หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.สันทราย > ต.หนองแหย่ง > พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง


เชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง

พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง

Rating: 4.1/5 (7 votes)

วันเปิดทำการ: วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.30 
 
พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านร้องเม็ง หมู่ที่ 2  ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภายในวัดร้องเม็งได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นซึ่งนับว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวล้านนา โดยได้รวบรวมสิ่งต่าง ๆ บ่งบอกถึงความเป็นมาของเรื่องราวในอดีต อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจในเรื่องของศิลปะ โบราณวัตถุ ได้เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมชมโดยไม่คิดค่าเข้าชมใด ๆ พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง เปิดให้ชม และศึกษาทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.30 น.
 
ประวัติวัดร้องเม็ง
วัดร้องเม็ง ตั้งอยู่เลขที่ 1(218) บ้านร้องเม็ง หมู่ที่ 2 ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สำกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา น.ส.3 ก เลขที่ 585 อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ 109 เมตรจดที่นาของราษฎรและเหมือง ทิศใต้ประมาณ 79 เมตร จดที่นาของราษฎร  ทิศตะวันออกประมาณ 83 เมตร จดที่นาของราษฎร ทิศตะวันออกประมาณ 117 เมตร จดที่นาของราษฎร เสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาบาตร วิหาร กุฏิสงฆ์ และห้องเก็บพัสดุ ปูชนียวัตถุ พระสิงห์หนึ่ง พระสิงห์สาม พระพุทธรูปทองเหลือง และเจดีย์ 
 
วัดร้องเม็ง สร้างเมื่อ พ.ศ.2350 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2514 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร การหริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ 
1. เจ้าอธิการวงศ์ พ.ศ.2432-2444 
2. เจ้าอธิการหมวก พ.ศ.2445-2455 
3. พระสมคิด พ.ศ.2456-242463 
4. พระอธิการศรีมูล พ.ศ.2464-2475 
5. พระอธิการบุญปั๋น พ.ศ.2476-2486 
6. พระศรีบอ พ.ศ.2487-2491 
7. เจ้าอธิการอรุณ  อรุโณ พ.ศ.2492-2500 
8. พระอธิการบุญปั๋น  อภินนฺโท  พ.ศ.2500-2508 
9. พระอธิการณรงค์ กิตฺติวณฺโณ  พ.ศ.2508-2513 
10. พระครูโกวิทธรรมโสภณ (ศรีผ่อง  โกวิโท) พ.ศ.2514-ปัจจุบัน
 
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ.2477 นอกจากนี้ในวัดยังมีห้องสมุด และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล
 
พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง  ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  ตุลาคม  พ.ศ.  2527  โดยพระครูศรีผ่อง  โกวิโท  (บุญเป็ง)  ในขณะนั้น  ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ ตามราชทินนามที่  พระครูโกวิทธรรมโสภณ  ตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลหนองแหย่ง  อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีความสนใจเป็นพิเศษในการอนุรักษ์  ศาสนวัตถุที่มีคุณค่า แต่ถูกละเลย พระพุทธรูปโบราณ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน  ตลอดจนแบบอย่างแบบพิมพ์ทางศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ  อันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีการสืบทอดมาช้านาน ประกอบด้วยสิ่งของหลายร้อยหลายพันอย่าง ที่สูญหายไปแล้วก็มี และที่ยังพบเห็นอยู่ทั่วไปก็มี
 
พระครูโกวิทธรรมโสภณ เล็งเห็นคุณค่าของเก่า โบราณ หายาก มาตั้งแต่เป็นสามเณร วัตถุโบราณชิ้นแรกสุด ที่ได้รับมาคือ แบบพิมพ์ปั้นอิฐรูปโค้ง  (ปิมปั้นดินกี่)  ที่บ้านของโยมแม่ ซึ่งได้รับการตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นแบบพิมพ์ทำด้วยไม้สัก มีอายุกว่า  100  ปี  มาเก็บรักษาไว้ที่วัด ถือเป็นวัตถุเก่าเก็บชิ้นแรกของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ทำให้พระคุณเจ้าเริ่มคิดถึงสิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ  ที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นมาเพื่อประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัว ว่ามีความสำคัญมาก น่าจะอนุรักษ์สิ่งของเหล่านี้ไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไปได้เห็น ได้สัมผัส และรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อน
 
เพียงก้าวแรก ที่หันมาสนใจอนุรักษ์ของเก่า ประเภทเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วนำของชิ้นแรก  ปิมดินกี่  รูปโค้งสำหรับก่ออิฐสร้างบ่อน้ำ มาวางไว้ที่โต๊ะหน้ากุฏิ พร้อมกับเห็นอะไรเก่า ๆ เช่น ถ้วย ชาม กระเบื้อง ฯลฯ  ก็นำมาวาง ๆ ไว้ รวมกันประมาณ  100  ชิ้น ศรัทธาชาวบ้านใกล้เคียง ที่มาพบเห็นเข้าก็เริ่มสนใจ สอบถามถึงความเป็นมา ที่ไปที่มา และวัตถุประสงค์ของการเก็บรักษา สิ่งของบางอย่างคนรุ่นใหม่เห็นแล้วยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร ก็สอบถามถึงประโยชน์ที่ใช้
 
ทำให้พระครูโกวิทธรรมโสภณ ต้องอธิบายขยายความเป็นราย ๆ ไป จนกระทั่งศรัทธาประชาชนในหมู่บ้าน – ตำบลใกล้เคียง ต่างทราบวัตถุประสงค์ ก็นำวัตถุโบราณ สิ่งของเครื่องใช้เก่า ๆ พระพุทธรูปเก่า มาถวายไว้เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ ของวัดมากขึ้น นับรวมแล้วมีประมาณ  1,000  ชิ้น คณะกรรมการวัดเริ่มเห็นว่าสถานที่เก็บรักษาคับแคบ จึงได้ขยายตู้เก็บเข้าไว้ในกุฏิถึง  3  ห้อง แต่ก็ไม่สะดวกสำหรับศรัทธาประชาชนที่ จะเข้าชม เพราะคับแคบมาก
 
ต่อมา พระครูโกวิทธรรมโสภณ ได้ก่อสร้างอาคารหลังปัจจุบันขึ้น แล้วนำวัตถุโบราณพื้นบ้าน เครื่องใช้ไม้สอย ของใช้ในพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดเข้าไว้ในอาคารใหม่เป็นสัดส่วน เรื่องนี้ได้ทราบไปถึงศรัทธาญาติโยม ต่างหมู่บ้าน  ตำบล อำเภอ และต่างจังหวัด ก็นำของมาบริจาคอยู่เนือง ๆ ปัจจุบันรวมแล้วมีโบราณวัตถุและศิลปวัตถุพื้นบ้านกว่า  4,000  ชิ้น
 
โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุทั้งมวลนี้ ล้วนแต่ได้มาด้วยการบริจาค หรือให้ถวายไว้กับวัด เพื่อส่วนรวมในพิพิธภัณฑ์ของวัด โดยมิได้ซื้อหามาแต่อย่างใด เหตุผลหนึ่งของพระครูโกวิทธรรมโสภณ ที่ไม่ต้องการซื้อ เพราะหากซื้อด้วยเงิน ก็จะมีการปั่นราคา เก็งราคา (กำไร)  กันวุ่นวายไปหมด จึงสุดแท้แต่ว่าใครจะบริจาค เมื่อบริจาคเข้ามาก็ได้จัดทำบัญชีไว้ เก็บสิ่งของต่าง ๆ  ไว้อย่างดี ตามหลักวิชาการอนุรักษ์ทางโบราณคดี เมื่อมีศรัทธาประชาชนมาเยี่ยมชมมากขึ้น ได้พบเห็นการเก็บรักษาของเก่าแก่โบราณเอาไว้เป็นอย่างดี ก็มีความไว้วางใจถวายสิ่งของให้เสมอมา
 
อาคารพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง จึงเต็มไปด้วยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ของใช้เก่าแก่มากมาย ส่วนผนังของอาคารทั้งสี่ด้าน พระครูโกวิทธรรมโสภณก็ได้ให้ช่างฝีมือดี  (นายเจริญ มานิตย์)  ชาวอำเภอสันทราย เป็นผู้เขียนภาพเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวล้านนาในอดีต เช่นภาพแอ่วสาวตำข้าว ภาพแอ่วสาวปั่นฝ้าย ภาพหมู่บ้านชนบทในอดีต ภาพงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ขบวนล้อเกวียน การคมนาคมในอดีต เป็นต้น ภาพเหล่านี้ล้วนแต่เกิดจากจินตนาการของพระคุณเจ้าเอง ที่นึกย้อนหลังไปในอดีตเมื่อ  40 - 50 ปีก่อน ว่าหมู่บ้านเป็นอย่างไร ผู้คนอยู่กินผูกพันสัญจรไปมาหาสู่กันอย่างไร
 
ผู้ที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง ที่ได้พบเห็นภาพดังกล่าวแล้ว ต่างย้อนรำลึกนึกถึงอดีตของตน ของถิ่นฐานบ้านเรือนในสมัยเก่าก่อน และมนต์ขลังของภาพวาดจากจิตรกรฝีมือดีคนนี้ เหมือนมีจิตวิญญาณของบรรพบุรุษฝังอยู่ มองแล้วมีความอ่อนช้อย เงียบสงบ ร่มเย็น เห็นไปถึงความสุขสมบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร วิถีการครองเรือน การทำมาหากิน ความสุขสามัคคี และความประณีตในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวด ภาพเหล่านี้แม้จะเขียนขึ้นมาใหม่ แต่มีคุณค่ามากที่สามารถเก็บเอารายละเอียดของอดีตไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ แม้แต่นิตยสาร วารสาร สื่อมวลชนต่าง ๆ ก็ได้นำเป็นภาพขึ้นปก และเผยแพร่ไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
 
พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง ถือเป็นสมบัติของทุกคน ที่ฝากเอาไว้กับวัดร้องเม็ง อันมีเจ้าอาวาส พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาประชาชนทุกคน ได้ร่วมกันรักษา และหวงแหน เพื่อให้เป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถเข้าเยี่ยมชม ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ ค้นหาอดีตและการรำลึกถึงสิ่งที่สูญหายไปแล้ว แต่ยังเหลืออยู่ที่นี่เท่านั้น ที่เป็นสมบัติของชุมชน ซึ่งทุกคนสามารถเดินผ่านประตูเข้าชมได้โดยไม่คิดค่าชมใด ๆ
 
พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง เปิดให้ชม และศึกษาทุกวัน ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา  08.00 น. ถึง  07.30 น.  ชมฟรี มีผู้ที่สนใจเดินทางมาเยี่ยมชมทุกวัน ทั้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป รวมถึงนักท่องเที่ยว นักการศึกษาชาวต่างประเทศก็มาเยี่ยมชม
 
พระครูโกวิทธรรมโสภณ ขอขอบคุณอนุโมทนาทุกท่าน ที่นำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านเก่าแก่ ของโบราณทั้งมวล มาบริจาคไว้ และขอขอบคุณผู้สนใจ ที่เข้าเยี่ยมชม ซึ่งคงจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย ทั้งการศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปศึกษา ภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา ตลอดถึงความเพลิดเพลิน ในเชิงเปรียบเทียบอดีต – ปัจจุบัน
 
นอกจากนั้น ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกสาขา ทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ จากส่วนกลาง ท้องถิ่น นิตยสาร วารสารทางวิชาการ ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ที่ได้นำเอาผลงานพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง วิถีแห่งชาวบ้านจริงออกไปเผยแพร่ต่อประชาชนในวงกว้างต่อไป
 
วัตถุประสงค์การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง 
ปณิธานของพระครูโกวิทธรรมโสภณ นับตั้งแต่ริเริ่มเก็บของเก่า รักษาของที่รับบริจาคจนกระทั่งได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ คือ การทำหน้าที่เสมือนภัณฑารักษ์ ที่ได้รับมอบหมายจากบรรพบุรุษ และศรัทธาประชาชน ให้เป็นผู้ดูแลรักษาวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุทั้งหลายเอาไว้อย่างดี เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นได้สัมผัสได้ศึกษา โดยไม่ถือว่าเป็นสมบัติของตนเองแต่อย่างใด แม้จะละสังขารสิ้นอายุขัยไปในวันข้างหน้า ก็ยังเป็นพิพิธภัณฑ์ของส่วนรวมไปตลอด อย่างไรก็ดี เป้าหมายหลักของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์นี้มี  4  ประการคือ
 
1. เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัตถุ และโบราณวัตถุไว้ไม่ให้สูญหาย
 
2. เพื่อสะสมของเก่าไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็น ได้รู้จัก ได้ศึกษาค้นคว้า
 
3. เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น
 
4. เพื่อสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนาไทย ให้เป็นมรดกตกทอดไว้ชั่วลูกชั่วหลาน
 

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พิพิธภัณฑ์ กลุ่ม: พิพิธภัณฑ์

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)