
วัดพระเจ้าใหญ่ (วัดใหญ่ศรีมหาธาตุ)

Rating: 3.6/5 (14 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวร้อยเอ็ด
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดพระเจ้าใหญ่ (วัดใหญ่ศรีมหาธาตุ) เจดีย์ศรีมหาธาตุ เป็นการก่อสร้างแทนองค์เจดีย์เดิมที่ปรักหักพัง โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นยังมีการบรรจุสิ่งของมีค่าที่ประชาชนในท้องถิ่นนำมาบรรจุลงไปในองค์พระธาตุในขณะที่มีการก่อสร้าง ชื่อองค์เจดีย์ก่อสร้างด้วยอิฐดินเผาจากการสอบความ พระทรงชัย สีลรัฒใน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เล่าว่าก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2476 - 2477 ในขณะที่ท่านอายุได้ 17 - 18 ปี ได้ร่วมมือในการก่อสร้าง ลักษณะการก่อสร้างได้เลียนแบบองค์พระธาตุพระนม
ลักษณะทั่วไป พระธาตุใหญ่ศรีมหาตุสร้างขึ้นโดยการก่ออิฐคือปูนภายนอกตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นปิดประดับกระจกสีมียอดฉัตร เป็นโลหะวัสดุสำคัญ ที่ใช้ในการก่อสร้างได้จากอิฐและปูนซึ่งได้มาจากกรรมวิธีการยัดโตแบบโบราณกล่าวคือ อิฐได้จากดินในละแวกใกล้เคียงโดย ตั้งเตาเผาภายในวัดใหญ่ศรีมหาธาตุ
ส่วนรูปปั้นได้จากการขุดเอาหินปูนที่อยู่ในท้องนาระแวกนั้มาเผากรองให้ละเอียดนำมาผสมกับทรายจากแม่น้ำชีและใช้น้ำประสานจากกาวหนังควาย ที่ได้จากการเคี่ยวหนังวัวควายและยางบง (ต้นบงเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มียางเหนียว) โดยนำวัสดุเหล่านี้มาผสมโขลกตำ ให้เข้ากันแล้วจะได้ปูนที่ใช้ในการก่อฉาบ ชาวบ้านเรียกว่า "ปูนคำชะทายโบก" ซึ่งใช้ส่วนผสม ปูน 5 ส่วน ทราย 7 ส่วน น้ำอ้อย 1 ส่วน ยางบง 9 ส่วน
รูปทรงขององค์พระธาตุ รูปทรงขององค์พระธาตุได้รับอิทธิพลจากพระธาตุพระนม อำเภอธาตุพระนม จังหวัดนครพนม นั้นคือ มีฐานสี่เหลี่ยมช้อนกันหลายๆ ชั้น รวม 4 ชั้น และมีองค์ระฆัง บัลลังก์ ในส่วนยอด รูปทรงเรียวชลูดจากฐานขึ้นสู่ยอดโดยฐานโดยรอบชั้นที่ 1 ประดับด้วยรูปปั้นพระพุทธรูปและพระสาวกเรียงรายโดยรอบ ชั้นที่ 2 รูปปั้นพระพุทธรูปและพระสาวกประทับยืน ชั้นที่ 3, 4 ทำภาพพระพุทธรูปและพระสาวกเช่นเดียวกัน ขนาดขององค์พระธาตุ (ฐาน 9 เมตร) สูง 16 เมตร
ความสำคัญต่อชุมชนและท้องถิ่น พระธาตุใหญ่ศรีมหาธาตุ เป็นปูชนียสถานของคนในท้องถิ่นและบริเวณใกล้เคียงให้ความเคารพและศรัทธามาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ และมีความผูกพันธ์กับชุมชนในท้องถิ่นเป็นเวลายาวนาน
และเกิดจากการก่อสร้างของคนในท้องถิ่นเพื่อเป็นพุทธบูชาต่อพระพุทธศาสนา ปัจจุบันประชาชนจะไปทำบุญและไปเคารพกราบไหว้ในวันสำคัญทางศาสนา และงานประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่นและเชื่อว่าเป็นสถานทีศักดิ์สิทธิที่คนในท้องถิ่นไปขอพระเช่นเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิโดยทั่ว ๆ ไป จึงเป็นไปสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด
การเดินทาง สามารถเดินทางได้สะดวกตลาดตลอดทั้งปีด้วยรถยนต์ ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 18 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนสายร้อยเอ็ด - โพนทอง ถึงกิโลเมตรที่ 6 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางบ้านดอนขี - บ้านหวายหลืม - บ้านพระเจ้า




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
|