หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.พะเยา > อ.เมืองพะเยา > ต.เวียง > หอวัฒนธรรมนิทัศน์


พะเยา

หอวัฒนธรรมนิทัศน์

หอวัฒนธรรมนิทัศน์

Rating: 4/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: วันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 16.00 น.
 
หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ เป็นสถานที่จัดแสดงงานด้านวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา โดยมีสโลแกนว่า “มาที่เดียว เที่ยวได้ทั้งจังหวัด”

หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ นี้เป็นสถานที่ของวัด โดยมีพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นผู้ให้กำเนิด และเป็นผู้อำนวยการ จัดสร้างและเปิดทำการเมือวันที่ 18 มกราคม 2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเปิดงานอย่างเป็นทางการ
1. ห้องกว๊านพะเยา  เป็นห้องที่จัดแสดงประวัติกว๊านพะเยา เริ่มตั้งแต่ประวัติที่เป็นนิทานปรัมปรา กว๊านพะเยาในอดีต ตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2482 และหลังปีพ.ศ.2484 รวมถึงวิถีชีวิตการประมงในเมืองพะเยา

2. ลานศิลาจารึก    เมื่อเดินออกจากห้องกว๊านพะเยาแล้วจะเข้าสู่บริเวณ ‘ลานศิลาจารึก’ สิ่งที่จะเห็นได้ชัดในมุมนี้คือ หลวงพ่อพุทธเศียร เศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ใสมัยพุทธศตวรรษที่ 20-21 ได้ค้นพบที่วัดสบร่องขุย
 
วัดร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สาบานของพ่อขุนงำเมือง พ่อขุนมังราย และพ่อขุนรามคำแหง(พระร่วง) เมื่อปีพ.ศ.1830 หลวงพ่่อพุทธเศียร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุดตามแบบศิลปะสกุลช่างพะเยาในยุคต้นที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย นอกจากนีัยังมีหลักศิลาจารึก
 
ส่วนใหญ่เป็นหลักศิลาจารึกหินทรายในช่วงศตวรรษที่ 20-22 (พ.ศ.1900-2200) ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่สามารถนำมาผูกโยงถึงระยะเวลา และเหตุการณ์ทางประวัติศาตร์อย่างชัดเจนจากการค้นพบหลักศิลาจารึกทั้งหมด 117 หลักและมากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ

3. พะเยาก่อนประวัติศาสตร์  เป็นส่วนจัดแสดงเรื่องเมืองพะเยาก่อนประวัติศาตร์ซึ่งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร มีการจัดแสดงวัตถุโบราณในยุคหิน อันได้แก่เครื่องมือตั้งแต่ยุคหินกระเทาะจนถึงยุคหินขัด เช่น มีด หอก ขวาน ฯลฯ สันนิษฐานว่ามีอายุกว่า2,500-7,000 ปี ทั้งหมดจัดแสดงในห้องที่จำลองบรรยากาศคล้ายเมืองโบราณ

4. พะเยายุคต้น   เน้นการเผยแพร่ประวัติพะเยาในแคว้นล้านนา หลังพระยามังรายยึดเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) และเขลางค์ (ลำปาง) พระองค์ได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ.1839 ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแคว้นล้านนา และการแสดงสถานการณ์จำลองเมื่อครั้งพระยามังรายตัดสินคดีที่พระร่วงปลอมเป็นพระยางำเมืองไปหาพระมเหสีของพระยางำเมือง

5. พะเยายุครุ่งเรือง  เป็นห้องอลังการที่สุด (ทางพระพุทธศาสนา) ในบรรดาห้องทั้งหมดของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ เนื่องจากมีการจัดแสดงศิลปะและวัตถุโบราณในยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ความงดงามของห้องนี้อยู่ที่พระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์ที่แตกต่างกัน 5 องค์ คือ หลวงพ่อสุโข พระเจ้าขี้อาย พระหินทรายทรงเครื่อง พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ และสุดท้าย พระพุทธรูปหินทราย ศิลปะพะเยา นอกจากนี้ก็มี ปฎิมากรรมหินทรายเมืองพะเยา พระเครื่อง และเครื่องใช้สัมฤทธิ์ต่างๆมากมาย

6. เครื่องปันดินเผาเมืองพะเยา  เครื่องปั้นดินเผาเปนอีกสิ่งหนึ่งที่ขุดพบเป็นจำนวนมากในเมืองพะเยา ไม่ว่าบรรดาจาน ชาม ถ้วย หรือไห ที่ถูกค้นพบมากที่สุด หนึ่งในจำนวนเหล่านั้น คือ ไหปูรณคตะ ซึ่งเป็นไหที่ใช้บูชาหน้าพระ ถือว่าเป็นไหที่สวยงามที่สุด มีลวดลายสัตว์ป่าหิมพานต์ที่สื่อถึงหลักอภิปรัชญา

7. พะเยายุคหลัง ส่วนนี้ได้จัดแสดงเรื่องราวและวัตถุโบราณของเมืองพะเยาหลังถูกพม่ายึดครองและถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา เมื่อราวปี พ.ศ. 2101 ห้องนี้จัดแสดงสิ่งของหลากหลาย แต่ที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หัวใจและปอด ของพระประธาน ที่ถูกค้นพบในวิหารวัดหลวงราชสัณฐาน รวมถึง อัญมณีของมีค่าต่างๆ อาทิแหวน เพชรพลอย ดอกไม้ทอง ดอกไม้เงิน แผ่นเงิน แผ่นทอง ที่บรรจุไว้ในหัวใจพระปะธาน

8. กบฎเงี้ยว  ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวเงี้ยวบุกปล้นเมืองพะเยา เมื่อปี พ.ศ.2445 โดยจุดเด่นอยู่ที่เสื้อของ ปู่แสนผิว เสมอเชื้อ ผู้สมคบคิดกับกบฎเงี็ยวเข้าปล้นพะเยา เสื้อตัวดังกล่าวเป็นเสื้อที่ปู่แสนผิวสวมใส่ขณะถูกนำตัวไปประหารชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 ณ สุสานประตูท่าแป้น เมืองพะเยา

9. วิถีและภูมิปัญญา จัดแสดงเรื่องราวของบุคคลสำคัญของเมืองพะเยา ทั้งด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพะเยา

10. คนกับช้าง ห้องนี้จัดแสดงเรื่องราวของช้างในด้านต่างๆในล้านนา ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของช้าง ความเชื่อ รวมถึงคติทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมี ฟอสซิลช้าง 4 งา อายุราว 15 ล้านปี ฟอสซิลไดโนเสาร์ อายุราว130 ล้านปีและฟอสซิลของ ปู 2 ตัวที่กอดกันตายจนกลายเป็นหินอายุกว่า 3,000 ปี ที่มาของชื่อ คู่รักมหัศจรรย์ ชีวิตผูกพันธุ์อมตะ 3,000 ปี

11. คลังวัตถุโบราณ ห้องสุดท้ายเป็นห้องเก็บวัตถุโบราณที่ไม่ได้จัดเข้าเป็นหมวดหมู่ นอกจากนั้นยังประดิษฐาน หลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองคำ ผิวขององค์พระจึงออกสีดำ เป็นที่มาของชื่อ พระเจ้าองค์ดำ

โทร : 054410058

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พิพิธภัณฑ์ กลุ่ม: พิพิธภัณฑ์

ปรับปรุงล่าสุด : 11 ปีที่แล้ว

แผนที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(4)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(39)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(5)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(2)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(4)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(6)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(11)

น้ำตก น้ำตก(8)

ถ้ำ ถ้ำ(5)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(5)