หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.นครพนม > อ.เมืองนครพนม > ต.อาจสามารถ > ลำห้วยฮ่องฮอ และบ้านฮ้างโพนแดง


นครพนม

ลำห้วยฮ่องฮอ และบ้านฮ้างโพนแดง

ลำห้วยฮ่องฮอ และบ้านฮ้างโพนแดง

Rating: 4/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 24 ชั่วโมง
 
ลำห้วยฮ่องฮอกับบ้านฮ้างโพนแดง ลำห้วยฮ่องฮอเป็นลำน้ำขนาดเล็กมีจุดเริ่มต้นจากภูกระแต (ภูกระแต)เป็นภูดินและหินลูกรังเป็นส่วนใหญ่จะมีหินดานบ้างเล็กน้อยมีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตรจุเริ่มต้นของภูกระแตนับจากหมู่บ้านภูเขาทองตำบลหนองญาติอำเภอเมืองจังหวัดนครพนมยาวเป็นเนินดินทอดยาวไปทางทิศเหนือผ่านตำบลอาจสามารขาทองตำบลหนองญาติอำเภอเมืองจังหวัดนครพนมยาวเป็นเนินดินทอดยาวไปทางทิศเหนือผ่านตำบลอาจสามารถ ตำบลเวินพระบาทตำบลรามราชอำเภอเมืองนครพนมตำบลนาคำ อำเภอศรีสงครามจังหวัดนครพนม
 
ลำห้วยฮ่องฮอเริ่มต้นที่บ้านสำราญตำบลอาจสามารถอำเภอเมืองนครพนมในฤดูกระแตลงไปทางทิศใต้ชาวบ้านเรียกว่าฮ่องฮอบางส่วนของฮ่องฮอจะกว้างบ้างอคบบ้าง บางแห่งเป็นเวิ้งกว้างแต่ไม่ลึกมากชาวบ้านจะเรียกหนองน้ำหนองน้ำโดยตั้งชื่อแต่ละหนองน้ำตามสภาพพื้นที่หรือชื่อต้นไม้ที่ปรากฏให้เห็นหรืออาจตั้งชื่อตามสถานที่สำคัญก็มีซึ่งที่ตั้งแต่ละหนองน้ำต่าง ๆ จะอยู่ในพื้นที่ปกครองของอำเภอเมืองนครพนมทั้งสิ้นดังนี้
 
หนองซำเหนือ อยู่ในเขตหมู่บ้านไผ่ล้อมกับหมู่บ้านอาจสามารถตำบลอาจสามารถอำเภอเมืองนครพนมที่เรียกว่าหนองซำเหนือเพราะคำว่าซำหมายถึงบริเวณที่มีน้ำซับหรือน้ำซำที่ภาคอีสานนำยมเรียกซึ่งจะมีน้ำซึมอยู่ตลอดแม้หน้าแล้งก็ไม่แห้งเหมือนที่อื่น
 
หนองธรรมเนียม อยู่ระหว่างหมู่บ้านคำเกิ้มกับหมู่บ้านไผ่ล้อมตำบลอาจสามารถ เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่าง ๆชาวบ้านจะไปร่วมทำบุญกราบไหว้พระธาตุที่วัดบนภูกระแต(เขตวัดป่าบ้านไผ่ล้อมในปัจจุบัน)เมื่อผ่านหนองน้ำก็จะหยุดพักผ่อนกันตามธรรมเนียม มีการละเล่นสนุกสนานบ้างจึงเรียกว่าหนองธรรมเนียม
 
หนองปากเสือ ในสมัยก่อนบริเวณหนองน้ำนี้จะมีเสือมากเหนือหนองน้ำขึ้นเนืนไปทางทิศตะวันตกจะมีโขดหินเรียกว่าถ้ำเสือปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่หนองปากเสือแห่งนี้ชาวบ้านเล่าว่าแต่ก่อนจะพบเห็นเสือลงมากินน้ำบ่อย ๆ
 
หนองฮางเกลือ (รางเกลือ) อยู่ในเขตพื้นที่บ้านคำเกิ้มที่ดินแถบนี้จะเป็นดินโป่งดินเค็มชาวบ้านขุดบ่อเอาน้ำไปต้มทำเกลือสินเธาว์ อุปกรณ์การต้มเกลือจะทำเป็นราง หรือฮางจึงเรียกว่าหนองฮางเกลือ
 
หนองเปือย ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านโพนแดง(ปัจจุบันร้างไปแล้ว)กับหมู่บ้านคำเกิ้ม เป็นหนองน้ำที่มีต้นเปือย(ตันตะแบก)มากชาวบ้านจึงเรียกว่า หนองเปือย
 
หนองปลาซิว ตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้านโพนแดงมีปลาซิวในหนองน้ำนี้เป็นจำนวนมาก
 
หนองสิม ตั้งอยู่ถัดจากหนองปลาซิวลงไปทางทิศใต้แต่ยังอยู่ในเขตบ้านโพนแดง เดิมบริเวณริมหนองน้ำมีวัดมีโบสถ์หรือสิมตั้งอยู่(เมื่อปีพ.ศ.2538 มีรถมาขุดตักเอาดินไปถมที่และขุดพบพระพุทธรูปเป็นพระหินแกะสลักแต่แตกเหลือเพียงครึ่งเดียว) 
 
หนองปลาเป้า อยู่ระหว่างบ้านโพนแดงกับดอนกำพร้า (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านอัมพร 2) เป็นหนองน้ำที่ปลาปักเป้าชุกชุมมาก
 
หนองยาว อยู่บริเวณหมู่บ้านอัมพร 2 มีความยาวมากกว่าหนองน้ำอื่น ๆ
 
หนองหัวขัว อยู่ระหว่างบ้านโพนบกกับบ้านน้อยหนองเค็มมีสะพาน (ขัว)ข้ามห้วยบริเวณนั้นเพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวก จึงเรียกว่าหนองหัวขัว
 
หนองเรือ อยู่ใกล้กับบ้านน้อยหนองเค็ม เรือหาปลาจะจอดเทียบท่าอยู่หนองน้ำแห่งนี้มาก
 
หนองเบ็น อยู่ตรงข้ามกับวัดป่าศรีสมพรหรือวัดหัวดงมีต้นเบ็นมากจึงเรียกว่าหนองเบ็น
 
หนองไผ่ อยู่บริเวณทิศตะวันออกของหมู่บ้านภูเขาทองช่วงนี้ห้วยฮ่องฮอจะแคบเข้าเป็นลำน้ำเล็กๆ ริมน้ำกอไผ่ป่าอยู่มากไหลผ่านหมู่บ้านน้อยใต้บ้านหนองจากจันทร์ไปบรรจบกับห้วยบังกอเป็นอันสิ้นสุดของลำน้ำฮ่องฮอเพียงเท่านี้
 
ปัจจุบันทางราชการได้มีขุดลอกหนองน้ำต่าง ๆ ที่เกิดจากลำห้วยฮ่องฮอบ้างก็มีการถมที่สร้างฝายและถนนหนทางทำให้หนองน้ำหลายแห่งหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านโพนแดงได้หายไปจากแผนที่จังหวัดนครพนมแล้วจะมีเพียงคำพูดของชาวบ้านที่เรียกว่าสถานที่ตั้งของหมู่บ้านโพนแดงว่าบ้านฮ้างโพนแดงเท่านั้นทำไมบ้านโพนแดงจึงต้องร้างไป
 
ในอดีตบ้านโพนแดงเป็นหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยฮ่องฮอตำบลอาจสามารถอำเภอเมืองนครพนม มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่เศษประชากรประมาณ 1800 คน เป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือนหนานแน่นประมาณ300หลังคาเรือนแบ่งเป็น2หมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้าน2คน
 
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนัก(ชาวบ้านเรียกว่าโรคห่า)ทำให้ชาวบ้านตายไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่มียารักษาโรคเหมือนในปัจจุบันดังนั้นพวกที่เหลือจึงอพยพทั้งหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่นหมดปล่อยให้บ้านโพนแดงร้างไปเรียกว่าบ้านฮ้างโพนแดงจนถึงปัจจุบันส่วนชาวบ้านโพนแดงที่อพยพไปนั้นก็ไปอยู่หมู่บ้านโพนสว่าง บ้านกกต้องบ้านท่าควายบ้านหนองบึกบ้านภูเขาทองบ้านนาสมดีและบ้านนาราชควาย
 
ในปัจจุบันที่บริเวณบ้านโพนแดงได้มีการก่อตึ้งวัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยมีนายเรืองวงศ์ดีนายขุนทองวงศ์คำสีนายเรืองพ่อวงศ์และชาวหมู่บ้านอัมพร2 ร่วมกันบูรณะได้ขออนุญาตจากสำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองนครพนมและคงใช้ชื่อวัดโพธิ์ศรีซึ่งเป็นชื่อเดิมชองวัดในอนาคตคงจะเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านอัมพร2 และชาวพุทธทั้งหลาย

วิถีชีวิต หมวดหมู่: วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน กลุ่ม: หมู่บ้าน ชุมชน

ปรับปรุงล่าสุด : 7 ปีที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(1)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ห้องสมุด ห้องสมุด(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(23)

โบสถ์ โบสถ์(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(11)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(1)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(5)

น้ำตก น้ำตก(2)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(3)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(1)