หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.ท่าราบ > วัดเกาะ


เพชรบุรี

วัดเกาะ

วัดเกาะ

Rating: 2.6/5 (18 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดเกาะ ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเพชรบุรี ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีหลักฐานระบุข้อความไว้ที่จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถว่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2277 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ 
 
จิตรกรรมฝาฝนังของวัดนี้ มีลักษณะพิเศษประการหนึ่งคือ มีภาพชาวต่างชาติปะปนอยู่ในสังคมเมืองเพชรบุรีในสมัยอยุธยา นับเป็นงานศิลปกรรมชิ้นเอกของเมืองเพชรบุรี
 
อุโบสถวัดเกาะ อุโบสถแห่งนี้ไม่เจาะช่องหน้าต่าง มีภาพจิตรกรรมที่ผนังทั้งสองด้าน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เป็นภาพพุทธประวัติ ระบุปีที่เขียนไว้ เมื่อปี พ.ศ.2277 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์เกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ ในจดหมายเหตุระยะทางไปมณฑลราชบุรี พ.ศ.121 มีความตอนหนึ่งว่า 
 
"ที่ฐานพระเจดีย์มีจาฤก 3 องค์ว่า พระพุทธศักราช 2277 สุภมดุ ปีขาลฉศก อุบาสิกาทองผู้แม่มีสัทธาในพระสาดใดสาง จุลศักราช 1096 พระเจดีย์ เล พระเจ้าอัฎมหาถารไว้ในพระสาสน้า ให้ถาวรตั้งมั่นถวน ห้าพันวษา เป็นปไจยแกนิฤภารอีก 2 องค์ อย่างเดียวกัน ตั้งแต่ชื่อ"
 
วัดเกาะมีธรรมาสน์ที่สวยงาม และเป็นแม่แบบของการแกะสลักคันทวย กระจัง และล่องกุนของธรรมาสน์อีกหลายแห่ง ธรรมาสน์หลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2464 โดยช่างฝีมือของกลุ่มช่างวัดเกาะ 
 
ธรรมาสน์เป็นอาสนสำหรับพระสงฆ์นั่งแสดงธรรม รูปแบบธรรมาสน์ของแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไป ธรรมาสน์สมัยโบราณจะเป็นที่นั่งยกพื้นสูง นิยมแกะสลักด้วยไม้ มีเสาคล้ายโต้วแต่มีที่กั้นข้างบน อีกด้านหนึ่งเป็นบันไดสำหรับขึ้นลง มีการลงรักปิดทองสวยงาม
 
วิหาร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอุโบสถ เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน ขนาด 4 ห้อง สร้างด้วยแบบแผนเช่นเดียวกับอุโบสถ ลักษณะของฐานวิหารอ่อนโค้งมากกว่าฐานอุโบสถ มีเสาย่อมุมรับมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หัวเสาเป็นข้อแรงรูปปูนปั้นที่มุขด้านหลังมีเจดีย์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ 1 องค์ มีประตูเฉพาะด้านหน้าเพียงประตูเดียว ผนังด้านหลังปิดทึบ ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่าง ด้านละ 1 บาน (คาดว่าสมัยก่อนยังไม่มีการเจาะเพิ่งจะมาเจาะเป็นหน้าต่างสมัยหลัง) หลังคามุงด้วยเกล็ดกระเบื้องดินเผาปลายแหลม หลังคาลด 1ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเรียบไม่มีลวดลายภายในประดิษฐาน พระประธาน  
 
เจดีย์ประธานหน้าอุโบสถหรือเจดีย์ทรงเครื่อง ตั้งอยู่ด้านหน้าระหว่างอุโบสถกับวิหาร ตามคตินิยมของการสร้างอุโบสถสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เดิมมีเจดีย์อยู่แล้วขนาดเล็ก พระครูเพชรโรปมคุณ (เหลื่อม จนทโชโต) เจ้าอาวาสลำดับที่ 4 สร้างเสริมเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์องค์เล็ก เพื่อบรรจุพระบรมธาตุปี พ.ศ. 2468 มีลักษณะเจดีย์ทรงเครื่องทำนองเดียวกับ เจดีย์ทรงเครื่องวัดป้อม
 
คาดว่าคงบูรณะพร้อมกันรวมทั้งช่างฝีมือเหมือนกับคนเดียวกัน องค์ระฆังตกแต่งด้วยสังวาลมีมาลัยร้อยสลับกัน ที่ฐานองค์ระฆังตกแต่งด้วยกระจังเจิมล้อมรอบ ใต้กระจังเป็นลายหน้ากระดาน รองรับด้วยบัวจงกลองค์เจดีย์เป็นมาลัยเถาว์ ฐานเจดีย์เป็นกำแพงแก้ว มีบันไดขึ้นเหมือนกับเจดีย์ประธานวัดยาง ส่วนบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสอง เหนือบัลลังก์มีซุ้มจระนำ และเสาหารสลับกัน เหนือขึ้นไปทำเป็นบัวลูกแก้วขึ้นไปจรดถึงปลีและหยดน้ำค้าง สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
 
เจดีย์ราย ทางทิศเหนือของวิหารมีเจดีย์รายอยู่ 4องค์ ขนาดต่างกันตามลำดับ เหมือนกับเรียงความสำคัญขององค์เจดีย์ด้วยขนาด ตามคตินิยมแบบอย่างศิลปะประเทศอียิปต์ รูปแบบของเจดีย์แบ่งออกเป็นคู่ๆ ลักษณะเจดีย์แตกต่างไปจากเจดีย์อื่นๆในจังหวัดเพชรบุรี ดูภาพรวมแล้วคล้ายกับเจดีย์ทรงสูงในถ้ำเขาหลวง
 
ศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ  เป็นเรือนโถงทรงไทย  มีศาลาด้านสกัดตั้งขนาบติดต่อกันทั้งสองด้าน  มีจารึกบอกปีการสร้างที่ลายหน้าบันระบุ พ.ศ. 2457 ศาลาการเปรียญได้รับการบูรณะ2 ครั้ง พ.ศ. 2436 มีการเขียนภาพพุทธประวัติที่ คอสองโดยรอบ พ.ศ.2467-2468 ทำดาวติดเพดาน และเขียนลายทองที่เสา พ.ศ. 2511 ซ่อมแซมเล็กน้อย ได้แก่ ปิดลายทองจั่วทั้ง 3 หลัง ติดช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
 
ภายในศาลาการเปรียญเป็นเรือนโล่งแบ่งออกเป็น 3ช่วง ด้วยแนวเสา ด้านทิศเหนือมีอาสนะสงฆ์ กว้าง 1 ห้อง ยาวตั้งแต่ด้านหลังมา 5ห้อง มีพระพุทธรูปตั้งบนฐานบัวกลุ่ม ที่คอสอง และฝ้า ปีกนก แผ่นแรกมีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นเขียนบนไม้ เรื่องพระปฐมสมโพธิกถา เวสสันดรชาดก ภาพป่าเขา ชีวิตสัตว์ในป่า รวม 20ห้อง ภาพเพดานประดับลายดาวล้อมเดือน  เป็นไม้จำหลักพื้นเพดาน และพุ่มข้ามบิณฑ์  ฝ้าปีกนกเป็นพื้นแดงปรุทองลายพุดตานใบเทศ  ขื่อที่ถัดลงมาปรุลายทองลายสังวาลดอกไม้ และสังวาลหน้าเกียรติมุข ภายในศาลาการเปรียญมีโบราณวัตถุหลายอย่าง ได้แก่ ธรรมาสน์เทศน์  ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ลับแลไม้จำหลัก ศิลปะรัตนโกสินทร์ และพระประธาน ปางมารวิชัย เป็นต้น
 
ศาลาท่าน้ำ(ศาลามเหศวร) อยู่ด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตก ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเพชร มีบันไดปูนทางขึ้นจากแม่น้ำ  จากบันทึกของพระอธิการเสี่ยน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน บันทึกว่า ศาลามเหศวรหลังนี้ สร้างขึ้นสมัยพระอธิการดิษ เจ้าอาวาสวัดเกาะองค์ที่ 2 สร้างขึ้นเพื่อถวายเจ้านายต่างกรมพระนาม กรมหมื่นมเหศวร
 
เมื่อสร้างเสร็จจึงตั้งชื่อศาลาตามพระนามว่า ศาลามเหศวร  ศาลาท่าน้ำมเหศวร เป็นศาลายกพื้น หลังคาลด 2 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระหา และหางหงส์ หน้าบันแกะสลักไม้โดยใช้ลายพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นหลัก เรียงสลักซ้ำๆกัน ลวดลายจำหลักหน้าบันศาลาทั้งสองด้านเหมือนกัน รูปทรงศาลางดงามมาก ฝีมือประณีต มีพนักพิงโดยรอบ และพนักพิงเป็นลูกกรงกลึงด้วยไม้ ลักษณะลูกมะหวด ตลอดพนักพิง ตรงช่องระหว่างเสาเว้นเป็นช่องสี่เหลี่ยมทึบเอาไว้สอดช่อง ภายในช่องแกะสลักเป็นรูปดอกพุดตาน ฉลุโปร่ง แล้วล้อมกรอบเป็นช่วงๆ รูปแบบศาลามเหศวรหลังนี้ เป็นแบบของ สกุลช่างเพชรบุรี โดยแท้ และเป็นแบบอย่างให้กับศาลารุ่นหลัง สืบต่อมา
 
พิพิธภัณฑ์วัดเกาะ ทางวัดได้ใช้ เนื้อที่ส่วนหน้าของหมู่กุฏิสงฆ์จัดเป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมโบราณวัตถุ มี 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นชั้นที่สำหรับสอนพระธรรม ให้แก่ผู้ที่สนใจรวมถึงใช้เป็นที่ประชุมกิจของสงฆ์ ชั้นที่สองเป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมของโบราณต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย พระพุทธรูป เครื่องลายคราม เครื่องเบญจรงค์ และเครื่องสังเกต
 
ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงถวายในงาน พระศพเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ยกตัวอย่างเช่น ปิ่นโต ธนบัตรต่างประเทศในสมัยก่อน ชั้นสุดท้ายหรือชั้นบนสุด เป็นที่สำหรับเก็บสมุดข่อย คัมภีร์ใบลาน พระไตรปิกฎ มีตู้สำหรับเก็บพระไตรปิฏก มี อาเขยี่ย สำหรับพระนั่งศึกษาคัมภีร์ในพระไตรปิฏก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นจากการ บริจาคเงินการกุศลจากคนในชุมชน และจากเงินทำบุญของวัดเอง

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดเกาะ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)