หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.ลพบุรี > อ.พัฒนานิคม > ต.โคกสลุง > พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง


ลพบุรี

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง

Rating: 3.2/5 (9 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง ที่บ้านโคกสลุง จ.ลพบุรี ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากชาวไทยเบิ้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ทำให้พื้นที่บ้านเรือนดั้งเดิมหายไป ชาวบ้านเกรงว่าวัฒนธรรม ประเพณี
 
และวิถีชีวิตการทำมาหากินแบบเก่าของชาวไทยเบิ้งจะหายไปด้วย จึงรวมตัวกันทำประชาพิจารณ์ในปี พ.ศ. 2541 และตกลงกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ไทยเบิ้ง เพื่อแสดงอัตลักษณ์และรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ให้ลูกหลาน
 
ชาวไทยเบิ้งโคกสลุงมีสำเนียงการพูดคล้ายภาษาไทยภาคกลาง แต่ออกเสียงเหน่อ สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์เด่นชัดที่สังเกตได้คือ การแต่งกายและของใช้จำเป็น โดยผู้หญิงสูงอายุจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อกระโจมหรือเสื้ออีหิ้ว ผ้าขาวม้าพาดบ่า นิยมกินหมาก สะพายย่ามสีแดง
 
สำเนียงการพูดออกเสียงเหน่อ มีคำพูดที่แปลกจากภาษากลางบางคำ และมักลงท้ายด้วยคำว่าเบิ้ง เติ้ง เหว่ย ด๊อก ซึ่งบอกได้ว่าเป็นคนไทยเบิ้งโคกสลุง
 
นามสกุลชาวไทยเบิ้งโคกสลุงจะขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยคำว่า “สลุง” ดังนั้น ถ้าหากใครมีนามสกุลลงท้ายด้วยสลุงต้องมีเทือกเถาเหล่าอยู่ที่โคกสลุงเป็นแน่
 
ทั้งนี้ ความเป็นมาของชาวไทยเบิ้งนั้นถือว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช แต่อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่ จ.ลพบุรี มีภาษาและวัฒนธรรมหลายอย่างคล้ายกับไทยโคราช เอกลักษณ์ของไทยเบิ้งคือภาษาที่มักจะลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “เบิ้ง” หรือ “เติ้ง” ทำให้คนทั่วไปเรียกคนกลุ่มนี้ว่าไทยเบิ้ง
 
ในพิพิธภัณฑ์ไทยเบิ้งได้จำลองบ้านที่อยู่อาศัยของไทยเบิ้งแบบดั้งเดิมคือ เป็นเรือนฝาคร้อเสาสูง ขึ้นลงด้วยบันไดแบบชักออกได้ ค่อนข้างแคบและชัน แต่สามารถใช้งานได้จริง เมื่อขึ้นไปบนบ้านส่วนแรกที่พบคือ ชานบ้านไม่มีหลังคา เปิดลานโล่งรับลม ใช้สำหรับนั่งกินข้าวเย็นในครอบครัว เรียกว่าการกินข้าวล่อ คือนั่งเห็นหน้าเห็นตากันระหว่างกินข้าว ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันในครอบครัว
 
คนไทยเบิ้งมักจะทำกับข้าวเย็นเพียงอย่างเดียว จากนั้นจะนำไปแบ่งญาติ ๆ อีกหลายบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนกับข้าวกัน สร้างความผูกพันระหว่างญาติพี่น้อง ปัจจุบันชาวไทยเบิ้งโคกสลุงบางส่วนออกไปรับจ้างทำงานนอกหมู่บ้าน วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนกับข้าว กินข้าวล่อ ก็เริ่มน้อยลง
 
ฝาบ้านไทยเบิ้งทำด้วยต้นคร้อซึ่งเป็นต้นปาล์มชนิดหนึ่ง มีความคงทน ใช้งานได้ถึง 20-30 ปี มี 3 ชั้น ชั้นนอกสุดทำหน้าที่รับแดดรับลมเป็นใบคร้อ ชั้นกลางเป็นแฝก ชั้นในสุดคือไม้ไผ่สับฟาก ในบ้านเป็นห้องโล่ง เจ้าของบ้านจะนำฟูก มุ้ง และหมอนนอน ไว้มุมหนึ่ง เมื่อมีแขกมาก็จะหาฟูกและมุ้งมาให้ปูนอนเพิ่ม ส่วนที่ประตูบ้านและตามฝาผนังก็แขวนเครื่องมือทำมาหากิน เช่น ไซดักปลา แห กระดึงผูกคอสัตว์ รวมถึงปืนผาหน้าไม้ที่ใช้ในการล่าสัตว์
 
เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวไทยเบิ้ง คนไทยแห่งลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี ที่ช่วยกันอนุรักษ์และฝากมายังคนรุ่นหลังว่าอย่าลืมรากเหง้าตัวเองเบิ้ง

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พิพิธภัณฑ์ กลุ่ม: พิพิธภัณฑ์

ปรับปรุงล่าสุด : 7 ปีที่แล้ว

แผนที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(5)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(3)

พระราชวัง พระราชวัง(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(5)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(9)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(25)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(4)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(2)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(3)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(4)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(2)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(4)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)