หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.มุกดาหาร > อ.หว้านใหญ่ > ต.ชะโนด > วัดลัฏฐิกวัน


มุกดาหาร

วัดลัฏฐิกวัน

วัดลัฏฐิกวัน

Rating: 4.3/5 (6 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดลัฏฐิกวัน สร้างขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 โดย พระนันทวิโร (บุ) เป็นผู้สร้างขึ้น ณ บริเวณป่าโนนรัง ถึงห่างจากวัดเดิม (วัดมโนภิรมย์) ไปทางเหนือ 231 วา เดิมเป็นป่ามีซากปูนปรักหักพัง สันนิษฐานว่าเป็นวัดร้างและโบสถ์น้ำเก่าแก่ไม่ทราบประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใดด้วยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีเพียงพระพุทธรูปที่ชำรุด แเละป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป
 
เป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมของท่านหอ (อัญญาท่านหอ) อยู่ก่อนแล้ว พระนนทวโร (บุ) ได้มองเห็นเป็นที่เหมาะจึงได้สร้างวัดลัฏฐิกาวัน  ขึ้นในสถานที่ดังกล่าว หลังจากที่พระนันทวโร (บุ) หรือ ปัญญาท่านบุ มาประจำอยู่วัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่นี้ไม่นานนัก คือในปี พ.ศ. 2463 นั้นเอง
 
ท่านก็ได้รับตำแห่งเป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูนันทวโร (บุ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้รับหน้าที่ปกครองเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอมุกดาหาร อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ปกครองคณะสงฆ์ทั่วมุกดาหาร แต่ประจำอยู่วัดลัฏฐิกวันตามเดิม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ไว้ภายในวัด
 
ที่ตั้ง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนโบราณ มีอายุร่วม 300 ปี (ถึง พ.ศ. 2533) ตั้งอยู่ริ่มฝั่งขวาแม่น้ำโขงห่างจากตัวเมืองมุกดาหารขึ้นไปตามแม่น้ำโขงทางทิศเหนือ 18 กม. และอยู่ห่างจากพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม ตามริมฝั่งโขงลงมาทางทิศใต้ราว 33 กม. (คำว่า "ชะโนด" เป็นชื่อพืชยืนต้นตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายมะพร้าว ใบคล้ายตาล แต่แฉกริ้วใบบอบบางกว่า มีผลกินได้ ชาวไทยอีสานเรียกว่า "ค้อเขียว")
 
รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง เป็นสิมขนาดค่อนข้างเล็กและเตี้ย แปลนรูป 4 เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ภายในขนาด 5.40 ม. x 5.10 ม. แอวขันกออิฐฉาบปูนทำเป็นบัวคว่ำขึ้นไป เสาก่ออิฐขนาดใหญ่ 0.40 ม. ด้านละ 4 ต้น หลังคาทรงปั้นหยายกเป็นจั่วซ้อนบน เดิมมีไม้แกะสลักเป็นยอดปั้นลม และหลังคาก็มุงด้วยกระเบื้อง ดินขอตลอดทั้งหลัง (เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสังกะสีภายหลัง) ผนังก่อทึบ เฉพาะด้านหลังพระประธาน
 
นอกนั้นทำเป็นระเบียงเตี้ย ใช้ขวดเหล้าไวน์ฝรั่งเศสสีเขียวเข้มทำเป็นลูกกรง เว้นเป็นทางเข้าโดยไม่ทำบานประตูสวนสะดุดตาภายในสิมหลังนี้ก็คือ พระประธานปางมารผจญเป็นปูนปั้นปิดทอง มีปัญจวัคคีย์นั่งพนมมือ อยู่รอบด้านหน้า ซึ่งแปลกกว่าที่อื่น ด้านหลังพระประธานก็ทำลวดลายปูนปั้นเป็นตัวกนกให้นูนชะโงกออกมาปกเกตุมาลาพระพุทธรูป ทีผนังสวนอื่นและทีตัวเสานั้น
 
ช่างได้เขียนฮูปแต้มเป็นเรื่องไตรภูมิบ้างทศชาติบ้าง เป็นฝีมือหยาบ ๆ แบบช่างพื้นบ้านอีสาน โดยทั่ว ๆ ไป สวนผนังนอกของด้านหลังนั้นทำปั้นปูนนูนต่ำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ และทวารบาลเอาไว้ โดยรอบสิมหลังนี้จะมีเต้าไม้ยื่นออกมารับเชิญชาย และมีคันทวยยันรับโดยรอบ
 
รูปแบบของคันทวยนั้นได้รับอิทธิพลจากช่างทางเวียงจันท์อย่างแน่นอน (รูปแบบเดียวกับทวยในระเบียงคตของวัดพระธาตุหลวงนครเวียงจันท์) ฐานและเสาใช้ก่ออิฐถือปูนพื้นเมือง โครงสร้างเครื่องบนหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็งขื่อใช้ไม้ 4 เหลี่ยมขนาด 30 ซม. หลังคาเดิมมุงกระเบื้องดินขอทั้งหมด สภาพของวัสดุดูยังคงทนแข็งแรง ใช้งานได้อีกหลายปี

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 7 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดลัฏฐิกวัน

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(2)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(3)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(1)

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(18)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(4)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(5)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

ถ้ำ ถ้ำ(2)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(2)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(1)