หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.นครศรีธรรมราช > อ.เมืองนครศรีธรรมราช > ต.ในเมือง > แกงคั่วหอยขมใบชะพลู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหาร


นครศรีธรรมราช

แกงคั่วหอยขมใบชะพลู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหาร

แกงคั่วหอยขมใบชะพลู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหาร

Rating: 5/5 (1 votes)

แกงคั่วหอยขมใบชะพลู เมนูอาหารใต้ สูตรอาหาร แกงพื้นบ้านที่นำหอยขม หรือหอยจุ๊บที่อยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาแกงกับใบชะพลูที่หาได้ง่ายเช่นกัน แกงใส่กะทิที่ได้รสชาติหวานมัน รสเผ็ดร้อนเข้มข้นและกลิ่นหอมจากสมุนไพรสดในเครื่องพริกแกงคั่ว ทำให้เกิดความลงตัวในแกงพื้นบ้านจานนี้อย่างน่าประหลาดใจ
 
คุณค่าทางโภชนาการ หอยขมในตำราแพทย์แผนไทยระบุไว้ว่าทั้งเปลือก และเนื้อหอยมีสรรพคุณช่วยแก้กระษัยต่าง ๆ เช่น แก้ปวดเมื่อย, บำรุงกำลัง, บำรุงถุงน้ำดี และโรคทางเดินปัสสาวะอย่างโรคนิ่ว และเมื่อนำไปแกงกับใบชะพลูซึ่งมีสารออกซาเลตที่สามารถทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอย่างโรคนิ่วได้ถ้ารับประทานมาก นับเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่นำส่วนผสมทั้ง 2 อย่างนี้มาปรุงเพื่อแก้กันจึงทำให้จานนี้สมดุลกินได้อย่างไม่มีปัญหา
 
ส่วนผสมพริกแกงใต้
- พริกแห้งเม็ดเล็ก 30 เม็ด
- พริกแดงสด 8 เม็ด
- ตะไคร้ 20 กรัม
- ข่าแก่ 10 กรัม
- ผิวมะกรูด 5 กรัม
- กระเทียม 10 กรัม
- ขมิ้น 10 กรัม
- พริกไทยเม็ด 10 กรัม
- กะปิแท้ 1 ช้อนโต๊ะ
 
วิธีทำพริกแกงใต้
1. ตั้งครกใส่พริกแห้งลงไป ตำให้ละเอียดจากนั้นใส่พริกแดงสดลงไป ตำให้ละเอียดอีกครั้ง จากนั้นใส่ตะไคร้ ข่าแก่ ผิวมะกรูด กระเทียม และขมิ้น จากนั้นตำให้เข้ากันอีกครั้ง
 
2. เมื่อเข้ากันแล้วใส่พริกไทยเม็ดลงไป จากนั้นโขลกให้เข้ากันอีกครั้งจนเนื้อละเอียด
 
3. ใส่กะปิลงไป จากนั้นตำให้เข้ากันอีกครั้ง
 
ส่วนผสม (สูตรอาหาร)
- หอยขม 500 กรัม
- ใบชะพลู 100 กรัม
- หัวกะทิ 400 ml. 
- หางกะทิ 300 ml. 
- พริกแกงใต้ 30 กรัม
- น้ำตาลปี๊บ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 3 1/2 ช้อนโต๊ะ
 
วิธีทำ (เมนูอาหารใต้)
1. เลือกใบชะพลูที่อ่อน และเคี้ยวได้ จากนั้นนำมาหั่นซอย
 
2. ตั้งกระทะ ใส่หัวกระทิลงไป ผัดให้หัวกะทิแตกมัน ใช้ไฟกลาง ๆ ผัดจนมีกลิ่นหอม จากนั้นใส่พริกแกงใต้ลงไป จากนั้นผัดพริกแกงให้สุกส่งกลิ่นหอม จากนั้นเติมหัวกะทิลงไปพอประมาณ จากนั้นเร่งไฟผัดให้หัวกะทิกับพริกแกงเดือดอีกครั้ง
 
3. จากนั้นใส่หอยขมลงไปแล้วผัดให้เข้ากัน จากนั้นเติมหัวกะทิ และหางกะทิเข้าไปเล็กน้อย เร่งไฟให้เดือด จากนั้นใส่ใบชะพลูตามลงไป ผัดให้เข้ากัน ใช้ไฟแรง และหมั่นเติมกะทิ จากนั้นเติมน้ำตาลปิ๊บ และน้ำปลา ลงไป (สามารถใส่เกลือแทนน้ำปลาได้) รอให้ไฟเดือด แล้วใช้ไฟกลางผัดให้เข้ากันอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ 
 

อาหารภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นจะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากดินแดนของภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวา จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก

อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป นั้นจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านจึงมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

อาหารใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทยในสำรับอาหารปักษ์ใต้นั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่มากมาย ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง ปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน จึงทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัด เน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า ผักเหนาะ นับเป็นพืชพื้นบ้านหาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น ลูกเหนียง, สะตอ และยอดกระถิน มากินร่วมด้วยซึ่งจะช่วยบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลาทู, ปูทะเล, กุ้ง, หอย และปลากระบอก ซึ่งจะหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง มักจะนิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดูอาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ กลุ่ม: เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้

ปรับปรุงล่าสุด : 7 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(9)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(9)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(5)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(44)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(8)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(6)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(11)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(11)

น้ำตก น้ำตก(43)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(14)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(29)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(4)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(1)

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้(18)