หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.สุโขทัย > อ.ศรีสัชนาลัย > ต.หาดเสี้ยว > ประเพณีแห่ช้างบวชนาค


สุโขทัย

ประเพณีแห่ช้างบวชนาค

ประเพณีแห่ช้างบวชนาค

Rating: 3.2/5 (10 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค ประเพณีภาคเหนือ (ประเพณีไทย) และวัฒนธรรมภาคเหนือ ช่วงเวลา เทศกาลสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
 
จัดขึ้นวันที่ 7-8 เมษายนของทุกปี ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นประเพณีของชาวบ้านหาดเสี้ยวเป็นชาวไทยพวน ที่อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวางทางตอนเหนือของเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว
 
ประเพณีที่สำคัญจังหวัดสุโขทัย ประเพณีแห่ช้าง บวชนาค หาดเสี้ยว ประเพณีแห่ช้าง บวชนาค จัดขึ้นวันที่ 7-8 เมษายนของทุกปี ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
 
ชาวบ้านเรียกว่า “บวชช้าง” งานประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว เป็นประเพณีของชาวบ้านหาดเสี้ยวเป็นชาวไทยพวน ที่อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวางทางตอนเหนือของเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว เมื่อมาตั้งรกราก ณ สถานที่ปัจจุบันก็ยังคงสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของตนเองตลอดมา เป็นเวลากว่า 150 ปีแล้ว
 
โดยชาวไทยพวนมีความเชื่อพิเศษมาจาก “เวสสันดรชาด” ว่าเป็นพระวสสันดรประสูตินั้นเป็นวันที่ได้ช้างเผือกสำคัญคือ “ช้างปัจจัยนาเคนทร์” ซึ่งสามารถดลบันดาลให้ผนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธ์ธัญญาหารสมบูรณ์เป็นช้างคู่บารมีพระเวสสันดรและคู่บ้านคู่ เมือง การจัดให้นาคนั่งบนหลังช้าง แล้วแห่เป็นริ้วขบวนนั้น ก็เลียนแบบมาจากเรื่องราวในพระเวสสันดรทรงช้างนาเคนทร์นั่นเอง
 
งานจะจัด 3 วัน คือวันสุกดิบ วันแห่นาค (เป็นไฮไลท์ของงาน) และวันบวช วันสุกดิบนั้นเป็นวันเตรียมงาน ทางญาติของเจ้าภาพจะออกไป “เถี่ยวบ้าน” คือเดินไปบอกบุญตามญาติบ้านมิตรเพื่อเชิญมาร่วมงาน ผู้ที่จะออกไปเถี่ยวบ้านจะต้องแต่งกายชุดพื้นเมืองในวันสุกดิบจะมีงานเลี้ยง ตลอดจนมหรสพสมโภช วันรุ่งชึ้น (7 เมษายน ของทุกปี) ซึ่งเป็นวันแห่นาค ในตอนเช้าญาติจะช่วยกันโกนผม โกนคิ้ว อาบน้ำ แต่งตัวให้นาก
 
ต่อจากนั้นให้นากไปรับศีลจากพระที่วัดใกล้บ้าน แล้วกลับบ้าน มาเปลี่ยนชุดนาคสีขาวออก แต่งตัวเป็นลูกแก้วด้วยเสื้อผ้าพื้นเมืองสีสีนสวยงาม สวมเครื่องประดับแก้วแหวนเงินทองต่างๆ แต่งหน้าแต่งตาอย่างสวยงาม สวมแว่นตาดำ สวมเทริดบนศรีษะแล้วให้นั่งพนมมือถือธูปเทียนอยู่บนคอช้าง ซึ่งได้รับการอาบน้ำแต่งตัวอย่างสวยงาม แล้วจึงคลื่อนขบวนแห่ออกจากบ้าน มาสิ้นสุดที่วัดหาดเสี้ยว หลังจากนั้นให้นาคลงหลังช้างไปไหว้ศาลพระภูมิในวัดและเข้าโบสถ์ทำพิธีทาง ศาสนา เมื่อเสร็จแล้ขบวนของนาคทุกองค์จะร่วมกันเป็นขบวนใหญ่แห่รอบหมู่บ้าน แล้วจึงแยกย้ายกลับบ้าน
 
วันรุ่งขึ้นเป็น “วันบวช” จึงแห่นาคไปบวชวัด ตามพิธีทางพุทธศาสนา หรืออาจจะมีพิธีบวชในตอนเย็นหลังจากแห่ช้างเสร็จแล้วโดยผู้บวชเป็นพระภิกษุ นั้น ชาวไทยพวนเรียกว่า “เจ้าสัว” ส่วนสามเณรเรียกว่า “จั่วอ้าย”

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(4)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(5)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(10)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(6)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(40)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(9)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(3)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(5)

น้ำตก น้ำตก(8)

ถ้ำ ถ้ำ(4)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)