หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.น่าน > อ.ท่าวังผา > ต.ศรีภูมิ > ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า


น่าน

ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า

ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า

Rating: 3.8/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา จัดทุกๆ 3 ปี หรือเรียกว่า สามปี๋สี่ฮวงข้าว
 
ความสำคัญ ประเพณีภาคเหนือ (ประเพณีไทย)และวัฒนธรรมภาคเหนือ เป็นประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งของไทลื้อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อได้เล่าต่อๆกันมาว่าเจ้าหลวงเมืองล้าคือ เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองล้าในดินแดนสิบสองปันนา เป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ และเป็นทั้งแม่ทัพนายกองของชาวไทลื้อเมืองล้าทั้งมวล และท่านได้สิ้นชีพิตักษัยในดินแดนสิบสองปันนา ในส่วนบริวารหรือผู้ช่วยของเจ้าหลวงเมืองล้าประกอบด้วย หิ่งช้าง หิ่งม้า ล่ามเมือง หาบมาด แจ่งฝ่าย เชียงล้านโอ๊ก่า ช้างเผือก ปูก่าผมเขียวดำแดง ปางแสน ปางสา ปางเม็ด ม่อนเชียง คือ ปากท่อทั้งห้า บ่อต่วน สวนตาลเมืองหลุก อ่างเรียง และม่านตอง
 
พิธีกรรม เมื่อใกล้ถึงประเพณีเข้ากรรมเมือง ตัวแทนชาวไทลื้อทั้งสามหมู่บ้านได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่างและบ้านดอนมูล จะมาประชุมกันเพื่อกำหนดพิธีการและมอบหมายหน้าที่การงานกัน และที่สำคัญอย่างยิ่งจะมีการคัดเลือกบุคคลที่สืบเชื้อสายทางสายโลหิตของเจ้าหลวงเมืองล้า จำนวน 1 คน มาเป็นตัวแทนชาวไทลื้อทั้งหมด เรียกว่าเจ้าเมือง
 
ส่วนใหญ่มักจะคัดมาจากชาวไทลื้อบ้านดอนมูลซึ่งจะเป็นประธานในพิธีบวงสรวง และคัดเลือกชาวบ้านหนองบัว ที่สืบเชื้อสายมาจากหมอเมืองอีก 1 คนหมอเมืองจะมีหน้าที่ป้อนอาหารในพิธีบวงสรวง เรียกว่า เจ้ายั๊ก หลังจากนั้นจะเลือกวันประกอบพิธีบวงสรวงโดยเลือกวันที่ดีที่สุดว่า วันเฒ่า การเข้ากรรมเมืองจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 วัน ซึ่งแต่ละวันจะมีกิจกรรมดังนี้
 
วันแรกประมาณ 16.00 น ชาวไทลื้อทั้ง 3 หมู่บ้านจะปิดกั้นเขตแดน เข้า-ออก ของหมู่บ้านด้วย ตาแหลว (ใช้ไม้ไผ่สานคล้ายพัด) เมื่อปิดตาแหลวแล้วจะประกาศห้ามคนในหมู่บ้านออกนอกเขตตาแหลว และห้ามติดต่อกับภายนอกหมู่บ้านเป็นเวลา 3 วัน และห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน ใครฝ่าฝืนจะถูกปรับไหมเป็นเงินทองแล้วแต่จะตกลงกันเพราะประเพณีนี้จะเป็นประเพณีที่มีเฉพาะในหมู่ชาวไทลื้อเชื้อสายเมืองล้าเท่านั้นจึงไม่ต้องการให้คนภายนอกล่วงรู้ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อถึงเวลาประมาณ 17.00 น จะแห่ เจ้าเมือง และหมอเมือง ไปยังสถานประกอบพิธีแห่งที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัว โดยเจ้าเมือง
 
และหมอเมืองจะพักอยู่ในที่พักที่จัดไว้ให้คนละหลัง ที่พักนี้สร้างขึ้นไว้สำหรับพิธีนี้โดยเฉพาะ เมื่อเสร็จพิธีแล้วรื้อถอนทิ้งไป ครั้งถึงพิธีครั้งใหม่ก็จะสร้างขึ้นใหม่อีก ในบริเวณสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ 1 จะมีมหรสพสมโภชทั้งกลางวันและกลางคืน และที่นิยมเล่นกันมากที่สุดคือการขับลื้อ นอกจากนี้จะมีการละเล่นพื้นเมือง เช่น การเล่นมะกอน (โยนหมอนผ้าหรือลูกช่วง) การเล่นมะไข่เต่า การเล่นสะบ้า การขึ้นเสาน้ำมัน ตะกร้อลอดบ่วง เป็นต้น
 
วันที่สองเป็นวันที่ชาวไทลื้อถือกันว่ามีความสำคัญที่สุดในระหว่างการอยู่กรรมเมืองเพราะจะมีการประกอบพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้าที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้ามืด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเวลาหลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว) โดยจะมีการแห่เจ้าเมือง หมอเมืองและสิ่งของที่ใช้สำหรับพิธีบวงสรวง ในขบวนแห่เจ้าเมือง หมอเมืองจะมีบ่าวหมอให้การอารักขาอย่างใกล้ชิด ขบวนแห่ดังกล่าวจะมุ่งตรงไปยังสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ 2 ซึ่งเรียกว่า ปางเมือง (ปัจจุบันคืออนุสาวรีย์เจ้าหลวงเมืองล้า)
 
ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ 1 ประมาณ 100 เมตร โดยจะจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่เพราะชาวไทลื้อทั้ง 3 หมู่บ้านจะพร้อมใจกันมาร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์อย่างคับคั่งทุกครั้ง เจ้าเมืองจะแต่งกายสีแดงล้วนก่อนที่ขบวนแห่จะเคลื่อนออกไป เจ้าเมืองกับหมอเมืองจะทำการทักทายกัน ณ บริเวณหน้าที่พักของเจ้าเมืองโดยทั้งคู่จะเหยียบตาบเหล็ก (เหล็กแผ่น) คนละแผ่น หมอเมืองจะทักขึ้นมาก่อนว่าเจ้าเมืองฮ่องหมอเมืองมาสัง (เจ้าเมืองเรียกหมอเมืองมาทำไม) เจ้าเมืองจะตอบว่า สองปี๋ฮาม สามปี๋คอบ ขอบดังมน
 
ผีเมืองถูกจ้าด้ามเมืองถูกกิน หมอเมืองมาเฮือน ให้หมอนั่งตั่งหมองเมืองเซา (สรุปความว่าประเพณีบวงสรวงได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ขอให้หมอเมืองขึ้นไปพักผ่อนบนบ้านก่อน) เมื่อขึ้นบนบ้านแล้วบ่าวหมอ (คนใช้หมอเมือง) จะทำหน้าที่ป้อน หมาก เมี่ยง และของกินอื่นๆแก่เจ้าเมือง เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้วขบวนแห่จะเคลื่อนไปยังสถานที่แห่งที่ 2 เพื่อทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้าต่อไป สิ่งของที่จะนำมาบวงสรวงนั้นจะประกอบด้วยสัตว์ 4 เท้า และสัตว์ 2 เท้า สัตว์ 4 เท้า ได้แก่ วัว ควาย หมูดำ หมูขาวอย่างละ 1ตัว ส่วนสัตว์ 2 เท้า ได้แก่ ไก่
 
ในระหว่างการเคลื่อนขบวน หมอเมืองจะแวะเซ่นบวงสรวงบริวารเจ้าหลวงเมืองคือ หิ่งช้าง หิ่งม้า ซึ่งจะมีหออยู่สองหอโดยใช้ไก่เป็นๆ ทำการเซ่นสรวง จากนั้นขบวนจะเคลื่อนที่ต่อไปจนถึงสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ 2 เมื่อถึงบริเวณสถานที่ประกอบพิธีดังกล่าว เจ้าเมืองและหมอเมืองจะสักการะดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองหล้าก่อน จากนั้นจึงเซ่นสรวงบริวารของเจ้าหลวง จะมีหออยู่ทั้งหมด 32 หอ โดยใช้ไก่เป็นๆ หมอเมืองจะถอนขนไก่แล้วเอาข้าวสุกปั้นเป็นก้อนจิ้มลงไปที่ตัวไก่แล้ววางไว้ที่หอ
 
ส่วนไก่นั้นจะโยนขึ้นเหนือศีรษะเพื่อปล่อยออกไป ช่วงนั้นจะมีการแย่งชิงไก่เพื่อนำไปเลี้ยงเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว เสร็จแล้วจึงจะเป็นพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้าอันศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ซึ่งจะต้องเซ่นสรวงด้วย สัตว์ 4 เท้า อันได้แก่ วัวควาย หมูดำ หมูขาว สัตว์ดังกล่าวจะต้องผ่านพิธีลงดาบเสียก่อน แล้วจึงจะชำแหละเอาเนื้อมาเข้าเซ่นวิญญาณ ส่วนเนื้อที่เหลือลูกหลานชาวไทลื้อที่มาร่วมพิธีจะแบ่งปันกันไปประกอบอาหารซึ่งจะประกอบกันบริเวณใต้ถุนบ้าน ห้ามนำขึ้นไปประกอบบนบ้านโดยเด็ดขาด
 
วันที่สาม จะมีการเซ่นสรวงเทวดาอู ซึ่งหอเทวดาอูจะอยู่นอกบริเวณสถานที่ทั้งสอง ตอนบ่ายจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าเมือง หมอเมืองกลับสู่หมู่บ้านของตนเอง หลังจากนั้นจะเปิดสิ่งปิดกั้นหมู่บ้านออกเรียกว่าการเปิดแหลว หรือ ต้างแหลว จากนี้ไปชาวไทลื้อเชื้อสายเมืองล้าจะไปไหนมาไหนได้ตามปกติ
 
ชาวไทลื้อที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่าง ตำบลป่าผา และบ้านดอนมูลตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านนั้น เชื่อว่าอพยพมาจากเมืองล้าแคว้นสิบสองปันนา โดยอพยพมาราว พ.ศ.2394 สมัยพระญาวชิตวงศ์ (เจ้าอนันตวรฤทธิเดช) เจ้าผู้ครองนครน่าน ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยสาเหตุหนีภัยสงคราม
 
ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้า เป็นความเชื่อความศรัทธาของชาวไทลื้อในการไหว้บรรพบุรุษ และเป็นการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาพบปะกันทุกๆ 3 ปี เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของเผ่าชนารแสดงที่ตื่นเต้นเร้าใจ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(4)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(6)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(68/402)

โบสถ์ โบสถ์(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(18)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(13)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(9)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(6)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(16)

น้ำตก น้ำตก(28)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(11)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(11)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(4)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(2)