หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.แพร่ > อ.เมืองแพร่ > ต.ในเวียง > วัดศรีชุม


แพร่

วัดศรีชุม

วัดศรีชุม

Rating: 3.8/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดศรีชุม แต่เดิมนั้นคงเป็นไม้สักที่มีความร่มเย็น และอุดมสมบูรณ์ มีฤๅษีจำนวน 5 ตน บำเพ็ญตบะ อยู่ที่แห่งนี้ ฤๅษีได้ใช้ความรู้ด้านยาสมุนไพรช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วย โดยไม่หวังผลตอบแทนต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนชาวเมืองได้
 
ตั้งบ้านเรือนเยอะขึ้นทำให้บริเวณแห่งนี้ไม่เหมาะกับการบำเพ็ญสมาธิ ภาวนา จึงได้ย้ายที่บำเพ็ญในสถานที่แห่งใหม่ ในสมัยขุนหลวงพล เจ้าผู้ครองนครแพร่ได้สร้างวัดและเจดีย์ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ทรงโปรดให้ชื่อว่า “วัดฤๅษีชุม” กล่าวว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากเจดีย์ห่มด้วยทองคำ และ มีความยิ่งใหญ่ประชากรอยู่เย็นเป็นสุขกาลเวลาต่อมากองทัพ พม่ายึดอาณา จักรล้านนาแล้วยกทัพบุกเมืองแพร่ซึ่งเป็นเมืองประเทศ ราชได้ทำลายวัดและ ได้ลอกเอาทองคำกลับไปทำให้วัดศรีชุมกลายเป็นวัดร้าง
 
จากการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทราบว่าวัดศรีชุม สร้างเมื่อ พ.ศ.1322 (จุลศักราช 687) โดยอุปราชเมืองสุโขทัย ซึ่งเสด็จมาสร้างเจดีย์ช่อแพร(พระธาตุช่อแฮ) ตอนที่ทรงมาพำนัก ที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่(สมัยเจ้าเทพวงศ์หรือเจ้าหลวงลื้นทอง) และทรงเห็นทำเลทิศตะวันตกของคุ้มมีซากเจดีย์เก่า
 
สถานที่ร่มรื่นเหมาะที่ที่จะสร้างพุทธสถานให้คณะสงฆ์บำเพ็ญวิปัสสนาจึงพร้อม ใจกันกับเจ้าเมืองแพร่บูรณะวัดขึ้นตามลักษณะวัดสมัย สุโขทัย ในครั้งนั้นได้ บูรณะเจดีย์สร้างพระวิหาร พระยืนกำแพงวัดด้านหน้าซึ่งเป็นรูปปั้นรูปเทพนมสลับ กับแจกันดอกไม้ปั้นรูปฤาษีบำเพ็ญตบะไว้ด้านหน้าประตูทางเข้าและบนจั่วหน้าวิหาร  โดยใช้ช่างฝีมือดีจากเมืองพางคำหรือเมืองเชียงแสน และขนานนามว่า “วัดศรีชุม”
 
มีงานฉลองสมโภชวัด 7 วัน 7 คืน พร้อมทั้งโรงทาน ไว้สี่มุมเมืองและมีเจ้าผู้ครอง นครสุโขทัยและเมืองเชียงแสนนำพระพุทธรูป สำริดมาถวายซึ่งได้แก่พระพุทธรูป ทองสำริด สมัยสุโขทัยผสมล้านนาปางมารวิชัย และพระพุทธรุปทองสำริดสมัย เชียงแสน ปางมารวิชัย ในอดีตวัดศรีชุมเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากในด้านการศึกษาวิปัสสนาธุระและคันถธุระ เนื่องมากจากครูบาอุตมา อตีดเจ้าอาวาสก็เป็นผู้ที่เคร่งครัดด้านธรรมวินัย
 
และมีความสามารถด้านการศึกษาทั่วไปอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่าจากพระอัจฉริยะแห่งล้านนา คือ ครูบากัญจนาอรัญวาสีมหาเถระ หรือครูมามหาเถร ยังมาอุปสมบทและศึกษาเล่า เรียนที่วัดแห่งนี้ วัดศรีชุมนับว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางศาสนาและสังคมเพราะแต่เดิม การถวายสลากภัตรถือว่าเป็นธรรมเนียมว่าวัดในเมืองแพร่ต้องให้วัดศรีชุมเป็นวัดที่ถวาย
 
ก่อนการกระทำที่นี่และชาวบ้านจะนิยมนำบุตรหลานมาบวชเรียนด้วยถือว่าเป็นวัดแห่งแรก ในเขตอำเภอเมืองที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาพระเจดีย์ เป็นศิลปะแบบล้านนา สร้างประมาณ พุทธศตวรรษที่ 20 มีลักษณะทรงปราสาท ยอดทรงระฆัง มีฐานย่อมุม 28 มุม กล้างด้านละ 4 วา ด้านบนมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืนซึ่งปัจจุบันชำรุด พระเจดีย์นี้กรมศิลปากรได้จดทะเบียนเป็นโบราณวัตถุของกรมศิลปากรตามประกาศใน หนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 93 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2522ลงวันที่ 24 มกราคม 2548

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 5 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดศรีชุม

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(4)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(2)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(2)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(31)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(6)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(14)

น้ำตก น้ำตก(6)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(5)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(5)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(5)