หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.บางกอกน้อย > ต.บางขุนนนท์ > วัดไชยทิศ


กรุงเทพมหานคร

วัดไชยทิศ

วัดไชยทิศ

Rating: 3.1/5 (9 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดไชยทิศ เป็นวัดราษฎร์ และเป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางขุนศรี อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่เศษ ด้านทิศตะวันออก ด้านหน้าวัดมีเขตติดต่อกับคลอง เรียกกันว่าคลองวัดไชยทิศ ด้านทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับคูและที่ของเอกชน มีทางเดินออกทางรถไฟสายใต้ ด้านทิศตะวันตก ด้านหลังวัดมีเขตติดต่อกับที่ของเอกชน ด้านทิศใต้มีเขตติดต่อกับคู และที่ของเอกชน มีทางเดินออกซอยอำนวยผล
 
การสร้างวัด ยังไม่พบหลักฐานทางเอกสารว่า วัดไชยทิศ ท่านผู้ใดได้สร้างขึ้น และสร้างขึ้นแต่ครั้งใด ได้อาศัยคำบอกเล่าจากท่านผู้ใหญ่ที่เล่าบอกสืบๆ กันมา ว่าวัดไชยทิศได้สร้างขึ้นพร้อมกับวัดไชยชิต คือวัดบางขุนนนท์ ซึ่งบางท่านเล่าว่าเจ้ากรมฝ่ายพระราชวังหลัง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ร่วมกันสร้างขึ้นหลังจากมีชัยชนะต่อข้าศึก ถ้าวัดไชยทิศได้สร้างขึ้นพร้อมกับวัดไชยชิต (บางขุนนนท์) สมจรติงตามคำเล่าบอก น่าสันนิษฐานได้ว่าวัดไชยทิศได้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เหตุที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะ
 
1. ตามพื้นระหว่างอุโบสถกับวิหาร ได้พบอิฐก้อนใหญ่ที่เรียกกันว่า “อิฐแปดรู” เป็นจำนวนมาก อิฐดังกล่าวนี้ตามหลักฐานวิชาการในด้านโบราณคดี ยุติว่าเป็นอิฐที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา
 
2. จากหลักฐานทางเอกสาร ซึ่งเป็นผลงานการค้นคว้าของ น. ณ ปากน้ำ ได้กล่าวถึงเรื่องวัดไชยชิต (บางขุนนนท์) และวัดไชยทิศ ไว้ในหนังสือเรื่องศิลป์ในบางกอก ความตอนหนึ่งว่า“125 วัดบางขุนนนท์ (วัดไชยชิต) ฯ เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ เห็นใบเสมาตั้งบนแท่นเตี้ย ก็รู้ได้ว่า วัดสร้างมานานแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ฯ ที่น่าสนใจมากก็คือ พระยืนขนาดเท่าคนจริงสมัยอยุธยาสององค์ฯ พระพุทธรูปในวิหาร เป็นพระรูปปั้นขนาดใหญ่ฝีมือช่างสมัยอยุธยา ฯลฯ
 
วัดไชยทิศ จากวัดบางขุนนนท์ ถ้าเดินข้ามสะพานออกหลังวัดจะไปพบทางรถไฟ แล้วก็เลี้ยวขวาเดินไปตามทางรถไฟระยะทางประมาณ 300 เมตรเศษๆ จะถึงสะพานข้ามคลองเล็กให้เลี้ยวลงทางซ้ายมือ มีป้ายบอกว่าวัดไชยทิศ ฯลฯ สิ่งวิเศษอยู่ในพระอุโบสถนั่นก็คือ ภาพเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยา งามวิเศษมาก”
 
ส่วนคำเล่าบอกที่ว่า วัดไชยทิศ และวัดไชยชิต (บางขุนนนท์) สร้างขึ้นโดยเจ้าสามกรมนั้น น่าจะเป็นการซ่อมแซมวัดขึ้นใหม่ในยุคหลัง คือ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เหตุที่ได้กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากภาพเขียนบางส่วนบนผนังภายในอุโบสถวัดไชยทิศ มีฝีมือช่างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ครั้งรัชกาลที่ 1 หรือ รัชกาลที่ 3 ปรากฏอยู่ สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่
 
1. อุโบสถ เป็นแบบก่ออิฐถือปูน หลังคาชั้นเดียว เดิมไม่มีช่อฟ้าใบระกา หัวนาค มุงด้วยกระเบื้องมอญ หน้าบันประดับเครื่องถ้วยลายครามและลายสีเป็นลายดอกไม้ และใบไม้ ด้านหน้าด้านหลัง และด้านข้างอุโบสถทั้งสอง ทำเป็นพาไลทั้งสี่ด้าน พาไลด้านข้างทั้งสองมีเสารายรับอิฐถือปูนด้านละสี่ต้น บานประตู และบานหน้าต่างด้านหน้าเป็นลายเขียนรดน้ำเรื่องต้นนารีผล บานประตูด้านในเขียนลายดอกไม้และใบไม้ ส่วนบานหน้าต่างด้านในเขียนเป็นรูปเทวดายืนแท่น
 
2. ภาพฝาผนัง ภายในอุโบสถเป็นภาพเขียนฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้น (ร. 1 – 3) ผนังด้านหน้าเขียนภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเขียนภาพเรื่อง เขาลัดบริภัณฑ์ ส่วนผนังด้านข้างทั้งสองเขียนภาพเรื่อง พระพุทธประวัติ และภาพอื่นๆ นับเป็นภาพเขียนฝีมือชั้นครู งามมาก
 
3. พระพุทธรูป พระประธาน และพระอัครสาวกทั้งสอง เป็นแบบปูนปั้นลงรักปิดทอง แท่นฐานพระประธานทำเป็นลวดลายกอปร ด้วยผ้าทิพย์ลงรักปิดทองล่องชาดประดับกระจก จากเค้าพุทธลักษณะขององค์พระพุทธรูป น่าจะเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งรัชกาลที่ 3
 
4. กำแพงแก้ว และซุ้มประตูกำแพงทั้งสี่ทิศของเดิมกำแพงด้านในทำเป็นช่องรอบ อย่างที่เรียกกันว่า “ช่องประทีบ” ส่วนทับหลังประตูของเดิมใช้แผ่นศิลาทั้งแผ่น ซุ้มประตูประดับด้วยฝาถ้วยลายครามลายสี บางซุ้มประดับด้วยจานลายลึกกลีบบัว
 
5. เสมา ทั้งสี่มุมอุโบสถ ทำเป็นแท่นก่ออิฐถือปูนมีซุ้ม ส่วนเสมาด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ทำเป็นแท่นก่ออิฐถือปูนอย่างเดียวไม่มีซุ้ม พื้นลานอุโบสถปูด้วยอิฐ และแผ่นกระเบื้องดินเผา
 
6. วิหาร แบบก่ออิฐถือปูน หลังคาสองชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หัวนาค หลังคามุงด้วยกระเบื้องมอญ หน้าบันแกะสลักลายนกเปลวกอปรด้วยภาพราหูอมจันทร์ ลงรักปิดทองประดับักระจก มีรวงผึ้ง และนาคห้อย ซุ้มประตู และซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายดอกไม้และใบไม้ สำหรับบานประตูหน้าวิหารทั้งสองบานแกะสลักเป็นรูปต้นไม้และรูปสัตว์ พิจารณาศิลปะของตัวอุโบสถ และตัววิหารแล้ว ทำให้เข้าใจว่า วิหารคงจะทำในช่วงหลัง และน่าจะเป็นศิลปะฝีมือช่างครั้งรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
7. พระพุทธรูป พระประธาน และรูปพระอัครสาวกทั้งสอง ประจำวิหาร สร้างด้วยโลหะแบบห่มจีวรดอก ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน 2 องค์ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ฝีมือช่างในรัชกาลที่ 4 ด้วยปรากฏอักษรที่ฐาน บอกปีที่สร้าง คือ ปีระกาจุลศักราช 1223 ตรงกับปีพุทธศักราช 2404
 
8. พระพุทธรูป สำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 27 นิ้ว นับเป็นพระสำคัญสำหรับประจำวัด ถวายสมัญญานามแก่พระพุทธรูปดังกล่าวว่า “หลวงพ่อสุโขทัย”
 
9. หอระฆัง (ของเดิม) แบบก่ออิฐถือปูนสองชั้น ศิลปะแบบชุ้มโคธิค หลังคาก่อเป็นพระเจดีย์ทรงกลม ประดับด้วยชามสี ต่อมาภายหลังได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ คุณโกย กมลยะบุตร บริจาคทรัพย์
 
10. พระปรางค์ ก่ออิฐถือปูน ฐาน 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกลมประดับด้วยลูกมะหวด ฐานชั้นที่ 2 แบบ 8 เหลี่ยม ทราบว่าฐานขั้นที่ 2 แต่ก่อนนั้นมีรูปมารแบกทั้ง 8 ทิศ ต่อมาได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ ทายาทของนายดาบเจือ นางเจิม ขำภิบาล บริจาคทรัพย์
 
11. ศาลาการเปรียญ เดิมไม้ทั้งหลังเป็นแบบเรือนโถง หลังคาชั้นเดียวมุงกระเบื้องมอญต่อมา (ปี พ.ศ. 2500) ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คุณโกย กมลยะบุตร์ และนายดาบเจือ นางเจิม ขำภิบาล พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด ทายกทายิกา ร่วมบริจาคทรัพย์
 
12. ธรรมาสน์เทศน์ (บุษบก) ประจำศาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นรูปทรงบุษบก ไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี นัยว่าเป็นบุษบกประจำเรือพระที่นั่ง ซึ่งได้รับพระราชทานแต่ครั้งรัชการที่ 4 ต่อมา (ปี พ.ศ. 2516) ได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ นางเจิม ขำภิบาล พร้อมด้วยทายกทายิกาบริจาคทรัพย์
 
13. หีบใส่หนังสือสวดพระอภิธรรม จำนวน 2 หีบ ลายรดน้ำเขียนภาพรามเกียรติ์ 1 หีบ ลงรักปิดทองประดับกระจกสี 1 หีบ
 
14. ตู้พระปาฏิโมกข์  ฝังมุกลายกนก สัตว์ป่าหิมพานต์ และครุฑจับนาค 1 ตู้ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านเจ้าอธิการกลิ่น วัดชัญยะทิศ(ไชยทิศ) เป็นผู้สร้างเมื่อปีวอก โทศก พุทธศักราช 2403 ราคา 1 ชั่ง เป็นของประจำวัด
 
15. ตู้พระปาฏิโมกข์ เขียนลายรดน้ำ
 
16. ตู้พระไตรปิฎก ลายรดน้ำ จำนวน 3 ตู้ ศิลปะสมัยรัตโกสินทร์ คือ ลายรดน้ำกนกเปลวภาพทศชาติ 1 ตู้ ลายรดน้ำกนกเปลว-ก้านขดภาพเทพพนม 1 ตู้
 
17. ธรรมสวดพระปาฏิโมกข์ (ของเดิม) เป็นรูปเสลี่ยง เข้าใจว่าจะเป็นของหลวงพระราชทาน
 
18. ตะบะวิปัสสนา 2 ตะบะ คือ ฝังมุข 1 ตะบะ และลงรักประดับกระจกสี 1 ตะบะ ปัจจุบันเหลือเพียงตะบะประดับกระจก ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ทั้ง 2 ตะบะ
 
19. พานใส่ผ้าไหต อย่างที่เรียกกันว่า “พานแว่นฟ้า” จำนวน 3 ชุด ศิลปรัตนโกสินทร์ คือ รักพอกลายดอกรัก ปิดทองประดับกระจก 2 ชุด ทองหีบ 1 ชุด ปัจจุบันเหลือเพียงรักพอก ฯ ประดับกระจก 1 ชุด และทองหีบชั้นบน 1 ชั้น
 
20. ที่สำหรับปักพัดยศพระราชาคณะ หัวเสาทั้ง 2 กลึงเป็นรูปทรงมัณฑ์ ทาขาด 1 อัน
 
21. หอพระไตรปิฎก เดิมสร้างอยู่ในสระน้ำ อยู่ท้ายวิหารด้านเหนือ สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง มีพาไลและระเบียงรอบทั้ง 4 ด้าน หลังคามุงด้วยกระเบื้องมอญใส่ช่อฟ้าใบระกา หัวนาค หน้าบันปิดทอง (มีลวดลาย) ต่อมาทางวัดได้รื้อ และย้ายมาปลูกเป็นกุฏิ คือ หลังที่อยู่ด้านใต้ของกุฏิเจ้าอาวาสหลังใหม่ปัจจุบัน
 
22. ระฆัง ของเดิมถูกคนร้ายลักเอาไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นระฆังพิเศษ กล่าวคือมีเสียงกังวานไพเราะมาก

โทร : 024182889

มือถือ : 0895158418, 0841357548

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดไชยทิศ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(430)

https://www.lovethailand.org/อ.พระนคร(24)

https://www.lovethailand.org/อ.ดุสิต(17)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสาน(7)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองเตย(3)

https://www.lovethailand.org/อ.จตุจักร(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ดอนเมือง(5)

https://www.lovethailand.org/อ.ตลิ่งชัน(26)

https://www.lovethailand.org/อ.ธนบุรี(23)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกน้อย(31)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกใหญ่(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกะปิ(5)

https://www.lovethailand.org/อ.บางขุนเทียน(15)

https://www.lovethailand.org/อ.บางเขน(3)

https://www.lovethailand.org/อ.บางคอแหลม(10)

https://www.lovethailand.org/อ.บางซื่อ(9)

https://www.lovethailand.org/อ.บางพลัด(23)

https://www.lovethailand.org/อ.บางรัก(6)

https://www.lovethailand.org/อ.จอมทอง(16)

https://www.lovethailand.org/อ.บึงกุ่ม(5)

https://www.lovethailand.org/อ.ประเวศ(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ปทุมวัน(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ป้อมปราบศัตรูพ่าย(11)

https://www.lovethailand.org/อ.พญาไท(1)

https://www.lovethailand.org/อ.พระโขนง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ภาษีเจริญ(23)

https://www.lovethailand.org/อ.มีนบุรี(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ยานนาวา(8)

https://www.lovethailand.org/อ.ราชเทวี(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ราษฎร์บูรณะ(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ลาดกระบัง(13)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองจอก(16)

https://www.lovethailand.org/อ.ลาดพร้าว(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สาทร(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สัมพันธวงศ์(12)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองแขม(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ห้วยขวาง(3)

https://www.lovethailand.org/อ.สวนหลวง(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ดินแดง(2)

https://www.lovethailand.org/อ.หลักสี่(1)

https://www.lovethailand.org/อ.สายไหม(8)

https://www.lovethailand.org/อ.คันนายาว(2)

https://www.lovethailand.org/อ.วังทองหลาง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสามวา(10)

https://www.lovethailand.org/อ.วัฒนา(2)

https://www.lovethailand.org/อ.บางนา(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ทวีวัฒนา(3)

https://www.lovethailand.org/อ.บางแค(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ทุ่งครุ(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางบอน(3)