หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.ฮอด > ต.ฮอด > ผาวิ่งชู้


เชียงใหม่

ผาวิ่งชู้

ผาวิ่งชู้

Rating: 3.7/5 (9 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ผาวิ่งชู้ เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ภูเขา ดอย ตั้งอยู่ที่บ้านดงดำ ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ การเข้าถึงสามารถใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด เมื่อถึงฮอดแล้วให้ตรงไปเส้นทางฮอด-นาลุง ซึ่งจะผ่านบ้านฮอดหลวง บ้านดงดำ โดยเมื่อเลยบ้านฮอดหลวงมาประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้าย ข้ามสะพานแล้วถึงบ้านดงดำ เมื่อเลยบ้านดงดำไป 1 กิโลเมตร
 
จะมีทางแยกซ้ายตรงเข้าสู่จุดชมวิวผาวิ่งชู้ หรือจะใช้เส้นทางฮอด-ดอยเต่า สาย 1103 ออกจากฮอดไปประมาณสิบห้ากิโลเมตร หรือเลยกิโลเมตรที่ 53 เล็กน้อยจะมีทางแยกขวาเข้า ไปบ้านดงดำ วิ่งไป 3 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนกรวด วิ่งไปประมาณ 1 กิโลเมตร
 
จะถึงจุดชมวิวผาวิ่งชู้ ด้านนี้เป็นด้านที่อยู่บนสันของหน้าผาผาวิ่งชู้ ซึ่งจะมองเห็นแท่งหินสวยงาม แต่ถ้าประสงค์จะดูด้านที่เป็นหน้าผา ซึ่งสามารถเห็นรอยเลื่อนได้ ให้ใช้เส้นทางฮอด-นาลุง โดยพอถึงบ้านฮอดหลวงให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางเล็ก ๆ ที่มีอยู่มากมาย พยายามยึดเส้นทางเข้าหาริมแม่น้ำปิงเข้าไว้จะไปถึงหน้าผาได้
 
ลักษณะของแหล่ง ผาวิ่งชู้มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน เมื่อหันหน้าไปตามทิศทางน้ำไหล หรือทางทิศใต้จะอยู่ทางด้านริมฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง หน้าผามีความยาว 250 เมตร และมีความสูง 25 เมตร วางตัวเอียงเทลาดลงไปในทิศตะวันตก
 
ในขณะที่ริมฝั่งด้านขวาเป็นพื้นที่ราบ จุดที่สวยงามและมีชื่อเสียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่บนหน้าผา เมื่อมองจากจุดชมวิว จะเห็นเป็นแท่งเสาหินยอดแหลมตั้งตรงตระหง่านขึ้นจากพื้น บางเสามีมวลหินรูปร่างแปลก ๆ วางอยู่บนยอด เบื้องหลังเป็นพื้นที่ราบริมฝั่งน้ำปิงกว้างไกลและแลเห็นเทือกเขาดอยปุยหลวงอยู่ลิบ ๆ
 
ธรณีวิทยาผาวิ่งชู้ ภูมิประเทศของผาวิ่งชู้ เป็นลักษณะของธรณีสัณฐาน (Geomorphology) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่ (Weathering) การกร่อน (Erosion) และการยกตัวของรอยเลื่อนปกติ (Normal fault) โดยรอยเลื่อนวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก รอยเลื่อนเอียงเทไปทางทิศเหนือ มวลหินด้านเหนือของแนวรอยเลื่อน เลื่อนตัวลง
 
ในขณะที่มวลหินทางด้านใต้ของแนวรอยเลื่อนเลื่อนตัวขึ้น จนทำให้เกิดตะพัก (Terrace) เกิดการกร่อนในภายหลังทำให้ริมฝั่งด้านผาวิ่งชู้มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ในขณะที่ตะพักฝั่งตรงข้ามหน้าผาเป็นที่ราบ หินที่ประกอบกันเป็นหน้าผาประกอบด้วย ชั้นหินทรายแป้ง (Siltstone) หินทราย (Sandstone) และหินกรวดมน (Conglomerate) แทรกสลับกัน
 
หินส่วนล่างมีการประสานตัวของตะกอนดีกว่าส่วนบนซึ่งยังไม่แข็งตัว ชั้นหินมีอายุยุคเทอร์เชียรี (65-1.8 ล้านปี) และ ควอเทอร์นารี (1.8 ล้านปี-ปัจจุบัน) ตามลำดับ การวางตัวของชั้นหินสองอายุเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง เห็นได้จากรอยชั้นไม่ต่อเนื่องเชิงมุม (Angular unconformity) ซึ่งพบได้จากชั้นหินชุดอายุแก่วางเอียงตัวทำมุมกับชั้นหินชุดอายุอ่อนที่วางตัวตามแนวราบปิดทับข้างบน
 
ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า เมื่อชั้นหินอายุแก่สะสมตัวเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเปลือกโลก ทำให้ชั้นหินเอียงตัว เกิดการกร่อน และสุดท้ายจึงเกิดยุบตัวเป็นแอ่งแล้วหินอายุอ่อนสะสมตัวบนชั้นหินอายุแก่กว่าอีกครั้งหนึ่ง
 
โดยเหตุที่ผาวิ่งชู้ประกอบด้วย ชั้นหินซึ่งมีทั้งที่ยังไม่แข็งตัว กับส่วนที่แข็งตัวแล้ว แต่เนื้อหินมีการประสานตัวไม่ดีนัก ประกอบกับการมีสภาพเป็นพื้นที่สูง ดังนั้นธรรมชาติ โดยลม ฝน น้ำ ได้กัดเซาะให้ตะกอนที่จับตัวเป็นหินหลุดแยกออกจากกัน โดยเฉพาะแนวหน้าผา
 
ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการเปรียบเทียบตำแหน่งของรั้วจากรั้วเดิมที่สร้างไว้กันตก กับรั้วที่สร้างใหม่ที่จุดชมวิว รั้วที่สร้างขึ้นใหม่ต้องถอยร่นห่างจากหน้าผาออกมาเรื่อย ๆ เพราะหินเดิมที่ริมหน้าผาทรุดตัว พังทะลายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนจัดการใด ๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่จึงควรต้องมีการศึกษาอัตราการกัดเซาะของหน้าผาในแต่ละปี เพื่อคำนวณว่าควรจะปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างได้ใกล้หรือไกลหน้าผาเพียงใด

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า หมวดหมู่: ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

ดอย และภูเขา กลุ่ม: ดอย และภูเขา

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่ผาวิ่งชู้

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)