หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นครศรีธรรมราช > อ.เมืองนครศรีธรรมราช > ต.ในเมือง > ใบเหลียงผัดไข่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้


นครศรีธรรมราช

ใบเหลียงผัดไข่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้

ใบเหลียงผัดไข่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้

Rating: 5/5 (1 votes)

ใบเหลียงผัดไข่ เมนูอาหารใต้ สูตรอาหารภาคใต้  ผักเหลียงเป็นชื่อเรียกผักชนิดหนึ่งที่พบมากในภาคใต้ตอนบน ชาวจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานีเรียก “ผักเหลียง” แต่ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “ผักเหมียง” โดยนอกจากนี้ผักชนิดนี้ยังพบทางภาคตะวันตก เช่น จังหวัดกาญจนบุรี “ผักเหลียง” จะเป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ที่ให้รสมัน โดยจะไม่มีรสขมเหมือนผักใบเขียวชนิดอื่นๆ นิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก ขนมจีน และอาหารอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ต้มกะทิ, ผัดไฟแดง และที่นิยมกันมากคือนำมาผัดกับไข่ เวลาเลือกซื้อ เลือกที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป หากอ่อนจะไม่มีรสชาติ ถ้าแก่ก็จะแข็งไม่อร่อย
 
ผักเหลียง อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา, บำรุงผิวพรรณ และมีค่าปริมาณแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ทำให้ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง ผักเหลียง เป็นผักพื้นบ้านภาคใต้ นั้นเป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 - 2 เมตร มีใบเรียวยาว สามารถนำใบอ่อน และยอดมารับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุก โดยนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่, แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก หรือลวกจิ้มน้ำพริก ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในภาคใต้ เป็นต้น
 
ส่วนผสม (สูตรอาหารภาคใต้)
- ใบเหลียง 1 ถ้วย 
- ไข่ไก่ 3 ฟอง 
- กระเทียม ½ ถ้วย 
- น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ 
- ซีอิ๊วขาว ½ ช้อนโต๊ะ 
- พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
 
วิธีทำ (เมนูอาหารใต้)
1. น้ำใบเหลียงมาล้างให้สะอาด และพักเตรียมไว้
 
2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อย ใส่กระเทียมลงไปผัด พอให้กระเทียมเริ่มเหลือง จากนั้นใส่ไข่ไก่ลงไป ตีให้ไข่แตก จากนั้นใส่ใบเหลียงตามลงไป เทคนิคคือผัดไฟแรง และผัดเร็ว ๆ สักเกตุจากผักจะเริ่มหดตัวลงไป จากนั้นให้ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว, น้ำมันหอย และพริกไทย  
 

อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป นั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้

ปรับปรุงล่าสุด : 7 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(9)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(9)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(44)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(8)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(6)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(11)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(11)

น้ำตก น้ำตก(43)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(14)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(29)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(4)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(1)

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้(18)