หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.พระนครศรีอยุธยา > อ.อุทัย > ต.บ้านหีบ > งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี


พระนครศรีอยุธยา

งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี

งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี

Rating: 3.8/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี (ประเพณีไทย) งานบุญประจำปีทางฝั่งธนบุรีที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นที่รู้จักของคนฝั่งธนบุรีและกรุงเทพฯ อย่างกว้างขวางในสมัยก่อน คือ "งานชักพระวัดนางชี" หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ"
 
วัดนางชี เป็นวัดเก่า ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยไหน แต่สันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร สาเหตุที่สร้างก็เนื่องมาจากแม่อิ่มลูกสาวของเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุ จนกระทั่งมีชีปะขาวมานิมิตเข้าฝันให้เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีแก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี
 
ดังนั้นเมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชีพร้อมกับสร้างวัดนี้ วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างในปลายแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (พระราชาธิราชที่ 2) เพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากอยู่ระหว่างทำสงครามกับพม่าก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ่อค้าสำเภาชื่อพระยาโชฏึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีนอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยามได้เป็นผู้บูรณะและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด
 
ได้ดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถพระวิหารให้เป็นแบบจีน ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบ และนำตุ๊กตาหินแบบจีนและหินปูทางเดินมาจากเมืองจีนเพื่อมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ นอกจากนี้ได้ถวายเครื่องใช้แบบจีนเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเตียงไม้มะเกลือประดับลายหอยมุกและหินอ่อน ซึ่งเป็นของลูกสาวที่เสียชีวิตอยู่บนเตียงนี้เมื่ออายุประมาณ 18 ปี 1 หลัง เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายวัดนี้แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นพระอารามหลวง ได้พระนามว่า "วัดนางชีโชติการาม" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระยาราชานุชิต (จ๋อง) ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้งและถวายเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
 
ปูชนียวัตถุพิเศษที่สำคัญในวัดได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกซึ่งมีจำนวนไม่แน่นอน อาจจะเพิ่มหรือลดลงแตกต่างกันไปในแต่ละปี ก่อนที่จะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้ประชาชนสรงน้ำ จะมีการตรวจนับจำนวนพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกทุกครั้ง เมื่อแห่พระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้วก็จะตรวจอีกครั้งหนึ่งก่อนจะนำไปประดิษฐานเก็บไว้บนกุฎิเจ้าอาวาส พระบรมธาตุนั้นจะมีขนาดเล็กมากคือมีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของเมล็ดข้าวสารหัก เวลาตรวจนับจะต้องใช้แว่นขยายช่วยจึงจะมองเห็นชัด กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาได้เขียนเล่าเกี่ยวกับจำนวนพระธาตุที่เพิ่มขึ้น และลดลงไว้ในหนังสือตำราพระธาตุว่า พระบรมธาตุและพระธาตุนี้ก็เป็นของแปลก ถ้าเป็นพระบรมธาตุก็ว่าเสด็จมาเองบ้าง เสด็จไปเองบ้าง ครั้งหนึ่งประมาณ 20 ปีล่วงแล้ว เขาพูดว่าพระบรมธาตุที่วัดนางชี อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี บางปีก็มี
 
จำนวนเพิ่มขึ้นบางปีก็มีจำนวนลดลง ที่ว่าไปพิสูจน์นั้น ได้เป็นจริงดังที่เขาว่ากัน ปีแรกที่ไปดูมีจำนวนมาก ครั้งที่สองน้อยลง ครั้งที่สามจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ไม่ถึงจำนวนที่ไปดูครั้งแรก สงสัยว่าทางวัดจะเอาออกหรือเพิ่มขึ้นเพื่อลวงว่ามีอภินิหาร ถามเจ้าอาวาสท่านบอกว่าไม่เคยเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ท่านเป็นเจ้าอาวาสมาหลายปีแล้วไม่เคยเอาออกมาดูเลย เอาออกมาสรงน้ำปีละครั้งคือวันแห่และตรวจต่อหน้ากรรมการด้วย
 
พระบรมสารีริกธาตุที่วัดนางชีมิได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ดังเช่นพระบรมธาตุที่อื่นแต่บรรจุไว้ในผอบแก้วซึ่งเป็นขวดน้ำหอมจากฝรั่งเศสที่ชาววังใช้น้ำหอมผสมน้ำอาบกันในสมัยก่อน แล้วประดิษฐานไว้ ณ มณฑปที่จัดทำเป็นพิเศษ ตามประวัติที่เล่ากันต่อ ๆ มากล่าวว่า เมื่อ ประมาณ พ.ศ 1219 คณะพราหมณ์ 3 ท่าน และชาวจีน 9 ท่าน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุผอบทองคำ 2 ผอบมาโดยเรือสำเภาจากชมพูทวีป
 
เพื่อไปประดิษฐานไว้ที่เมืองปทาคูจาม อาณาจักรศรีวิชัย (นครศรีธรรมราช) และที่เมืองเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง แต่เมื่อได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานที่เมืองนครศรีธรรมราช (ในปัจจุบันนี้ได้บรรจุพระบรมธาตุไว้ในพระสถูปเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช) แล้วได้เดินทางต่อไปจนเรือได้เกิดอุบัติเหตุล่มลงที่ตรงบริเวณปากน้ำคลองด่านปัจจุบัน (ตามสภาพภูมิศาสตร์ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยทางแถบเมืองธนบุรียังเป็นป่าทึบ และพื้นดินยังไม่งอกออกมามากมายเท่าในปัจจุบัน) คณะพราหมณ์และชาวจีนจึงได้
 
พร้อมใจกันอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุขึ้นห่างจากที่เรือล่มประมาณ 5ไมล์ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีก็ตกลงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ ที่นั้น แต่ไม่ทราบว่าได้ประดิษฐานไว้อย่างไร เมื่อนานเข้าผอบทองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นได้ถูกฝังจมดิน พระบรมสารีริกธาตุที่ทูลเชิญเสด็จมาในครั้งนั้นมีด้วยกัน 5 พระองค์คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ส่วนใหญ่ ส่วนแขน ซี่โครง หัวเข่าและขา ต่อมาในสมัยพระชัยราชา (พระเอก) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. 2082 เป็นปีที่วัดนางชีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบรมสารีริกธาตุเสด็จขึ้นมาให้ปรากฏแก่แม่ชีอิ่มให้เห็นทั้ง 5 พระองค์ แม่ชีอิ่มได้ทูลเชิญเสด็จบรรจุไว้ในผอบแก้วและได้ประดิษฐานไว้ ณ วัดนางชีแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา
 
ช่วงเวลา จัดขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หลังจากวันลอยกระทงและเทศน์มหาชาติแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ หรือที่รู้จักกันในสมัยก่อนว่า "งานชักพระ" หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ" 
 
ความสำคัญ เป็นงานชักพระแห่งเดียวที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ และยังแตกต่างไปจากงานชักพระทางจังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นประเพณีอันสืบเนื่องมาจากพระพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์เมื่อเสด็จมาจากดาวดึงษ์แล้ว จึงอัญเชิญพระพุทธองค์ประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้แห่แหนไปสู่ที่ประทับ ซึ่งจัดทำกันในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษาโดยอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานบนบุษบกที่อยู่บนรถหรือบนเรือแล้วให้เรือชาวบ้าน หรือคนช่วยกันจับปลายเชือกลากพระไป แต่งานชักพระวัดนางชีเป็นการเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุสาวกขึ้นประดิษฐานบนบุษบกแทนแล้วชักแห่ไปทางเรือจากหน้าวัดนางชีไปตามลำคลองด่าน เลี้ยวซ้ายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านมาช่วงปลายของคลองซึ่งเรียกว่าคลอง
 
ชักพระ (ปัจจุบันนี้คำว่าคลองชักพระยังปรากฎเป็นชื่อของสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณนั้น เช่น ตำบลคลองชักพระ สะพานคลองชักพระ ถนนชักพระ เป็นต้น) แล้วอ้อมไปทะลุคลองบางกอกน้อยล่องขบวนไปตามคลองบางกอกน้อย คาดว่าพอถึงวัดไก่เตี้ยเขตตลิ่งชันประมาณตอนเพลหยุดขบวนและขึ้นเลี้ยงพระที่นั่น เสร็จแล้วก็ล่องขบวนไปออกปากคลองบางกอกน้อย เลี้ยวขวาเลียบมาตามลำน้ำเจ้าพระยาแล้วมาเข้าคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แล้ววกมาเข้าปากคลองด่านกลับไปยังวัดนางชีตามเดิม การแห่ครั้งนี้ชาวบ้านมักเรียกว่า "แห่อ้อมเกาะ"
 
พิธีกรรม ในสมัยก่อนงานชักพระวัดนางชีเป็นงานเทศกาลประจำที่ครึกครื้นมโหฬารที่สุดในแถบนั้น ผู้ที่เข้าขบวนแห่จะแต่งตัวกันอย่างสวยงาม ประณีต เรียบร้อยจะเตรียมซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไว้ตั้งแต่มีงานภูเขาทอง เป็นที่เชื่อกันว่าในปีใดถ้าไม่มีการแห่พระบรมธาตุจะต้องมีอันเป็นไปอันทำให้ชาวบ้านแถบนั้นเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือภัยพิบัติต่าง ๆ แม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลห้ามไม่ให้มีการแห่แหนหรือจัดงานใดเลย แต่งานแห่พระบรมธาตุก็ยังคงต้องดำเนินไปตามประเพณีโดยได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุในสมัยก่อนจะเป็นขบวนเรือพายช่วยกันชักจูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไป ทางวัดจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาให้สรงน้ำแต่เช้าตรู่ และจะเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากวัดตั้งแต่ 6.00 น. ก่อนปี พ.ศ. 2522 ได้นำพระบรมสาริริกธาตุมาให้สรงน้ำตั้งแต่เวลา 17.00 ของวัน แรม 1 ค่ำเดือน 12 จนถึงเวลา 9.00 น. ของวันต่อมา เรือที่มาร่วมขบวนมีจำนวนหลายร้อยลำและมาจากตำบลทั้งใกล้และไกล เรือที่มา
 
ร่วมขบวนแห่มีหลายแบบ ผู้คนในเรือแต่ละลำก็จะแต่งตัวให้เหมือนกันแล้วแต่จะตกลงกัน บางลำก็แต่งเป็นตัวตลกเช่นใส่หัวล้านทั้งลำ หรือจัดให้มีการเล่นละคร ลิเก เพลง ในเรือเป็นการสนุกสนาน นอกจากนั้นก็มีเรือที่ลากจูงเรือพระบรมธาตุ เรือพวกนี้จะเป็นเรือที่ตกแต่งหัวเรือและท้ายเรือไว้อย่างสวยงาม เช่น เป็นหัวสุครีพ หงส์ เป็นต้น เรือพวกนี้ทางวัดต่าง ๆ จะจัดเตรียมไว้ พอจวนถึงงานชักพระในละแวกนั้นจะไปยืมเรือที่วัดมาเตรียมยาเรือและตกแต่งเพื่อเข้าขบวนแห่ เรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจะเป็นเรือต่อขนาดใหญ่ตกแต่งอย่างสวยงามมีวงปี่พาทย์บรรเลงสมโภชไปในเรือตลอดทาง กาญจนาคพันธุ์ เล่าไว้ว่า กระบวนแห่ชักพระนั้นเป็นเรือยาวอย่างที่เรียกกันว่า "เรือแล่น" ลงน้ำมันสวยสดงดงามนั่งได้อย่างน้อยก็ 5-6 คน พายก็ใช้พายที่เรียกว่า "พายคิ้ว" คือมีลวดลายตลอดกลางใบพาย ทุกลำมีแพรแดงผูกที่หัวเรือ เรือที่มีคนพาย
 
แต่งชุดต่าง ๆ แปลก ๆ เหล่านี้มีตั้ง 200 ลำ อีกพวกหนึ่งเป็นเรือยาวพวกเรือชะล่า เรือมาด เรือพวกนี้คนนั่งอย่างน้อยราว 20 คน รวมทั้งหมดเห็นจะราวสัก 50 ลำ เรือพวกนี้เข้าใจว่าจะมาจากที่ไกล ๆ นอกจากนี้ก็เป็นเรือแล่นที่แสดงการเล่นละคร ลิเก ฯลฯ ในเรือด้วยมีราวสัก 10 ลำ (แต่ไม่ใช่แสดงทั้งโรง ลำหนึ่ง ๆ ก็มีเพียง 2-3 ตัว) ส่วนเรือพระนั้นเป็นเรือใหญ่ตั้งบุษบกตกแต่งอย่างสวยงามทั้งลำมีเรือจูงอีกพวกหนึ่งราวสัก 20 ลำ ในขณะที่ขบวนแห่เคลื่อนไปนั้น เมื่อถึงสะพานใดจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นจากเรือ ให้คนถือเดินข้ามสะพานไปลงเรือทางอีกด้านหนึ่งตลอดทางเมื่อถึงวัดไก่เตี้ยจะเปิดโอกาสให้คนบริเวณนั้นลงมาสรงน้ำพระบรมธาตุในเรือขณะที่หยุดพักจะมีการละเล่น การแข่งเรือกันอย่างสนุกสนาน
 
ระยะต่อมา ได้เปลี่ยนมาใช้เรือยนต์จูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การละเล่นที่สนุกสนานก็ยังคงมีอยู่ เรือที่ตามเรือพระบรมธาตุก็ น้อยลง สมัยนี้ใช้เรือยนต์ลากเรือทรง เรือพายน้อยไปเพราะพายไม่ทันเรือพ่วง พายไม่ทันเลยไม่มีความหมาย เรือก็น้อยลงไปโดยลำดับ เพราะการร่าเริงอยู่ที่จับกลุ่มตามเรือทรงพระบรมธาตุไปเรื่อย ๆ ตามกำลังแรงคน เร็วหรือช้าเขาไม่อุทรณ์ร้อนใจ บางทีนึกสนุกขึ้นมาก็ขึ้นมาช่วยกันเอาเรือทรงผูกไว้ตามต้นไม้ ไม่ยอมให้ไปก็มี เมื่อได้สนุกพอแก่ความต้องการที่ปล่อยเรือจูงลากไป
 
ก่อนปี พ.ศ. 2530 เรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเปลี่ยนเป็นเรือยนต์ขนาดใหญ่ ที่ยังจัดตกแต่งเรืออย่างแบบเดิม ส่วนเรือที่ตามขบวนก็เปลี่ยนเป็นเรือหางยาวซึ่งมีผู้ที่จะร่วมขบวนต้องเสียเงินเป็นค่าโดยสารเรือขบวนนั้น ถึงแม้จะไม่มีเรือของชาวบ้านมาร่วมขบวนแห่อย่างเอิกเกริกดังเช่นสมัยก่อน บรรดาชาวบ้านตามริมคลองยังคงมานั่งดูขบวนแห่ตามริมคลองอย่างหนาแน่นพวกที่อยู่ลึกเข้าไปจะพายเรือมาจอดรถดูขบวนเป็นทิวแถว เมื่อขบวนเรือไปใกล้บริเวณวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน จะเริ่มมีขบวนเรือของพวกชาวบ้านพายมาเข้าร่วมขบวนแห่ ยังมีเรือหลายลำแต่งตัวสวยงาม เป็นแบบเดียวกัน บางลำมีการร้องรำทำเพลง เต้นรำกันไปในเรืออย่างสนุกสนาน พอถึงวัดไก่เตี้ยจะเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนที่ซึ่งทางวัดจัดไว้เพื่อให้ชาวบ้านแถบนั้นได้สักการบูชา
 
ท่านผู้สูงอายุหลายท่านเล่าว่าในสมัยก่อนพระบรมสารีริกธาตุมีปาฎิหารย์ปรากฎให้เห็นเสมอ เช่นจะเกิดแสงสว่างอย่างประหลาดทั่วท้องฟ้าก่อนที่จะแห่พระบรมสารีริกธาตุ หรือมีลูกไฟดวงใหญ่ปรากฏทางทิศตะวันออก หรือเกิดแสงสว่างอย่างประหลาดในบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมธาตุนั้น ปาฏิหาริย์เป็นที่เรื่องลือกันและกล่าวขวัญถึงจนทุกวันนี้ก็คือ ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว เมื่อครั้งยังใช้เรือลากจูงเรือพระบรมธาตุเล่ากันต่อ ๆ มาว่า เมื่อขบวนแห่กลับมาถึงหน้าวัดอินทาราม (ใต้) เกิดมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันบนเรือ ผู้คนต่างตกอกตกใจ หลบหนีกันชุลมุนจนทำให้เรือพระธาตุล่มลง มณฑปพระบรมธาตุและผอบที่บรรจุพระบรมธาตุที่ตั้งอยู่บนบุษบกโค่นหล่นน้ำจมลงกลางคลองตอนเวลาประมาณบ่าย 2 โมงเศษ ชาวบ้านช่วยกันงมหาก็ไม่พบ ในที่สุดขบวนแห่ต้องกลับวัดนางชีโดยไม่มีพระบรมธาตุไปด้วย เจ้าอาวาสเสียใจมาก เมื่อ
 
กลับมาถึงวัดทำพิธีอาราธนาพระบรมธาตุให้กลับมาวัดนางชีดังเดิม หลังจากนั้นไม่กี่วันมีชาวบ้านบริเวณวัดอินทาราม (ใต้) เห็นผอบแก้วที่บรรจุพระบรมธาตุตั้งอยู่บนแท่นโคนโพธิ์ จึงได้อัญเชิญมาถวายวัดนางชีดังเดิม ในปี พ.ศ. 2522 งานแห่พระบรมสาริริกธาตุได้เปลี่ยนไปจัดในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ หลังวันลอยกระทง ในปี พ.ศ. 2530 และ 2531 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้มาเป็นประธานในการแห่พระบรมสารีริกธาตุ ขบวนเรือที่ที่เข้าร่วมขบวนแห่ได้ตกแต่งเป็นเรือบุบผาชาติอย่างสวยงาม และกองทัพเรือได้จัดเรือดั่งพร้อมฝีพายมาร่วมขบวนด้วย และจัดเป็นเรืออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

แผนที่งานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

พระราชวัง พระราชวัง(4)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(9)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(133)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(14)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(10)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(2)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)