หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.สารภี > ต.หนองผึ้ง > วัดพระนอนหนองผึ้ง


เชียงใหม่

วัดพระนอนหนองผึ้ง

วัดพระนอนหนองผึ้ง

Rating: 2.4/5 (25 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน 
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดพระนอนหนองผึ้ง วัดในเชียงใหม่ เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สร้างมานานหลายร้อยปี เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ วัดตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 6 ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ท้องที่ 205 หมู่ 4 บ้านหนองผึ้ง ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อาณาเขตมีเนือ้ที่ 9 ไร่ 3 งาน 56 วา ทิศเหนือติดบ้านราษฎร ทิศใต้ติดทุ่งนา ทิศตะวันออกติดบ้านราษฎร ทิศตะวันตกติดทุ่งนา และบ้านราษฎร
 
ประวัติวัดตามตำนานกล่าวว่าในอดีตกาลเป็นที่อยู่ทำกินของชนเผ่าลัวะ ซึ่งเป็นคนไทยเผ่าหนึ่ง กาลต่อมาประมาณศตวรรษที่ 13 พระฤาษี 4 คน มีสุเทวฤษีนั้นเป็นหัวหน้า ได้สร้างนครหริภุญชัย แล้วก็ได้อัญเชิญพระธิดาท้าวรามราชเมืองลวบุรี ซึ่งเป็นหน่อเนื้อกษัตริย์มีพระนามว่า พระนางจามเทวีพร้อมด้วยพระสงฆ์ และสมณะชีพราหมณ์ ข้าทาสบริวารหญิงชายทั้งปวงเสด็จมาครองเมือง พระนางจามเทวีมีความศรัทธาปะสาทะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก
 
ต่อมามีพระเถระ 5 รูป ได้จาริกประกาศศาสนา และได้ประกาศพระรัตนตรัย มาถึงหมู่บ้านพวกลัวะ จนพวกลัวะมีความศรัทธาเลื่อมใส และมีลัวะผู้หนึ่งได้มีจิตศรัทธาได้ปีนขึ้นไปเอารังผึ้งมาถวายพระเถระ 5 รูป และพวกลัวะยังได้สร้างเจดีย์ซึ่งบรรจุพระธาตุและใส่ไว้ในพระอบทองคำใหญ่ เสร็จแล้วได้ขนานนามว่า "วัดหนองผึ้ง"
 
ต่อมาพระเถระเจ้าก็ได้อยู่ปฏิบัติกิจพระศาสนาให้รุ่งเรืองในหมู่ชนชาวลัวะจนหมดอายุขัย และมีผู้สืบต่อมาเรื่อยๆ พวกลัวะก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ที่อื่น วัดหนองผึ้งจึงร้างไป ปี 1838 พระเจ้ามังรายได้ตีนครหริภุญชัย ซึ่งอยู่ระหว่างต.หนองผึ้ง และต.ท่าวังตาล ปี 1838 ได้มีพระเถระเจ้าและเศรษฐีมาอยู่อาศัยใกล้วัดหนองผึ้งได้ค้นพบเจดีย์เก่าพระเถระ และเศรษฐีได้บูรณะ ก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้านอนองค์หนึ่งยาว 19 เมตร และตั้งนามวัดว่า "วัดพระพุทธบ้านปิงพระนอนหนองผึ้ง"
 
วัดพระนอนหนองผึ้ง เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุอยู่ในพระเจดีย์)
 
วัดพระนอนหนองผึ้ง แต่ดั้งเดิมเป็นวัดในสมัยเวียงกุมกาม-เชียงใหม่ หรือบางทีอาจจะมีสภาพเป็นวัดที่ตั้งเดิมอยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย เช่นเดียวกับหลายๆ วัดในเขตเวียงกุมกาม โดยเฉพาะวัดที่พบหลักฐานโบราณวัตถุประเภทพระพิมพ์แบบต่างๆ ภายในเขตบริเวณวัดนี้ ได้รับการดูแลซ่อมเสริมกันเรื่อยมาดังเช่น องค์พระบรมธาตุเจดีย์ และอาคารประกอบแวดล้อมอื่นๆ อันเป็นผลงานการซ่อมสร้างเมื่อไม่นานมานี้
 
โดยเฉพาะองค์พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ ถือเป็นหลักฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ของเวียงกุมกาม ที่ปรากฏหลักฐานเหลืออยู่เพียงองค์เดียวและเรียกขานกันในท้องถิ่นว่า พระนอนป้านปิง อันมีความหมายโดยนัยว่าเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่สร้างขวางต้านลำแม่น้ำปิงใน อดีต (ปิงห่าง-ที่ไหลผ่านมาหน้าวัดทางด้านตะวันออก ตามแนวถนนต้นยาง) เพื่อป้องกันน้ำไหลบ่าเข้ามาท่วมชุมชน
 
พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระนอนหนองผึ้ง ตั้งอยู่ระหว่างวิหารพระนอน และอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ขนาดเล็กทรงระฆังที่ได้รับการซ่อมปฏิสังขรณ์เมื่อไม่นานมา นี้ ส่วนฐานเป็นแบบเขียงตอนล่าง เหนือขึ้นมาเป็นชั้นปัทม์ย่อเก็จรองรับส่วนมาลัยเถาแบบย่อเก็จแปลง องค์ระฆังขนาดเล็กค่อนข้างใหญ่ ไม่มีส่วนบัลลังก์ ปล้องไฉนทรงกรวยคว่ำแต่ละปล้องต้องมีขนาดใหญ่ ต่อเหนือขึ้นไปด้วยชั้นบัวกลุ่มแบบพม่า และส่วนปลียอดประดับฉัตรโลหะ
 
อุโบสถ วัดพระนอนหนองผึ้ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาหน้าจั่วมีปีกนก 2 ข้างสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหน้ามีสิงห์ปูนปั้นอยู่ 1 คู่ ส่วนซุ้มโขงประตูทางเข้าปรากฏลวดลายปูนปั้นในศิลปะพม่า ที่ได้รับการซ่อมแซมบูรณะในระยะเวลาใกล้เคียงกับสิ่งก่อสร้าง ที่มีอิทธิพลพม่าระยะรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ดังเช่นที่พบในสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของวัดช้างค้ำ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดศรีบุญเรือง วัดสันป่าเลียง และวัดเสาหิน
 
วิหาร วัดพระนอนหนองผึ้ง ตั้งห่างออกไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างหันหน้าไปทางตะวันออก มีรูปทรงโครงสร้างอิทธิพลศิลปะจากภาคกลาง ที่มีส่วนจั่วหลังคาฐานกว้าง ทำตัวบันไดรูปมกรคายนาคปูนปั้นปิดทองและเขียนสี คล้ายกับที่พบในเขตเมืองเชียงใหม่ทั่วๆไป มีตัวอย่างสวยงามที่เป็นนาคบันไดของวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง (สร้างขึ้นใหม่ในสมัยเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ เมื่อราว 100 กว่าปีที่ผ่านมา) 

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดพระนอนหนองผึ้ง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)