หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.พระนคร > ต.วัดสามพระยา > วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร


กรุงเทพมหานคร

วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร

วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร

Rating: 2.8/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดสังเวชวิษยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารเป็นพระอารามที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรันโกสินทร์เป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 กาลล่วงมาถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ด้านภาษา มีความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง ได้ทางพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อจากวัดบางลำพูเสียใหม่ว่า “วัดสังเวชวิศยาราม”
 
คำว่า “สังเวช” ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ตั้งเป็นมงคลนามนั้น มาจากรากศัพท์ “สังเวค” แปลว่า กระตุ้นเตือน , ปลุกเร้า , คึกคัก คือปลุกเร้ากระตุ้นเตือนให้นึกถึงความจริงของชีวิตพิจราณาอารมณ์เป็นธรรม สังเวช คือกฎความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต แล้วรีบทำคุณความงามดี ไม่ประมาทในชีวิตนั่นเอง ดังนั้น “วัดสังเวชวิศยาราม” ก็คือ “อารามเป็นที่อยู่ของผู้มีอารมณ์แกล้วกล้า พิจารณาอารมณ์เป็นธรรมสังเวชอันเป็นเหตุให้เกิดแรงบันดาลใจให้รีบเร่งทำคุณงามความดี ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต”
 
อีกประการหนึ่งคำว่า “วัดสังเวชวิศยาราม” อาจเทียบได้กับคำว่า “สังเวชนียสถาน” 4 ตำบล อันเป็นสถานที่ประสูติตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับ ขันธปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง 
 
วัดสังเวชวิศยาราม เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่มีประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจที่ยาวนานมา ตั้งแต่สมัยกรุ่งศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อว่า วัดสามจีนเหนือ และต่อมาเรียกชื่อ วัดบางลำพู ตั้งอยู่เลขที่ 110 ซอยสามเสน 1 เชื่อมระหว่างถนนพระอาทิตย์กับถนนสามเสน
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงปราบดาภิเษกและสถาปนาบางกอกเป็นราชธานีแล้ว ทรงแต่งตั้งให้พระอนุชา คือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ขึ้นเป็นวังหน้า สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ทรงรับเอาวัดโบราณหลายวัดไว้ในพระราชูปถัมภ์ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ วัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยารามในปัจจุบัน)
 
พระอางค์ทรางสร้างและปฏิสงขรณ์พระอารามแห่งนี้ให้สง่างาม มีเสนาสนะมั่นคงถาวรเพื่อพระราชทานให้เป็นสถานที่อยู่ของพราะสนมชาวเขมรที่มีจิตเสลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา มีศรัทธาแก่กล้า สละเพศคฤหัสถ์ปฏิบัติครองพรดเป็นนักชี
 
วัดสังเวชวิศยาราม มีหน้าประวัติศาสตร์ที่ควรจารึก จดจำมาโดยตลอด นอกจากเป็นวัดในพระบรมราชูถัมภ์ เจ้านายพระองค์ชั้นสูงได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงเป็นพระอารามหลวงยังมีหลักฐานที่บันทึกแผ่นไมโครฟิล์ม ในหอสมุดแห่งชาติว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม) หลายครั้ง
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามจากวัดบางลำพู มาเป็น “วัดสังเวชวิศยาราม” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราที่เกิดเพลิงไหม้แถวบางลำพู ลุกลามไปไหม้ วัดสังเวชวิศยารามก็ได้เสด็จมาประทับ ณ สะพานฮงอุทิศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บัญชาการดับเพลิงด้วยพระองค์เอง
 
เมื่อเสนาสนะเสียหายเพราะไฟไหม้ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้รื้อพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยั่ว แล้วให้นำไม้ไปสร้างเสนาสนะถวายพระสงฆ์ที่วัดสังเวชวิศยาราม แห่งนี้ และมีพระราชกุศลจิตเลื่อมใสศรัทธา นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายพระสงฆ์ผู้จำพรรษา ณ พระอาภามแห่งนี้ถึง 5 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ.2418,2419,2422,2429 และ 2431 ตามลำดับ
 
ด้วยความเลื่อมใสเป็นอเนกอนันต์ ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนาจเจ้ารำไพพรรณี ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ได้เสด็จพระวันตัน (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม เป็นองค์ครองผ้าพระกฐิจเมื่อวันทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 516 สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว) : เคยประทับที่วัดสังเวชวิศยารามขณะเป็นสามเณร
 
พุทธศาสนิกชนคนไทยทั้งหลาย คงเคยได้และรู้จัดพระนามสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว) เป็นอย่างดี พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้รับพระสมญานามว่า “สังฆราช 18 ประโยค” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้บรรพชาเป็นสามเณรแต่ครั้งยังเยาว์ เคยได้มาอยู่วัดสังเวชวิศยารามขณะเป็นสามเณร
 
นอกจากเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่น่าภาครูมิใจแล้ว หลายคนนักอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมสสี) ซึ่งเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้ทรงคุณด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ขณะเป็นสามเณรก็ได้จำพรรษาอยู่วัดสังเวชวิศยาราม
 
จากเกียรติภูมิที่เคยมีพระมหาเถระผู้ดำรงตำแหน่งสุงสุดของคณะสงฆ์ไทยคือสมเด็จพระสังฆราช เคยประทับอยู่วัดสังเวชวิศยาราม ขณะเป็นสามเณรแลเวเกียรติศักดิ์ที่ควรจดจำจาตึก มีให้สูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่ายิ่ง ก็คือยังมีพระหาเถระที่ดำรงสมณสักดิ์ ชั้นสุพรรณบัฎ คื่อ สมเด็จอีกรูปหนึ่งที่เคยจำพรรษา อยู่ที่วัดสังเวชวิศยารามขณะเป็นสามเณร คือ เจ้าพระประคุณสมเด็จพระวันตัต (ทับ พุทธสิริมหาเถร)
 
สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร) แห่งวัดสังเวชวิศยาราม ด้วยเป็นวัดที่มีประวิศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนปัจจุบัน วัดสังเวชวิศยารามวรวิหารจึงมีความสำคัญสืบเนื่องมาโดยลำดับ อดีตเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามเคยดำรงตำแหน่งสมณสักด์ถึงระดับ “สมเด็จ” มาแล้ว ปี พ.ศ.2515 พระเดชพระคุณพระธรรมวโรดม พระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร)
 
คำว่า ศ.ต.ภ. ย่อมาจากคำว่า “ศูนย์ควบคุมการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร” ซึ่งแปลเป็นภาษอังกฤษว่า “The Center of Ecclesiastical External Mission” ชื่อย่อว่า “CEEM” เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาเถรสมาคม มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและอนุมัติการเดินทางไปจ่างประเทศของพระภกษุสามเณรแห่งคณะสงฆ์ไทย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่สัดสังเวชวิศยาราม ซึ่งมีพระธรรมสิทธิเวที เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 เป็นกรรมการและเลขานุการ
 
วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร ปัจจุบัน มีพระเดชพระคุณ พระธรรมสิทธิเวที (ถมยา อภิจาโร) เป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 12 พระเดชพระคุณฯ ได้สนองงานคุณสงฆ์ด้วยความเรียบร้อยดีงามตลอดมา ก็คือเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.
 
วัดสังเวชวิศยาราม มีความสำคัญตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันดังกล่าวแล้ว นับว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญด้านการปกครองคณะสงฆ์มาโดยตลอดไม่ขาดสาย นับแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระวันตัต (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร) เจ้าอาวาสรูปที่ 10, พระราชรัตนโสภณ เจ้าอาวาสรูปที่ 11 ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 3 , พระธรรมสิทธิเวที ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 ผู้สนใจจะไปนมัสการปูชนียสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตลอดถึงศึกษาสนทนาธรรม สามารถเดินทางไปชมและศึกษาได้ทุกวัน

เว็ปไซต์ : www.watsungwej.ac.th

โทร : 026292509

มือถือ : 0878116677

แฟกซ์ : 022824444

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(430)

https://www.lovethailand.org/อ.พระนคร(24)

https://www.lovethailand.org/อ.ดุสิต(17)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสาน(7)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองเตย(3)

https://www.lovethailand.org/อ.จตุจักร(2)

https://www.lovethailand.org/อ.ดอนเมือง(5)

https://www.lovethailand.org/อ.ตลิ่งชัน(26)

https://www.lovethailand.org/อ.ธนบุรี(23)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกน้อย(31)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกอกใหญ่(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บางกะปิ(5)

https://www.lovethailand.org/อ.บางขุนเทียน(15)

https://www.lovethailand.org/อ.บางเขน(3)

https://www.lovethailand.org/อ.บางคอแหลม(10)

https://www.lovethailand.org/อ.บางซื่อ(9)

https://www.lovethailand.org/อ.บางพลัด(23)

https://www.lovethailand.org/อ.บางรัก(6)

https://www.lovethailand.org/อ.จอมทอง(16)

https://www.lovethailand.org/อ.บึงกุ่ม(5)

https://www.lovethailand.org/อ.ประเวศ(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ปทุมวัน(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ป้อมปราบศัตรูพ่าย(11)

https://www.lovethailand.org/อ.พญาไท(1)

https://www.lovethailand.org/อ.พระโขนง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ภาษีเจริญ(23)

https://www.lovethailand.org/อ.มีนบุรี(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ยานนาวา(8)

https://www.lovethailand.org/อ.ราชเทวี(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ราษฎร์บูรณะ(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ลาดกระบัง(13)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองจอก(16)

https://www.lovethailand.org/อ.ลาดพร้าว(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สาทร(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สัมพันธวงศ์(12)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองแขม(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ห้วยขวาง(3)

https://www.lovethailand.org/อ.สวนหลวง(7)

https://www.lovethailand.org/อ.ดินแดง(2)

https://www.lovethailand.org/อ.หลักสี่(1)

https://www.lovethailand.org/อ.สายไหม(8)

https://www.lovethailand.org/อ.คันนายาว(2)

https://www.lovethailand.org/อ.วังทองหลาง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.คลองสามวา(10)

https://www.lovethailand.org/อ.วัฒนา(2)

https://www.lovethailand.org/อ.บางนา(4)

https://www.lovethailand.org/อ.ทวีวัฒนา(3)

https://www.lovethailand.org/อ.บางแค(6)

https://www.lovethailand.org/อ.ทุ่งครุ(4)

https://www.lovethailand.org/อ.บางบอน(3)