามาจากด้านหลังซุ้มประดับลวดลายปูนปั้น                                 
หน้าบันพระอุโบสถประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ด้านทิศตะวันออกเป็นภาพลายกนกก้านขดหางโต ผสมลายพุ่ม กนกล้อมรอบครุฑ หน้าอุดปีกนก ด้านซ้ายเป็นลวดลายกนกก้านขดหางโตมีครุฑเหนี่ยว ส่วนหน้าบันด้านทิศตะวันตกเป็นลวดลาpรูปครุฑ ประดับด้วยลายกนกช่อหางโต หน้าอุดปีกนกทั้งสองข้างลวดลายก้านขดหัวนาค หลังคาลดสองชั้นเครื่องไม้ กระเบื้องโบกปูนทับกระเบื้องอีกชั้นหนึ่ง เครื่องลำยองประกอบด้วย ตัวลำยอง นาคสะดุ้ง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ไม้ประดับกระจก มีคันทวยรองรับหลังคาปีกนกโครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องไม้ประดู่ มีจันทัน ภายในเขียนลายบนไม้ทุกชิ้น ลายสีขาวบนพื้นแดง เพดานเขียนลายดาว บริเวณมุมเป็นลายค้างคาว กรอบเป็นลายไม้เถา
 
หน้าบันพระอุโบสถ วัดนี้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านความงามของศิลปะปูนปั้นชั้นครูที่ฝากผลงานไว้เหนือหน้าบันพระอุโบสถ เป็นลายปูนปั้นที่งดงามงามสกุลช่างเมืองเพชร เป็นรูปลายกนกเปลวพลิ้วล้อมรูปครุฑ    
 
ถ้า วัดเขาบันไดอิฐมีถ้ำหลายแห่งที่น่านำชมโดยถ้ำแรก คือ “ถ้ำประทุน” มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำทั้งสองด้าน ลึกเข้าไปจะเป็นถ้ำ “พระเจ้าเสือ” ที่ชื่อเช่นนี้เพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเจ้าเสือได้เสด็จมาหาอาจารย์แสง และได้ถวายพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรประดิษฐานไว้ในถ้ำแห่งนี้
 
ถัดจากถ้ำนี้เข้าไปทางด้านใต้จะมีถ้ำพระพุทธไสยาสน์ จะมีพระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ และตรงซอกผนังถ้ำมีประทุนเรือทำด้วยไม้เก่าแก่มาก เป็นประทุนเรือที่พระเจ้าเสือถวายอาจารย์แสง นอกจากถ้ำทั้งสามนี้แล้ว ยังมีถ้ำอื่น ๆ เช่น ถ้ำพระอาทิตย์ ถ้ำพระจันทร์ ถ้ำสว่างอารมณ์ ถ้ำช้างเผือก และถ้ำดุ๊คซึ่งมีชื่อตามดุ๊คโยฮันฮัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการเมืองปอร์นสวิค (Braunschweig) ประเทศเยอรมันผู้เคยมาเยือนเพชรบุรีและมาเที่ยวถ้ำแห่งนี้
 
ที่ตั้งและการเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 3171 ห่างจากเขาวังประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขาขนาดย่อมมียอดสูง 121 เมตร

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดเขาบันไดอิฐ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)