หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.พังงา > อ.ตะกั่วป่า > ต.ตะกั่วป่า > ประเพณีกินผัก


พังงา

ประเพณีกินผัก

ประเพณีกินผัก

Rating: 3/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา ประกอบพิธี 9 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน (ตรงกับเดือน 11 ของไทย)
 
ความสำคัญ กินผักภาษาจีนเรียกว่า "เก้าอ็วงเจ" หรือ "กิวอ็วงเจ" เป็นประเพณีไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของคนไทยที่มีเชื้อสายจีนทางฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดพังงาในเขตอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง แต่เดิมผู้คนกินผักมักมีเชื้อสายฮกเกี้ยน แต่ในปัจจุบันแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น ๆ
ด้านคุณค่าของพิธีกินผักนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคร้ายจากตัวผู้กินผัก
 
แล้วยังเป็นการแสดงออกถึงการเคารพบรรพบุรุษ และเป็นการฝึกจิตใจของผู้กินผักให้บริสุทธิ์ ได้รักษาศีลอีกทั้งยังเหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันด้วย เพราะเป็นช่วงที่ได้ประหยัดการใช้จ่าย งดการเที่ยวเตร่ อาหารผักก็ราคาถูกกว่า และสุดท้ายยังก่อให้เกิดความสามัคคี เพราะว่าผู้ที่ร่วมกินเจไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจนจะไปร่วมในพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทักทายกันด้วยดี ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้ที่เข้าร่วมกินผัก อย่างเช่น ในจังหวัดพังงาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อันแสดงให้เห็นว่าประเพณีกินผักจะคงอยู่สืบทอดต่อไปอีกนาน
 
พิธีกรรม การประกอบพิธีกรรมกินผัก ก่อนพิธี 1 วัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า รมกำยานไม้หอม และมีการยกเสาธงไว้หน้าศาลเจ้า สำหรับอันเชิญดวงวิญญาณของเจ้า เที่ยงคืนก็ประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ (พระอิศวร) และกิ๋วอ๋องไตเต หรือกิวอ่องฮุดโจ้ว (ผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9) มาเป็นประธานในพิธี จากนั้นก็แขวนตะเกียงน้ำมัน 9 ดวง อันเป็นสัญลักษณ์ของดวงวิญญาณกิ๋วอ๋องไตเต ไว้บนเสาธง อันเป็นการแสดงว่าพิธีกินผักเริ่มขึ้นแล้ว
 
การใช้ตะเกียงน้ำมัน 9 ดวง ก็เพื่อให้หมายถึงดวงวิญญาณของกิ๋วอ๋องไตเต หรือ เก้าอ๊วงไตเต คำว่า "เก้าอ๊วงไตเต" หรือกิ๋วอ๋อง แปลว่า นพราชา ตามตำราโหราศาสตร์จีน ก็หมายถึงดาวนพเคราะห์ โดยเชื่อกันว่าดาวเคราะห์ 9 ดวงนี้ เกิดจากการแบ่งภาคของเทพเจ้า 9 องค์ ซึ่งทรงอำนาจมาก บริหารธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุทอง เทพเจ้าทั้ง 9 นี้ เกิดจากการแบ่งภาคของอดีตพระพุทธเจ้า 7 องค์ กับพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 องค์ เทพเจ้าแห่งดาวนพเคราะห์นี้มีคุณแก่โลกมาก เพราะธาตุทั้งหลายที่พระองค์ประทานให้เป็นของจำเป็นในสรรพสังขาร์
 
หลังจากทำพิธีรับเจ้ามาเป็นประธานในศาลแล้วก็ทำพิธีวางกำลังทหารรักษาการตามทิศเรียกว่า พิธี "ปังเอี้ย" หรือ ปั้งกุ๊น" พิธีนี้จะใช้ธงสีต่าง ไปปักเป็นสัญลักษณ์การวางกำลังทหาร ถือเอาสมัยซ้องคือการวางกำลังทำทิศ ในช่วงเวลาทำพิธี 9 วัน จะมีพิธีย่อย ๆ หลายอย่างได้แก่
 
1. พิธีบูชาเจ้า ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาเจ้าด้วยเครื่องเซ่น และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบ 3 วัน จะถือว่าผู้นั้นสะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า "เช้ง" ตอนนี้จะมีการทำพิธีเชิญเจ้า 2 องค์ มาร่วมพิธี องค์แรกเป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้มาเกิดชื่อ "ล้ำเต้า" อีกองค์เป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้ตายไปชื่อ "ปักเต้า"
 
2. พิธีโขกุ้น หมายถึงการเลี้ยงทหาร ซึงทำพิธีในวัน 3 ค่ำ 6 ค่ำ และ 9 ค่ำ หลังเที่ยงเมื่อเริ่มพิธีต้องมีการเตรียมอาหาร และเหล้าสำหรับเซ่นสังเวย เลี้ยงทหารและมีหญ้าหรือพวกถั่ว เพื่อเป็นอาหารของม้า หรือเมื่อเสร็จพิธีแล้วตอนกลางคืนจะเรียกตรวจพลทหารตามทิศเรียกว่า "เซี่ยมเมี้ย"
 
3. พิธีซ้องเก็ง เป็นการสวดมนต์โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิวอ๋องไตเต หนือกิวอ๋องฮุดโจ้วเข้ามาประทับในโรงพระ และจัดทำพิธีสวดวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนย่ำค่ำ เป็นลักษณะการสวดมนต์เช้า และสวดมนต์เย็น โดยเฉพาะกลางคืน หลังจากสวดมนต์ซึ่งใช้บทสวดคือ ปักเต้าเก็ง ก็จะมีการ "ตักซ้อ" คืออ่านรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมกินเจ ซึ่งอ่านต่อหน้าแท่นบูชา เป็นลักษณะการเบิกตัวเข้าเฝ้า
 
1. พิธีบูชาดาว จะทำในคืนวัน 7 ค่ำ เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครองผู้กินผัก
 
2. พระออกเที่ยว หรือการแห่เจ้า เป็นการออกเพื่อโปรดสัตว์ออกเยี่ยมประชาชนเคารพนับถือ โดยจะมีขบวนธงและป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวหามพระเรียกว่า "ถ้วยเปี๊ย" โดยจะหามรูปพระบูชาต่าง ๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจะจัดตามชั้น และยศของพระ เช่น จากสิญูขึ้นไปก็เป็นง่วนโส่ย สูงไปอีกก็เป็นไต่เต้ สูงขึ้นไปเป็นฮุด จากนั้นจะเป็นขบวนเกี้ยวใหญ่ ซึ่งมักจะใช้คน 8 คน และมีฉัตรจีนกั้นไปด้วย จะเป็นที่ประทับของกิวอ๋องฮุดโจ้ว ในขณะที่ขบวนแห่ผ่านไป ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้าน และจุดประทัดต้อนรับขบวนเมื่อผ่านไปถึง
 
3. การลุยไฟ กองไฟถือว่าเป็นกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ในแง่ความศักดิ์สิทธิ์เป็นการแสดงถึงอิทธิฤทธิ์ที่บังคับไฟไม่ให้ร้อนหรืออาจจะถือว่าเป็นไฟทิพย์ ใช้ชำระความสกปรกของร่างกายให้บริสุทธิ์โดยลุยทั้งคนทรงเจ้าที่กำลังประทับทรง หรือประชาชนโดยทั่วไปก็ได้
 
4. พิธีส่งพระ ทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก โดยตอนกลางวันจะมีการส่งเทวดา มักจะส่งกันที่หน้าเสาธง ส่วนตอนกลางคืนจะมีการส่งพระกิวอ๋องฮุดโจ้วกลับสวรรค์ โดยส่งกลับทางทะเล เมื่อขบวนส่งออกพ้นประตู ไฟทุกดวงในโรงพระต้องดับสนิทหมดแล้ว ตะเกียงที่เสาธงจะถูกดึงขึ้นสูงสุดตอนเช้าของวันแรก หลังจากเสร็จงานกินผักจะมีการลงเสาธง และเรียกกำลังทหารกลับ หลังจากที่เลี้ยงทหารเสร็จแล้ว จากนั้นก็เปิดประตูใหญ่ เมื่อได้ฤกษ์เปิดตามวันในปฏิทิน หรือตามที่เจ้าสั่งไว้
 
ประเพณีกินผักเชื่อกันว่าเริ่มขึ้นที่ประเทศจีน ชาวเมืองทั้งหลายในประเทศจีนประกอบพิธีกินผักขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติอีกทั้งเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์และระลึกถึงดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ตนเคารพให้ช่วยปกป้องคุ้มครองด้วย ชาวจีนในพังงาจึงจัดพิธีกรรมกินผักเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
 
ประเพณีกินผักในจังหวัดพังงา โดยเฉพาะที่อำเภอตะกั่วป่า เริ่มขึ้นในการทำพิธีกินผัก ผู้คนที่ร่วมพิธีจะล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบอาหารจนสะอาดหมดกลิ่นคาว บ้างก็ใช้ภาชนะชุดใหม่ในการประกอบอาหารหรือใส่อาหารผัก บ้างก็ไปรับประทานอาหารที่โรงครัว ในช่วงกินผักนี้ผู้ที่เคร่งครัดในพิธีจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวตลอดทั้ง 9 วัน
 
โรงครัวของศาลเจ้าจะรับภาระหนักมากในเรื่องการประกอบอาหารให้กับผู้ที่ร่วมกินผัก ผู้ใดที่ประสงค์จะรับอาหารจากศาลเจ้าต้องไปลงชื่อแจ้งความประสงค์บอกจำนวนบุคคลในบ้านที่ร่วมกินผัก และจำนวนวัน เพื่อว่าโรงครัวจะได้จัดเตรียมอาหารได้เพียงพอ เมื่อถึงเวลาอาหารจะนำปิ่นโตตักอาหารไปรับประทานที่บ้าน และเนื่องจากจำนวนของผู้ร่วมกินผักมีมากทางโรงครัวจึงต้องหาอาสาสมัครมาช่วยงานครัวเป็นจำนวนมาก สำหรับอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัวนั้นได้รับบริจาคจากผู้มีใจศรัทธา และบุคคลทั่วไป และจากผู้เข้าร่วมกินเจ
 
อาหารที่โรงครัว จัดทำมีทั้งผัด แกงจืด และแกงเผ็ด ซึ่งปราศจากไข่ และเนื้อสัตว์ นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ ศาลเจ้าก็จะมีแม่ค้าทำอาหารผักนานาชนิดมาจำหน่าย
 
การประกอบพิธีสำคัญ ๆ ในช่วง 9 วันนี้ จะมีการทรงเจ้าโดยอัญเชิญเจ้าต่าง ๆ มาประทับทรงในร่างของม้าทรงนั้น คือผู้ที่ชะตากำลังจะดับ ก็จะเข้าร่างประทับทรง เพื่อต่ออายุให้ หรือบุคคลที่เหมาะสม และสมัครใจจะเป็นม้าทรง เจ้าก็จะเข้าประทับทรงเช่นกัน
 
ในระยะที่มีการประกอบพิธีต่างๆ หรือในกรณีที่มีการแห่ขบวนไปม้าทรงจะแสดงอิทธิฤกษ์ ฟาดฟันอาวุธไปตามร่างกายของตนเอง บ้างเอาเหล็กแหลมทิ่มแทงลิ้น แก้ม แขน ขา มีการขึ้นบันได มีดแหลมคมก็มิได้ปรากฏบาดแผลให้เห็นเลย ภาษาที่ม้าทรงพูดขณะที่เจ้าประทับทรงก็เป็นภาษาจีนตลอด ถึงแม้ตัวม้าทรงเองจะไม่เคยรู้เรื่องภาษาจีนเลยก็ตาม
 
การที่ม้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ถือกันว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้แก่ผู้ที่กินผัก โดยพระเป็นผู้รับเคราะห์เสียเอง ในระหว่างการประกอบพิธีต่าง ๆ จะมีการประโคมด้วยกลอง เสียงอึกทึกมาก มีการซื้อหาประทัดเพื่อนำมาจุดในระยะของการประกอบพิธีกันมากมาย

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(18)

โบสถ์ โบสถ์(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(12)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(8)

น้ำตก น้ำตก(21)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(2)

ถ้ำ ถ้ำ(12)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(28)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(11)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(7)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(2)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(3)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้(1)