หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.ศรีสะเกษ > อ.ไพรบึง > ต.ปราสาทเยอ > วัดปราสาทเยอ


ศรีสะเกษ

วัดปราสาทเยอ

วัดปราสาทเยอ

Rating: 4.2/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดปราสาทเยอ ตั้งอยู่ในกิ่งอ.ไพรบึง มีด้วยกัน 2 วัดคือ วัดเหนือและวัดใต้ อายุประมาณ 200 กว่าปี สร้างขึ้นโดยชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเยอที่ได้รับอารยธรรมทางขอมมา ดังนั้น สิ่งก่อสร้างในวัดจึงคล้ายคลึงศิลปะแบบขอมโบราณผสมสมัยใหม่
 
วัดมีความเจริญมากในสมัยที่หลวงพ่อมุมปกครองดูแล เพราะศรัทธาในวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย มักน้อย สันโดษ พูดน้อย แต่มีเมตตาสูงมาก แม้ว่าการเดินทางไปวัดปราสาทเยอเหนือจะยากลำบากเพียงใด แต่ผู้คนต่างไม่หวั่นไหวหวาดกลัว เพราะรู้ว่าท่านสามารถช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยได้อย่างแน่นอน
 
นอกจากนี้ ในสมัยที่สหรัฐมาตั้งฐานทัพแถบอีสานใต้ กิตติศัพท์ของท่านร่ำลือไปถึงหมู่ทหารจีไอ จนต้องเดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์และรับวัตถุมงคลจากท่านไปคุ้มครองป้องกันภัย โดยต่างเรียกท่านว่า "Dad" และในคอส่วนใหญ่ห้อยเหรียญของท่าน ท่านเกิดในตระกูล "บุญโญ" ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีพ.ศ.2429 บิดามารดาเป็นชาวนาชาวไร่ ชีวิตวัยเด็กคลุกคลีอยู่ที่วัดเป็นส่วนใหญ่
 
โดยได้เรียนหนังสือไทย ขอมไทย ขอมลาว และเขมรกับพระอาจารย์พิมพ์ จนอายุ 12 ขวบ จึงบรรพชาเป็นสามเณร ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหนังสือ สวดมนต์จนคล่อง ทั้งเช้าและเย็นต้องทำวัตรไม่ขาด เป็นสามเณรที่ขยันมาก ไม่เคยถูกดุด่าว่ากล่าวแม้แต่ครั้งเดียว 
 
พออายุครบ 20 ปี ได้บวชเป็นพระที่วัดปราสาทเยอเหนือ ได้ฉายาว่า "อินทปัญโญ" โดยมีหลวงพ่อปริม เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านมีความรอบรู้เชี่ยวชาญในพระคัมภีร์ทั้งทางด้านกรรมฐานภาวนาและคาถาอาคมขลังทางลงเลขยันต์ ลงนะต่างๆ โดยวิชาเหล่านี้ท่านได้รับการถ่ายทอดไว้จนหมดสิ้น จากนั้นได้ออกธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมภาวนาตามสถานที่ต่างๆ เริ่มจากเมืองขุขันธ์เรื่อยไปจนถึง จ.ปราจีนบุรี เข้าฝากตัวกับพระอุปัชฌาย์โท วัดโคกมอญ และอยู่ช่วยก่อสร้างศาลาการเปรียญจนสำเร็จใช้เวลาที่อยู่วัดนี้ 3 ปี แล้วเดินทางกลับวัดปราสาทเยอ 
 
2ปีต่อมา "หลวงพ่อมุม อินทปัญโญ" อดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอเหนือ จ.ศรีสะเกษ จึงออกธุดงค์ไปทางเมืองลังเก จ.พระตะบองฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับพระมหาบัวทองพระสงฆ์ชาวเขมร และติดตามเข้าไปจนถึงเมืองพนมเปญ ก่อนจะผ่านมาทางกบินทร์บุรีข้ามภูเขาสองพี่น้องอันเป็นทิวเขาดงพญาไฟ (ปัจจุบันคือดงพญาเย็น)
 
จนกระทั่งมาถึงบ้านหวาย อยู่ศึกษาวิชาอาคมกับ "หลวงพ่อโฮม" ซึ่งเก่งทางว่านยาสมุนไพร แก้อาถรรพณ์ แก้คุณไสยต่างๆ ต่อจากนั้น จึงเดินทางไปยังจ.สระบุรีเพื่อกราบสักการะรอยพระพุทธบาท พระพุทธฉายแล้วล่องมาจนถึงจ.พระนครศรีอยุธยา เข้าจำพรรษาอยู่หลายวัด แล้วต่อไปยังจ.สุพรรณบุรี เข้าสู่อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ผ่านไปทาง จ.เพชรบูรณ์ เข้าจ.เลย เมืองลานช้าง เวียงจันทน์ ท่าแขก สุวรรณเขต และนครจำปาศักดิ์ เพื่อไปหา "สมเด็จลุน" แต่ต้องผิดหวัง เพราะสมเด็จลุนเดินทางไป จ.อุบลราชธานี
 
แต่ท่านก็ได้ตามไปจนพบและฝากตัวเป็นศิษย์ติดตามเข้าไปถึงนครจำปาศักดิ์ ได้ศึกษาหาความรู้ทางอาคมขลัง เลขยันต์ต่างๆ ก่อนจะกลับเข้ามาหาพระอาจารย์ดีๆ ในตัวเมืองอุบลระยะหนึ่ง แล้วเดินทางไปยังเมืองขุขันธ์กลับไปวัดปราสาทเยอ ขณะที่ท่านอยู่วัดนั้นสิ่งที่ปฏิบัติเป็นนิจคือการเดินจงกรม ปฏิบัติกรรมฐานภาวนาและทบทวนวิชาต่างๆ ในยามว่างจากผู้คน
 
พระยาขุขันธ์ได้นำเอาคัมภีร์สมุดข่อยไปถวาย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่บรรจุวิชาอาคมไสยศาสตร์, โหราศาสตร์ และตำราต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน โดยพระยาขุขันธ์ได้มาจากใต้ฐานพระพุทธรูปในเมืองพิษณุโลก คาดว่าเป็นของสมเด็จเจ้าพระฝาง ปีพ.ศ.2464 หม่อมหลวงช่วงทำงานอยู่กระทรวงธรรมการไปตรวจราชการที่เมืองขุขันธ์ เห็นว่าการศึกษาที่นั่นยังด้อยอยู่มาก ประชาชนส่วนมากยังขาดการศึกษา  
 
จึงเดินทางไปนิมนต์ให้ท่านช่วยสอนหนังสือพระ โดยท่านได้สอนอยู่นานถึง 15 ปี เมื่อหลวงพ่อปริม มรณภาพท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนตั้งแต่ปีพ.ศ.2492 ทำให้ต้องหยุดสอนหนังสือเพราะมีภาระธุระทางงานพระศาสนามากขึ้น และเป็นช่วงที่มีพระสงฆ์ที่มีความรู้หลายองค์สามารถเป็นครูสอนแทนได้
 
ปีพ.ศ.2494 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2499 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูที่ "พระครูประสาธน์ขันธคุณ" ก่อนจะเลื่อนเป็นชั้นตรี, ชั้นโท และชั้นเอกในราชทินนามเดิมตามลำดับ 
 
ท่านเป็นพระที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้ให้การสนับสนุนด้านการบริหารและการเงินแก่โรงเรียนต่างๆ ตลอดมา ด้วยคุณงามความดีในปี พ.ศ. 2515 จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาถวายพระกฐินต้นที่วัด และทรงสร้างศาลา ภปร.ถวายแก่หลวงพ่อมุมด้วย ซึ่งนับว่าเป็นวัดแรกของภาคอีสาน "หลวงพ่อมุม" มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2522 สิริอายุได้ 93 ปี พรรษา 73 
 
พระเครื่องที่ท่านสร้างและปลุกเสกไว้จะทำตามพิธีกรรมแบบเขมรโบราณ ประเภทเหรียญจะมีมากที่สุด รุ่นแรกสร้างปีพ.ศ.2507 มี 2 บล็อกคือพิมพ์ส.หางยาว (นิยม) และ ส.หางสั้น ท่านจะลงเหล็กจารด้วยลายมือทั้งหมด, รุ่น 2 ปี 2508, เหรียญรูปไข่ ปี 2509, เหรียญเม็ดแตง-เหรียญเสมา ปี 2509, เหรียญรูปอาร์ม ปี 2515, เหรียญนักกล้าม ปี 2517, เหรียญพิมพ์เตารีด, เหรียญปาป้ามุม สร้างปี 2516
 
โดยหน่วยทหารนาวิกโยธินสหรัฐ รุ่นนี้ดังมากพอปลุกเสกเสร็จก็ทดลองยิงกันเลย ปรากฏว่ายิงไม่ออก, เหรียญทรงตาลปัตร ปี 2514 ส่วนพระผงมีหลายพิมพ์ ที่นิยมมี 3 พิมพ์คือ สมเด็จลายเสือ, สมเด็จสามชั้น และสมเด็จหลังรูปเหมือน ปี 2516 พระปิดตามีรุ่นเดียวสร้างปี 2517 นอกจากนี้ ยังมีรูปหล่อปั๊มคอตึง, แหวนรูปเหมือน 4 รุ่น, เครื่องรางของขลังเช่น ตะกรุดโทน ตะกรุดเมตตา ผ้ายันต์ สีผึ้ง ลูกอม ฯลฯ
 
พระเครื่องของท่านแม้ว่าจะมีราคาไม่สูง แต่ด้านอิทธิคุณแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาบอกว่าดีทั้งทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดคงกระพัน โดยเฉพาะคนศรีสะเกษต่างเชื่อมั่นกันมากเนื่องจากได้รับประสบการณ์กันนับไม่ถ้วน

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดปราสาทเยอ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(12)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(13)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(7)

น้ำตก น้ำตก(5)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)