หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.นครปฐม > อ.เมืองนครปฐม > ต.พระปฐมเจดีย์ > พระราชวังสนามจันทร์


นครปฐม

พระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์

Rating: 4.2/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: วันจันทร์ - วันอาทิตย์
เวลาเปิดทำการ: 09.00 - 15.00 น.
 
พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณซึ่งเดิมเรียกว่า "เนินปราสา" สันนิษฐานว่า เดิมคงเคยเป็นพระราชวังของกษัตริย์ในสมัยโบราณ ใกล้กับเนินปราสาทมีสระน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกขานกันมาแต่เดิมว่า "สระน้ำจันทร์" (ปัจจุบันชาวบ้าน เรียกว่า สระบัว) อยู่หน้าโบสถ์พราหมณ์
 
ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังที่ประทับขึ้น ณ เมืองนครปฐม สำหรับเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในโอกาสเสด็จฯ มาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และเพื่อประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ทรงเลือกจังหวัดนครปฐม
 
ด้วยเหตุที่ทรงคุ้นเคยกับภูมิประเทศของเมืองนี้ ทรงเห็นว่าบริเวณเนินปราสาทนั้นเป็นทำเลที่เหมาะ จึงทรงขอซื้อที่ดินจากราษฎรที่อยู่รอบ ๆ เนินปราสาท เพื่อจัดสร้างพระราชวังขึ้น รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิทักษ์มานพ ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็น พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ (น้อย ศิลป์) เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2450 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การก่อสร้างพระที่นั่ง และพระตำหนักต่างๆ ได้ดำเนินการติดต่อกันนานถึง 4 ปี จึงแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า " พระราชวังสนามจันทร์ " 
พระราชวังสนามจันทร์ นอกจากเป็นที่แปรพระราชฐานแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีพระราชดำริในการสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้เป็นที่มั่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรับวิกฤตการณ์ของประเทศอันเกิดขึ้นได้ เพราะพระราชวังสนามจันทร์ตั้งอยู่ในชัยภูมิทีเหมาะสม และทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับซ้อมรบเสือป่า
 
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 คณะกรรมการอำนวยการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย นายนาวิน ขันธหิรัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายคืนพระราชวังสนามจันทร์
 
โดยส่งมอบพระที่นั่ง พระตำหนักต่างๆ และเรือนข้าราชบริพาร คืนให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดูแลตามพระราชดำริในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปัจจุบันสำนักพระราชวังได้เปิดให้เข้าชม พระที่นั่งพิมานปฐมและห้องพระเจ้าภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เทวาลัยคเณศร์ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับขวัญและอนุสาวรีย์ย่าเหล
ข้อมูลสถานที่สำคัญในเขตพระราชวังสนามจันทร์
 
พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี หนึ่งใน 2 พระที่นั่งที่สร้างขึ้นเมื่อแรกสร้างพระราชวัง ลักษณะเป็นตึก 2 ชั้น เช่นเดียวกับพระที่นั่งพิมานปฐม โดยตั้งอยู่ติดกับพระที่นั่งพิมานปฐมด้านทิศใต้ 
 
พระที่นั่งวัชรีรมยา ลักษณะเป็นตึก 2 ชั้น สร้างแบบสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามมาก คือ ลักษณะหลังคาเป็นแบบซ้อนลดหลั่นกันลงมาคล้ายยอดปราสาท มุงด้วยกระเบื้องเครือบสี มีคันทวย ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงษ์ครบถ้วน
 
บริเวณชั้น 2 มีชานชลาเชื่อมต่อไปยังพรัที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระที่นั่งปฐม พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว 
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ลักษณะเป็นท้องพระโรงทรงไทยใหญ่กว้างขวางมีชั้นเดียวยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร มีอัฒจันทร์ลง 2 ข้าง อยู่ติดกับพระที่นั่งวัชรีรมยาทางทิศเหนือ เดิมใช้เป็นท้องพระโรงเวลาเสด็จออกขุนนางรวมทั้งเป็นที่ประชุมข้าราชการและทหารเสือป่า ตลอดเป็นโรงละครสำหรับแสดงโขน
 
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระที่นั่งวัชรีรมยา ลักษณเป็นตึก 2 ชั้น สถาปัตยกรรมตะวันตก ผนังด้านนอกฉาบด้วยสีเหลืองนวลหรือสีเปลือกไข่ไก่ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดงใช้สำหรับงานเกี่ยวกับเสือป่า หรือเวลาที่เสือป่าเข้าประจำกอง
 
พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ เป็นเรือนไม้สีแดง 2 ชั้น อยู่ด้านหลังพระที่นั่งชาลีมงคลอาสน์ บริเวณชั้น 2 มีสะพานเชื่อมต่อถึงบ้าน ด้านใต้สะพานระหว่างสองพระที่นั่งเป็นคลอง ตลอดสะพานมีหลังคาและฝากั้น พระที่นั่งองค์นี้ใช้สำหรับเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
พระตำหนักทับแก้ว ลักษณะเป็นตึกเล็ก หรือบ้านแบบตะวันตกภายในมีเตา หลังคาบริเวณเตาผิงมีปล่องไฟใช้เป็นที่ประทับในฤดูหนาวและใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่า กองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์เดิมเรียกว่า เรือนทับแก้ว ปัจจุบันใช้เป็นบ้านพักปลัดจังหวัดนครปฐม
พระตำหนักทับขวัญ เรียกกันทั่วไปว่าเรือนทับขวัญ ลักษณะเป็นเรือนไทยหมู่ที่สมบูรณ์มาก ฝีมือการสร้างเรียกได้ว่าชั้นครู ปัจจุบันใช้ประกอบการศึกษาเรื่องเรือนไทยได้เป็นอย่างดี
 
พระตำหนักทับขวัญ ประกอบด้วยเรือนไทยไม้สักทั้งหมด 8 หลัง แบ่งเป็นเรือนไทยขนาดใหญ่ 4 หลัง หันหน้สเข้ากันตามทิศต่างๆ บริเวณมุมทั้ง 4 มีเรือนไทยเล็กเชื่อมอยู่ทั้ง 4 มุม ตรงกลางใช้เป็นระเบียงทรงใช้เป็นที่ประทับบำเพ็ญพระราชกุศล บางครั้งใช้เป็นที่แสดงละครไทยแบบโบราณรวมถึงการใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่า กองเสนาน้อยราบหนักรักษาพระองค์ปัจจุบันเป็นสถานที่สำหรับศึกษาค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมไทย
 
เทวาลัยคเณศ หรือศาลพระพิฆเนศวร สร้างเป็นที่สถิตของพระพิฆเนศวร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ ตั้งอยู่กลางสนามหน้าพระที่นั่งต่างๆถือเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ ปัจจุบันเป็นที่เคารพของประชาชนในละแวกนั้น ส่วนบริเวณโดยรอบซึ่งเป็นสนามหญ้า ประชาชนได้เข้ามาใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายทุกวัน
 
อนุสาวรีย์ย่าเหล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งชาลีมงคลอาสน์ เป็นอนุสาวรีย์หล่อด้วยโลหะขนาดเท่าสุนัขจริง ถือเป็นอนุสาวรีย์สนุขแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนี้ ย่าเหลเป็นสุนัขพันทางขนยาวปุกปุย สีขาวสลับน้ำตาลเกิดในเรือนจำนครปฐม พระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบเข้าเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปตรวจเรือนจำ พระองค์ทรงพอพระหฤทัยในความเฉลียวฉลาดขนาดมีรับสั่งขอจากรองอำมาตย์เอกพุทธเกษตรานุรักษ์ (โพธิ์ เคหะนันท์) ครั้งดำรงตำแหน่งพะทำมะรงเรือนจำ มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงชัยอาญา แล้วทรงนำไปเลี้ยงในพระราชสำนัก พระราชทานชื่อให้ว่า ย่าเหล
 
ย่าเหล เป็นสุนัขเป็นสุนัขที่เฉลียวฉลาด และจงรักภักดีติ่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงโปรดปรานย่าเหลมากเช่นกัน เป็นเหตุให้มีผู้ริษยา และถูกยิงด้วยปืนจนตาย โดยมีผู้พบศพย่าเหล อยู่ข้างกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโทมนัสอาลัยอาวรณ์ต่อการจากไปของย่าเหลเป็นอย่างมาก หลังจากจัดพิธีศพขึ้นที่วัดพระนครปฐมเจดีย์อย่างยิ่งใหญ่แล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ย่าเหล ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าพระที่นั่งชาลีมงคลอาสน์ ภายในพระราชชวังสนามจันทร์เพื่อเป็นอนุสรย์ความรักที่พระองค์มีต่อสุนัขคู่ใจ นอกจากนั้น ยังทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนไว้อาลัยจารึกไว้บนแผ่นทองแดงใต้แท่นฐานอนุสาวรีย์ด้วย
 
เปิดให้บริการในเวลาราชการ วันจันทร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00น. ถึง 15.00 น. และบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังสนามจันทร์ ยังมีสวนสัตว์สำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณสวนสัตว์
 
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ขับมุ่งตรงสู่ จ.นครปฐม โดยท่านจะผ่านแยกนครชัยศรี (ท่านา) และผ่านแยกบ้านแพ้ว และจะรอดใต้สะพานเข้าตัวเมืองนครปฐม (ไม่ต้องขึ้นสะพานนะครับ) จากนั้นขับตรงไปจะพบกับไฟแดงแรก จะมีป้ายบอกเลี้ยวขวาไปองพระปฐมเจดีย์ท่านสามารถไปทางนี้ก็ได้นะครับ (หลักกม.ที่56.3)
 
ซึ่งท่านจะต้องวิ่งผ่านองค์ปฐมเจดีย์ และขับไปทะลุอีกฝั่งหนึ่งครับ เพื่อไปยังถนนต้นสน และขับตรงไปประมาณ 0.5 กม. ก็จะพบวงเวียน ต่อจากนั้นท่านก็อ้อมวงเวียนเพื่อเลี้ยวเข้าสู่เขตพระราชสนามจันทร์ และถ้าท่านเลยไฟแดงนี้ไปก็จะพบกับไฟแดงถัดมาซึ่งทางนี้ท่านจะเห็นป้ายบอกไปพระราชวังสนามจันทร์ได้เช่นเดียวกันโดยเลี้ยวขวาที่ไฟแดงนี้ ที่หลัก กม.58 สังเกตดูหลัก กม. ข้างทาง พอเลี้ยวตามไฟแดงมาแล้วท่านก็จะพบอีกไฟแดงหนึ่ง ซึ่งทางนี้เป็นทางเข้าพระราชวังสนามจันทร์ และซึ่งติดกับ ม.ศิลปากรวิทยาเขตสนามจันทร์

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พระราชวัง กลุ่ม: พระราชวัง

ปรับปรุงล่าสุด : 7 ปีที่แล้ว

แผนที่พระราชวังสนามจันทร์

อัลบั้มรูป

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(6)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(3)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(4)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(13)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(79)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(4)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(3)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(8)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

สนามกีฬา สนามกีฬา(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(5)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(2)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(1)