หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.เมืองเชียงใหม่ > ต.ศรีภูมิ > ข้าวแต๋น ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ


เชียงใหม่

ข้าวแต๋น ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ

ข้าวแต๋น ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ

Rating: 2.7/5 (3 votes)

ข้าวแต๋น ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ เป็นขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนำมากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย
 
ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ถือว่าเป็นขนมกินเล่น ขนมโบราณ ที่ใช้วิธีการทำแบบแปรรูปจากข้าวมาเป็นขนม โดยสามารถเก็บได้นาน จะใช้ข้าวเหนียวเก่ามาทำ เน้นว่าต้องใช้ข้าวเหนียวเก่าเท่านั้น เพราะจะทำให้ข้าวเวลาทอดนั้นจะพอง กรอบนาน น่ารับประทาน
 
ข้าวแต๋น ขนมไทย อาหารสูตรดั้งเดิมของคนในภาคเหนือที่มีข้าวเหนียวนึ่งเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งเป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือที่ภาคอื่น ๆ รู้จักคุ้นเคยไม่ว่าจะเป็นของกินสำหรับต้อนรับแขกผู้มาเยือน และเป็นขนมที่สำคัญในงานทำบุญใหญ่ หรือเรียกว่า บุญหลวงล้านนา(ในวันพระสำคัญทางพระพุทธศาสนา) หรือของฝากประทับใจคนรับอันมีชื่อเสียงมาช้านาน และเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนั้นข้าวแต๋นนั้นยังถือเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ชาวบ้านเกษตรกรชุมชน จากฝีมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไม่หยุดยั้ง เช่น เป็นข้าวแต๋นสีต่าง ๆ หลากหลายสี โดยใช้วิธีการประยุกต์จากทั้งสีขาวข้าวเหนียวเปล่า สีแดงจากน้ำแตงโม หรือสีเขียวจากใบเตย อีกอย่างหนึ่งนอกจากนั้นก็จะเป็นรสชาติ เช่น เป็นข้าวแต๋นน้ำแตงโม ข้าวแต๋นธัญพืช หรือข้างแต๋นหน้าหมูหยอง หน้าน้ำพริกเผา ฯลฯ เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศไทย เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือที่เป็นทั้งของกิน และของฝาก  ปัจจุบันกำลังก้าวไกลไปสู่ตลาดโลกสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างคาดไม่ถึง
 
ข้าวแต๋น ขนมไทย อาหารว่างภาคเหนือ เกิดขึ้นจากความบังเอิญในการเก็บข้าวเหนียวนึ่งที่เหลือจากการกินในแต่ละวันแต่ละครั้งของชาวบ้าน ที่นำมาตากแห้งแล้วทอดด้วยน้ำมันเก็บไว้รับประทานนาน ๆ แต่คนล้านนาซึ่งมีชาวนาเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ได้ทำนามาด้วยความยากลำบากจึงรู้คุณค่าของข้าวมากกว่าคนในอาชีพอื่น ดังนั้นชาวนาจะไม่กินข้าวทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ โดยจะนึ่งข้าวให้พอดีกับการกินในแต่ละวัน ถ้ามีข้าวเหลือก็จะนำมาอุ่นในวันต่อไป
 
โดยข้าวที่เหลือจึงไม่มากพอที่จะคิดนำไปแปรรูปเป็นข้าวแต๋นได้ แต่ที่วัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำบุญสำคัญทางศาสนาชาวบ้านที่ศรัทธานำข้าวปลาอาหารไปถวายพระจำนวนมากทำให้มีข้าวเหลือกิน และเกิดความเสียดายกลัวข้าวจะเสีย จึงได้นำไปตากแห้งเก็บไว้จนเกิดความคิดในการแปรรูปนำไปทอดในน้ำมันกลายเป็นข้าวแต๋นจนถึงปัจจุบันก็เป็นได้ แต่อีกทางหนึ่งมีผู้กล่าวไว้ว่าการทำข้าวแต๋นเป็นวิธีถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ ของชาวบ้านท้องถิ่น และเพื่อการนำติดตัวไปเมื่อต้องเดินทางไกลหรือไปทำศึกสงครามในสมัยโบราณ และต้องไปหลายวันหรือหลายเดือนเพราะอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญของสงคราม เป็นต้น
 
ส่วนผสม
- ข้าวเหนียวดิบ 2 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทรายไม่ขัดสี หรือน้ำตาลอ้อยธรรมชาติ 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือสมุทรป่น 1 ช้อนชา 
- น้ำแตงโมล้วนๆ 2/3 ถ้วยตวง
 
ส่วนผสม น้ำตาลเคี่ยว
- น้ำตาลอ้อยธรรมชาติ  1 1/2 ถ้วย
- น้ำตาลปี๊บ 1 1/2 ถ้วย
- น้ำเปล่า 3 ช้อนโต๊ะ
 
วิธีทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม (สูตรอาหารเหนือ)
1. ขั้นแรกทำแผ่นข้าวแต๋นโดยผสมเกลือกับน้ำตาลทรายลงไปในน้ำแตงโม คนผสมจนละลาย จากนั้นเทน้ำแตงโมลงไปในชามข้าวเหนียว คลุกเคล้าให้ทั่ว ใส่กะทิลงไป พักให้ข้าวดูดน้ำประมาณ 2-3 นาที จากนั้นใส่งาดำลงไป
 
2. จากนั้นนำพิมพ์จุ่มน้ำ ตักข้าวเหนียวใส่ลงไป กดให้เสมอกัน ไม่ต้องกดแน่นมากนะคะ แค่พอจับตัวกันไม่ให้หลุด จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 1 วัน
 
3. จากนั้นพอแห้งดีแล้วนำไปทอดด้วยไฟแรงจ้า พอข้าวแต๋นพองสุกเหลืองแล้วรีบตักขึ้นเลย แล้วพักให้สะเด็ดน้ำมัน
 
4. ขั้นตอนสุดท้ายทำน้ำตาลราดโดยใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไปในหม้อ จากนั้นตามด้วยน้ำตาลทรายแดงกับเกลือป่น แล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อย ต้มด้วยไฟอ่อนจนน้ำตาลละลาย จากนั้นตักน้ำตาลราดบนขนม พักจนน้ำตาลเซตตัวก็พร้อมรับประทาน
 
ขนมไทยภาคเหนือ ขนมโบราณ นั้นมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ จะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ โดยวิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน และสีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง ข้าวแต๋นนับเป็นอาหารเหนืออร่อยๆ ที่ใครได้ชิมเป็นต้องติดใจ

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ กลุ่ม: ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ

ปรับปรุงล่าสุด : 7 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)