หน้าหลัก > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > จ.บุรีรัมย์ > อ.สตึก > ต.สตึก > วัดหนองบัวเจ้าป่า


บุรีรัมย์

วัดหนองบัวเจ้าป่า

วัดหนองบัวเจ้าป่า

Rating: 3.3/5 (6 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดหนองบัวเจ้าป่า หมู่ 5 ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในอดีตบริเวณริมแม่น้ำมูลแห่งนี้กลุ่มคนชาวไทยกวยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความชำนาญในการจับช้างมาตั้งรกรากอยู่
 
หลังจากที่โขลงช้างป่าได้อพยพหนีไปอยู่เขตเขาใหญ่ ประกอบกับการเพิ่มของผู้อาศัยหลายครัวเรือนขยายจนเป็นหมู่บ้าน จนในปี พ.ศ. 2450 ชาวบ้านได้จัดสร้างที่พักสงฆ์ขึ้นโดยการนำของ นายนวน กานะ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
 
โดยได้จัดสร้างวัดใกล้หนองบัว จึงได้ชื่อว่า “วัดหนองบัวเจ้าป่า” ซึ่งในการสร้างอุโบสถนี้ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2488 โดยมีพระครูสุจิตต์ ธรรมประหัฏฐ์  (หลวงพ่อเฮา) ตำแหน่งเจ้าอาวาส (พ.ศ. 2486 – 2496) เจ้าคณะอำเภอและรองเจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้นเป็นผู้นำ
 
โดยได้รับความร่วมแรงร่วมใจ มีจิตศรัทธาและบริจาคทรัพย์จากชาวบ้านใกล้เคียง  ได้แก่  บ้านขาม  บ้านคูขาด  บ้านหนองไผ่  บ้านสะกระจาย  ร่วมก่อสร้างเริ่มจากการปรับพื้นที่ ถางป่าไผ่ ถมดิน (นายโสม สายสร้อย กล่าวว่าอุโบสถสร้างค่อมตอต้นโพธิ์)
 
โดยช่วยกันขนดินตลิ่งแม่น้ำมูลมาถม ใช้ไม่ไผ่มาทำเป็นไม้ทุบหน้าดินเพื่อให้ดินแน่น ส่วนตัวอุโบสถได้ว่าจ้างช่างชาวญวนที่มีฝีมือทางช่างก่อสร้างถนัดงานปูนเป็นผู้ก่อสร้าง (เนื่องจากคนในชุมชนไม่มีผู้ใดถนัดด้านงานก่อสร้าง) ขั้นตอนการก่อสร้างของช่างญวนเริ่มจากการเผาอิฐ   โดยใช้พื้นที่ที่ไกลออกจากหมู่บ้านเล็กน้อย (บริเวณที่ตั้งเมรุในปัจจุบัน) เป็นบริเวณเผา
 
เมื่อเผาเสร็จชาวบ้านได้ช่วยกันหาบมาไว้บริเวณสถานที่ก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ช่าง และร่นระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้าง สีที่ใช้ในการทาผนังภายนอกอุโบสถใช้เปลือกหอยนำมาเผาแล้วตำให้ละเอียดผสมกับสี ทำให้มีความคงทนของสี
 
โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างครั้งนั้นประมาณ 8,000 บาท (พระครูอนุรักษ์ สิริธรรม, 2549, มิถุนายน 20) จากนั้นก็ได้มีการฉลองอุโบสถขึ้นในปี พ.ศ. 2490 เป็นเวลา 2 วัน 2 คืน (ทองดี  ศรีสง่า, 2549, มิถุนายน  20) และได้ถือเป็นอุโบสถสำคัญของชุมชนและชุมชนใกล้เคียงที่ใช้ในการประกอบสังฆกรรมตั้งแต่นั้นมา
 
ประวัติการซ่อมแซมบูรณะ ในปี พ.ศ. 2523 พระครูอนุรักษ์ ชลาชัย (หลวงพ่อหมอ) ตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้มีการซ่อมแซมส่วนหลังคาของอุโบสถที่ชำรุด โดยทำการเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากแผ่นกระเบื้องซีเมนต์หางว่าวเป็นแผ่นสังกะสี  
 
ส่วนตัวอาคารยังไม่มีประวัติการซ่อมแซมใด ๆ นอกจากการถมดินรอบ ๆ อาคารสูงเท่ากับความสูงหนึ่งขั้นบันได และปัจจุบันอยู่ระหว่างการบูรณะโดยเป็นโครงการอนุรักษ์ของกรมโยธาธิการ ทหารบก กระทรวงกลาโหม โดยมีการให้เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรมาสำรวจและวางแผนการอนุรักษ์
 
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นอุโบสถทึบพื้นบ้านแบบมีมุขหน้าเป็นอาคารชั้นเดียวขนาด 4 ห้อง สร้างโดยช่างญวน ผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 4.84 เมตร (1 ช่วงเสา) ยาวประมาณ 8.36 เมตร (4 ช่วงเสา) มีมุขลดด้านหน้า ขนาดกว้าง 1.64 เมตร ยาว 2.53 เมตร ฐานปัทม์ ยกสูงกว่าระดับดิน
 
มีบันไดขึ้นทางด้านหน้า จำนวน 3 ขั้น ตัวอุโบสถ โครงสร้างเสา - คาน ก่อผนังอิฐฉาบปูนภายในฉาบทับเสาไม้ ภายนอกฉาบปูนทับเสาไม้ และเขียนสี หลังคาทรงจั่วเปิด มีลักษณะสองซ้อน ๆ ละสองตับ และมีหลังคาลดที่คลุมมุขลดด้านหน้าที่มีลักษณะสองตับ มีส่วนประดับหน้าบัน ลักษณะเครื่องลำยอง ประกอบด้วย ช่อฟ้า ตัวลำยอง ใบระกา นาคสะดุ้ง และหางหงส์
 
สภาพอาคารในปัจจุบันปรากฏรอยแตกร้าวของผนังจากแนวเสา เริ่มปรากฏเมื่อ 20 ปีก่อน) และหลังคารั่ว การใช้สอย พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารขนาดกว้างประมาณ 3.70 เมตร ยาวประมาณ 7.20 เมตร (26.64 ตารางเมตร) อุโบสถหลังนี้ยังคงใช้ประกอบสังฆกรรมตามปกติ แต่จำกัดจำนวนผู้เข้าไปในโบสถ์ มิให้มีจำนวนมากเกินไปเนื่องจากสภาพของอาคารที่มีการชำรุด

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 7 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดหนองบัวเจ้าป่า

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(14)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(5)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(76/716)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(5)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(2)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(1)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(14)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

สนามกีฬา สนามกีฬา(2)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)