พิจิตร
จำนวน : 552,690คน
คำขวัญ :เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพรชรวมใจ บึงสีไฟลือเลื่อง ยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน
จังหวัดพิจิตร ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่านทางตอนล่างของภาคเหนือ โดยอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก ในตัวเมืองมีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ชื่อของเมือง "พิจิตร" โดยมีความหมายว่า เมืองงาม หล่อหลอมด้วยวัฒนธรรม และประเพณีภาคเหนืออันทรงคุณค่า นอกจากนี้ยังมีอาหารภาคเหนือที่เป็นเอกลักษณ์ น่าลิ้มลอง ที่แฝงไปด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับเป็นที่เที่ยวภาคเหนือในประเทศไทยที่ไม่ควรพลาด
จังหวัดพิจิตร นับเป็นเมืองที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่มีปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกหลักที่ 8 ของพระยาลิไท โดยเรียกเมืองนี้ว่า “เมืองสระหลวง” โดนขณะนั้นมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย
ต่อมาในสมัยของกรุงศรีอยุธยา เมืองนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองในท้องน้ำ” และเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก และมีเจ้าเมืองปกครอง เช่น เมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งอยู่ที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ เพราะขณะนั้นแม่น้ำน่านเร่มตื้นเขินขึ้นมากแล้ว ต่อมาคลองเรียงจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำน่านไป
ปัจจุบันในบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังคงมีโบราณสถานตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาปรากฏให้เห็นอยู่หลายแห่ง นอกจากนี้จังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ไกรทอง” อันโด่งดังอีกด้วย