หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.สกลนคร > อ.เมืองสกลนคร > ต.พังขว้าง > ประเพณีเลี้ยงผีประจำปี


สกลนคร

ประเพณีเลี้ยงผีประจำปี

ประเพณีเลี้ยงผีประจำปี

Rating: 4.2/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา ระหว่างเดือน 4 - 5 (เดือนมีนาคม - เมษายน) ของทุกปี
 
ความสำคัญ ประเพณีแซงสนัมประจำกะมอ เป็นประเพณีไทยพื้นบ้านในกลุ่มคนที่เชื่อว่าผีเป็นวิญญาณที่มีอำนาจลึกลับ สามารถทำให้คนเจ็บป่วยได้ การบำบัดรักษามิให้ร่างกายเจ็บป่วยคือ การป้องกันมิให้วิญญาณผีเข้าสิงในร่างได้อีกหลังจากที่ได้ทำพิธีปัดเป่าให้ผีออกไปจากร่างกาย โดยแม่ครูหรือแม่หมอ ทำพิธีเหยา (เยา) คุมผีให้ออกไปแล้ว
 
เพื่อเป็นการซ่อมเสริมสุขภาพของตน ในกลุ่มคนที่รักษาด้วยการเหยาในแต่ละหมู่บ้านจะรวบรวมผู้ที่มีศรัทธาต่อแม่ครู ซึ่งเคยให้การบำบัดรักษาคนมาแล้วให้มาทำพิธีร่วมกันเป็นประจำทุกปี โดยจัดทำพิธีขึ้นในหมู่บ้านของตน และนิยมจัดกันระหว่างช่วงเดือน 4 ถึง เดือน 5 ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ดอกไม้ป่าบานสะพรั่งสามารถเก็บมาบูชาแม่ครูและจัดผูกร้อยห้อยตามเสาไม้ โดยเฉพาะดอกจำปา
 
ซึ่งนิยมนำมาเป็นพวง ๆ ประดับเสากลางลานพิธีกรรม พิธีกรรมเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า "ลงสนาม" หรือในภาษาไทยโซ่ เรียกว่า "แซงสนัม" ซึ่งนอกจากจะเป็นการเลี้ยงผีเชิญผีออกจากร่างแล้ว ยังเป็นการบูชาแม่ครูหรือหมอเหยาไปพร้อมกันด้วย พิธีแซงสนัมประจำกะมอจึงมีความสำคัญทั้งในเชิงความเชื่อในด้านการตรวจสุขภาพมิให้เจ็บป่วยจากวิญญาณผีร้ายและเป็นการตอบแทนแม่ครูที่เคยรักษาตนให้พ้นจากความเจ็บป่วยที่ผู้เจ็บป่วยหรือ "ลูกแก้ว" จะพบปะแม่ครูทำพิธีตอบแทนบุญคุณแม่ครูปีละ 1 ครั้ง ตลอดไป
 
พิธีกรรม พิธีกรรมในงานลงสนามเลี้ยงผี โดยปกติจะจัดขึ้น 2 วัน โดยช่วงก่อนถึงวันงานจะมีผู้ที่ได้รับการอุปโลกให้เป็นหัวหน้า กลุ่มผู้ทำพิธีที่เรียก "ลูกแก้ว" จะปรึกษาหารือกำหนดวันลงสนาม ติดต่อนัดหมายกับแม่ครู รวมทั้งรวบรวมเงินทองที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในวันทำพิธีกรรมและค่าตอบแทนแม่ครู (บ้านกกส้มโฮง ตำบลกุสุมาลย์ เก็บคนละ 200 บาท รวม 19 คน) ครั้นถึงวันงานในภาคเช้าจะช่วยกันทำตูบทำผาม (ปะรำพิธี)
 
ปะรำพิธีจัดขึ้นไม่ยากนัก โดยหาบริเวณที่เป็นลานกว้างด้านหนึ่งจะปลูกร้านปักเสาเป็นล็อคๆ ให้มีความกว้างยาวพอที่จำนวนลูกแก้ว และแม่ครูจะนั่งทำพิธีหรือนอนพักผ่อนในเวลากลางคืนได้ รวมทั้งมีพื้นที่จะวางเครื่องใช้สิ่งของที่จำเป็นปกคลุมหลังคาด้วยวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น เช่น หญ้าแฝก ผ้าใบ ผ้าร่ม ด้านหนึ่งของปะรำพิธีหาแผ่นไม้หรือแผ่นสังกะสีกั้นไว้มิให้โล่งแจ้งเพื่อวางเครื่องบูชาของลูกแก้วแต่ละคน
 
ปัจจุบันอาคารที่ใช้ทำพิธีมักปลูกคล้ายปะรำยาว ๆ ทรงหมาแหงน สำหรับหมู่บ้านที่มีเต้นท์ผ้าใบชนิด 2 - 3 ห้อง ก็นำมาใช้ได้อย่างสะดวก เพียงแต่หาสังกะสีมากั้นด้านหนึ่งเพื่อบดบังเครื่องบูชามิให้โล่งแจ้งเกินไปนัก
 
การจัดเตรียมอีกส่วนหนึ่งคือ การทำเสากลางลานพิธีไว้รำ ตกแต่งด้วยดอกไม้ โดยเฉพาะดอกจำปา นำมาร้อยเป็นพวง แขวนไว้ตามปลายร่มขนาดใหญ่ รอบ ๆ เสากลางลานพิธี จะมีโอ่งน้ำ กาละมัง จะใส่น้ำไว้ใช้คล้ายเป็นอ่างน้ำมนต์ใช้ลูบหน้าเวลาร้อน ใช้ตักน้ำรดแม่ครูและลูกแก้วด้วยกัน ตลอดจนใช้ลอยเรือกาบกล้วยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ส่งเคราะห์ส่งผีคืนสู่ถิ่นเดิมของตน
 
การตกแต่งเสากลางลานพิธี เสาไม้ต่าง ๆ มักนิยมนำดอกไม้มาประดับ เช่น ดอกรัง ดอกจิก และดอกจำปา ในช่วงการจัดพิธีลงสนามเป็นช่วงฤดูดอกไม้บานดังคำกลอนที่ว่า "เดือนสามค่อย (คล้อย) ดอกไม้บานคี่ (คลี่) เดือนสี่ค่อยดอกไม้บานหลาย"
 
ในการตกแต่งปะรำพิธี หมอเยาบางคนจะใช้ไม้อัดแผ่นมาทำเป็นรูปตัวช้างม้า ทาด้วยสีเหลือง หมายถึงเป็นสัตว์พาหนะเชิญให้ผีมาประทับร่างตนและส่งผีกลับที่เดิม
 
ลูกแก้วทุกคนที่เข้าร่วมพิธีจะเตรียม หมอน 1 ใบ ขันธ์ 5 ซึ่งประกอบด้วยเทียน 5 เล่ม ดอกไม้ 5 มัด เงินค่าพิธี แล้วแต่ละแห่งกำหนด (เช่น 1 บาท 5 สลึง หรือ 6 สลึง) อุปกรณ์ในการเสี่ยงทาย เช่น ดาบ (ง้าว) ข้าวสาร เป็นต้น อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีผู้จัดหาไว้ให้แม่ครูรวมทั้งเสื้อผ้าที่จะแต่งเมื่อทำพิธีและอุปกรณ์เสี่ยงทายบางอย่างเช่น ไข่ไก่ 1 ฟอง เหรียญบาท 5 เหรียญ เป็นต้น ตลอดจนการเตรียมหมอแคน ดนตรี กลอง
 
ก่อนเวลาเที่ยงวันหมอเยาจะแต่งตัวเข้าสู่ปะรำพิธีพร้อมด้วยลูกแก้ว ทุกคนเข้าประจำที่ของตน ลูกแก้วนั่งประนมมือบูชาครู แม่ครูพนมเพื่อเชิญผีเข้าสู่ร่างตน (แม่ครูคำสี ศรกายสิทธิ์บ้านใต้ มีผี 2 ตัว ที่เชิญเข้าทรง คือ อ้ายคำแดง และนางสายทอง) โดยร่างกายจะสั่นไหว เมื่อผีเข้าประทับร่างแล้วจะทำพิธีเสี่ยงทายว่าจะเริ่มพิธีกรรมเชิญผีอื่น ๆ ได้หรือไม่
 
การเสี่ยงจะใช้การจับเหรียญเงินวางไว้ที่นิ้วมือ และการตั้งไข่ไก่ที่ฝ่ามือ ถ้าหากวัสดุไม่ร่วงจากนิ้วมือจากฝ่ามือ แสดงว่า ถึงเวลาทำพิธีได้แล้ว แต่ถ้าวัสดุร่วงหล่นแม่ครูจะยังไม่ทำพิธี จะรอเวลาแล้วทำการเสี่ยงทายใหม่ จนแน่ใจว่าควรเริ่มพิธีได้แล้วพิธีกรรมในขั้นต่อไปคือ การขับลำเชิญผีทั้งหลายให้ลงมารับรู้การเลี้ยงผีประจำปีครั้งนี้ หลังจากนั้นบรรดาแม่ครูและลูกแก้วจะออกฟ้อนรำไปรอบ ๆ เสาลานพิธีท่ามกลางเสียงแคนที่บรรเลงเร้าใจ เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารจะหยุดพักหลังจากนั้นก็ทำพิธีบอกกล่าวผี และออกฟ้อนรำเป็นที่สนุกสนานด้วยท่าทางต่าง ๆ ซึ่งบรรดาผู้ทำพิธีเชื่อว่าเป็นความต้องการของผีให้ทำเช่นนั้น
 
การทำพิธีเลี้ยงผีจัดขึ้นในครึ่งวันแรก กลางคืนและวันรุ่งขึ้นในช่วงเช้าและบ่าย ผู้เข้าประกอบพิธีจะใช้เวลากับการฟ้อนรำและให้แม่ครูปัดเป่าให้ร่างกายตนแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ หลังจากนั้นจึงเสี่ยงทายมีการทำกระทงหน้าวัวเพื่อสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณผี บางแห่งทำเป็นเรือกาบกล้วยลอยน้ำไปเป็นเสร็จพิธีกรรม หลังจากนั้นแม่ครูหรือหมอเยาจะกลับบ้านช่องถิ่นฐานของตน
 
สาระของพิธีกรรมเลี้ยงผีลงสนามของชนกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กลุ่มผู้ไทยโซ่ ญ้อ โย้ย กะเลิง ลาว ที่เชื่อในเรื่องวิญญาณทำให้เกิดความเจ็บป่วย เชื่อว่าผีทุกชนิด เช่น ผีมูล (ผีบรรพบุรุษ) ผีน้ำ ผีป่า ผีนา ผีฟ้า ทำให้เจ็บป่วยได้ ทั้งนี้เพราะการทำนาหาของป่าต้องเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การรักษาสุขภาพที่ดีคือการปัดเป่าขอร้องให้ผีออกจากร่างกายด้วยผู้ที่มีความรู้ มีอำนาจเหนือกว่าตน ด้วยการจัดทำพิธีเลี้ยงผีและเลี้ยงหมอเยาไปพร้อม ๆ กัน นับเป็นการรักษาสุขภาพ ตามระบบความเชื่อดั้งเดิมแบบพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งที่ยังมีอยู่ในชนบทภาคอีสาน

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(9)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(6)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(19)

โบสถ์ โบสถ์(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(4)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(7)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(3)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(14)

น้ำตก น้ำตก(4)

ถ้ำ ถ้ำ(5)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(9)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(5)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(4)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)