หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.สระบุรี > อ.พระพุทธบาท > ต.พระพุทธบาท > ประเพณีตักบาตรดอกไม้


สระบุรี

ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้

Rating: 3.8/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา วันเข้าพรรษา
 
ความสำคัญ เจตนาเดิมของชาวบ้านที่ทำประเพณีนี้เพราะต้องการให้พระที่กำลังเดินขึ้นไปที่พระอุโบสถ เพื่ออธิษฐานเข้าพรรษาได้มีดอกไม้บูชาพระ ชาวบ้านเองก็พลอยเป็นผู้ได้บุญไปด้วย แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิธีการใหญ่ มีประชาชนจากท้องถิ่นอื่นมาร่วมงาน ขบวนรถแต่ละอำเภอตกแต่งสวยงาม บางครั้งก็มีการโฆษณากิจกรรมของท้องถิ่นตนไปด้วย เป็นงานที่รวมคน รวมความคิด รวมฝีมือ และรวมศรัทธา
 
พิธีกรรม ที่จริงการนำดอกไม้ถวายพระหรือบูชาพระจะทำเมื่อใดก็ได้ แต่ที่ชาวพระพุทธบาทปฏิบัติกันเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา คือ เมื่อถึงฤดูฝนจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่งขึ้นตามเชิงเขา ดอกชนิดนี้มีลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือต้นขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ บางต้นก็มีดอกสีเหลือง บางต้นก็มีดอกสีขาว บางต้นก็มีดอกสีม่วง ดอกชนิดนี้จะขึ้นเฉพาะหน้าฝนเข้าพรรษาเท่านั้น ชาวบ้านจะเก็บดอกชนิดนี้มาถวายพระ และเรียกดอกนี้ว่า ดอกเข้าพรรษา
 
ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมีความประสงค์จะทำให้งานนี้เป็นประเพณีไทยที่มีเอกลักษณ์ของชาวสระบุรี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย จึงให้แต่ละอำเภอจัดตกแต่งรถมาร่วมพิธีนี้ และมีประชาชนจากอำเภอต่างๆ มาร่วมเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงวันเข้าพรรษาเวลาบ่าย (เวลาแน่นอนตามแต่จะกำหนด) ขบวนรถต่างๆ
 
จะเริ่มจากหน้าที่ว่าการอำเภอพระพุทธบาท เคลื่อนขบวนเข้าสู่ถนนสายคู่เพื่อเดินทางมายังมณฑป สองฟากถนนจะมีประชาชนนำดอกไม้พรรษามาคอยใส่บาตรพระและชมขบวนรถด้วย หมดขบวนรถจะมีภิกษุ-สามเณรเดินรับดอกไม้ที่ประชาชนนำมาใส่บาตร เมื่อรับหมดภิกษุ-สามเณรก็เดินขึ้นสู่พระอุโบสถทำพิธีกรรมของสงฆ์อธิษฐานเข้าพรรษา ประชาชนก็แยกย้ายกันกลับบ้าน
 
ประเพณีนี้ตามเจตนาเดิมของชาวบ้านก็คือ ได้บุญจากการได้ถวายดอกไม้แด่ภิกษุ-สามเณร และโยงเรื่องนี้ไปถึงแบบอย่างครั้งพุทธกาล ที่เล่าว่านายมาลาการมีหน้าที่เก็บดอกมะลิวันละ 8 กำมือไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์กรุงราชคฤห์ วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิอยู่นั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุจำนวนหนึ่ง
 
นายมาลาการเกิดความเลื่อมใสอย่างมากจึงนำดอกมะลิไปถวายพระพุทธเจ้า โดยมิได้เกรงพระราชอาญาจากพระเจ้าพิมพิสารที่ตนไม่มีดอกมะลิไปถวายวันนั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบก็มิได้ลงพระอาญาแก่นายมาลาการแต่อย่างใด กลับทรงพอพระทัยในการกระทำของนายมาลาการ ได้พระราชทานรางวัลแก่นายมาลาการเป็นจำนวนมาก นายมาลาการก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เดิมประชาชนประกอบพิธีกรรมนี้ก็เพื่อรับบุญ หวังผลบุญที่ตนจะได้รับ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(2)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

พระราชวัง พระราชวัง(4)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(8)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(5)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

ถ้ำ ถ้ำ(6)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(1)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(8)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)