หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.พระนครศรีอยุธยา > อ.นครหลวง > ต.ท่าช้าง > หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก


พระนครศรีอยุธยา

หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก

หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก

Rating: 3.2/5 (10 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก ประวัติความเป็นมา บ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง เป็นหมู่บ้านที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาเเน่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว เพราะเป็นเเหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี
 
กลุ่มชาติพันธุ์  ชาวบ้านต้นโพธิ์และชาวบ้านไผ่หนอง รกรากถิ่นฐานเป็นชาวเวียงจันทน์ ประเทศลาว ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทางช่าง มีช่างทำทองกับช่างตีเหล็ก คือ คนไหนเเข็งเเรงก็ได้ตีเหล็ก คนไหนอ่อนแอมีความละเอียดให้ตีทองคำ เครื่องอาภรณ์ประดับกาย การทำมาหากิน ในสมัยนั้นอาชีพทั้งสองทำกันเป็นล่ำเป็นสันตลอดมา
 
ครั้นต่อมาในราวพ.ศ.2365 อาชีพช่างทองก็ได้เลิกลาสลายตัวไป คงเหลือเเต่อาชีพตีมีดประเภทเดียว ชาวบ้านจึงยึดอาชีพตีมีดเป็นอาชีพหลัก ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นปะปนเลย ข้อสังเกตุที่เป็นหลักฐานว่าชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้มีอาชีพช่างทองคือ ถ้าเรานำดินที่ชุมชนเเห่งนี้ลงร่อนในน้ำก็จะพบเศษทองและขี้ตะไบทองอยู่ทั่วไป
 
ความเป็นมาการตั้งถิ่นฐาน เหตุที่ชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยจะโดยถูกกวาดต้อนมาในสมัยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกคราวยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์หรือจะเป็นการอพยพมาเองนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนเเต่มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าเข้ามาโดยมีนายเทาเป็นผู้นำ (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนนราบริรักษ์”) ได้เดินทางมาพบภูมิประเทศเเห่งนี้ เป็นที่เหมาะสมเเก่การประกอบอาชีพคือ เดิมเป็นดงไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่หนาเเน่น มีหนองน้ำ และแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน  
 
สมัยนั้นไม่มีถนนหนทางเหมือนปัจจุบันนี้ ต้องอาศัยทางน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการคมนาคมโดยเฉพาะ ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่สำคัญมากสำหรับช่างตีมีด เพราะไม้ไผ่มีประโยชน์อยู่ในตัวของมันนานับประการ เช่น นำมาเผาถ่านใช้เผาเหล็ก เพราะถ่านไม้ไผ่ให้ความร้อนสูงกว่าไม้ชนิดอื่น ต้น ลำ ใช้ทำบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ทำด้ามพะเนิน ด้ามค้อนเเละด้ามมีด ซึ่งช่างตีเหล็กต้องใช้อยู่เป็นประจำ
 
จึงเห็นว่าภูมิประเทศเเห่งนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำเเหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์จึงพร้อมใจกันลงหลักปักฐาน เเละได้ประชุมหารือกันตั้งชื่อบ้านของตนว่า “บ้านไผ่หนอง” ให้เป็นการเหมาะสมกับภูมิประเทศเเต่ก่อนนั้น สำหรับบ้านต้นโพธิ์ คนเก่าคนเเก่เล่าว่า เมื่อมาถึงทำเลนี้มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่กลางหมู่บ้านจึงตั้งชื่อว่า “บ้านต้นโพธิ์” ครั้นกาลเวลาล่วงมาบ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพของหมู่บ้านก็ได้เปลี่ยนเเปลงไป ดงไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นก็โล่งเตียนกลายเป็นท้องไร่ท้องนา หนองน้ำก็ตื้นเขินไปหมดเเล้ว
 
เกียรติประวัติของชุมชน สมัยรัชกาลที่ 3 เเผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อราวพ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เสด็จมาถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มาขอให้ชาวเวียงจันทน์กลับประเทศ เเต่ชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ไม่ยอมกลับขออยู่ใต้ร่มโพธิสมภาร เพราะพระองค์ให้ความผาสุขร่มเย็น พสกนิกรของพระองค์ตลอดมาก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ชื่อเสียงการตีมีดก็เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ชาวบ้านจึงมีฐานะที่มั่นคง มีการอยู่ดีกินดี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้นกระหม่อม
 
สมัยรัชกาลที่ 5 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทราบว่าบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนองเป็นหมู่บ้านตีมีด พระองค์พร้อมด้วยพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ได้เสด็จทอดพระเนตรการตีมีดของชาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ จึงได้ปลูกพลับพลาที่ประทับอย่างสมพระเกียรติ เเละได้เกณฑ์ชาวบ้านมาทำการตีมีดให้พระองค์ทรงทอดพระเนตร พระองค์ท่านสนพระทัยเเละทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก
 
ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงทอดพระเนตรการทำมีดอรัญญิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ .2519 เเละเมื่อปีพ.ศ.2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จนำนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ มาทอดพระเนตรการตีมีดเเละเมื่อปี พ.ศ 2537 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ทรงนำครอบครัวมาทัศนศึกษาการตีมีดที่ชุมชนเเห่งนี้เช่นกัน
 
ที่มาของคำว่ามีดอรัญญิก ในสมัยก่อนมีตลาดร้านค้า มีโรงบ่อน อยู่ที่บ้านอรัญญิก ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านต้นโพธิ์เเละหมู่บ้านไผ่หนองมากนัก ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร มีผู้คนนำสินค้ามาซื้อขายเเลกเปลี่ยนกันมากในยุคนั้นชาวบ้านก็นำเอามีดไปขาย เมื่อคนที่ซื้อไปใช้เห็นว่าคุณภาพดีจึงบอกต่อๆกันไปว่ามีดคุณภาพต้องมีดอรัญญิก เลยเรียกติดปากไปหาซื้อมีดต้องไปที่อรัญญิก ที่จริงเเล้วทำที่หมู่บ้านต้นโพธิ์ หมู่บ้านไผ่หนองเเละหมู่บ้านอื่นๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “มีดอรัญญิก”
 
ลักษณะทั่วไปของผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิก มีอยู่ด้วยกัน 4 ตระกูล ได้แก่มีดตระกูลเกษตรกรรม มีดตระกูลคหกรรม มีดตระกูลอาวุธ และมีดตระกูลอื่นๆ แต่ละตระกูลสามารถจำแนกตามการใช้งานได้อีก 12 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภทประกอบไปด้วยชนิดของมีดต่างๆ อีกมากมาย   หลากหลายไปตามขนาดและความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการผลิตของชิ้นส่วนและองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งจากการศึกษาปรากฏว่ามีถึง 274 ชนิด 
 
ประเพณี เเละวัฒนธรรม มีประเพณีเเละวัฒนธรรมที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมาตั้งเเต่สมัยบรรพบุรุษ คือ งานมาฆบูชา บุญวิสาขบูชา บุญเข้าพรรษา บุญกฐิน บุญตักบาตรดอกไม้ บุญสงกรานต์ บุญเข้าสลาก บุญออกพรรษา บุญมหาชาติ เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณี เเละวัฒนธรรมของชนชาติไทยทั่วไปที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำ
 
เเต่ยังมีประเพณีหนึ่งที่ขาดไม่ได้เป็นประเพณีที่น่าประทับใจของชุมชนฯ เเละถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญมากคือ การไหว้ครู หรือไหว้ครูบูชาเตา ซึ่งปกติเเล้วจะทำกันทุกหมู่บ้าน เมื่อทำบุญบำเพ็ญกุศล ตรุษเเละสงกรานต์  ผู้ใหญ่จะประชุมหารือกำหนดวันไหว้ครู ส่วนมากกำหนดวันข้างขึ้นเดือนหกตรงกับวันพฤหัสบดีเมื่อหารือกันดีเเล้วทุกบ้านจะลงมือซ่อมเเซมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆให้เรียบร้อยก่อนกำหนดหนึ่งหรือสองวันเเละทำความสะอาดเครื่องมือเเล้วนำมาวางไว้ในที่อันสมควร  
 
เตาเผาเหล็กจะต้องปั้นขึ้นใหม่ เเละจัดเตรียมเครื่องสังเวยไหว้ครูอย่างครบครัน มีเครื่องบูชาพระพุทธเเต่งเป็นขันห้า พอรุ่งอรุณของวันพฤหัสบดี เขาจะนำเครื่องบูชาเเละอาหารคาวหวานเป็นเครื่องบูชา บูชาพระภูมิ เเม่ธรณี
 
ส่วนเครื่องสังเวยต่างๆที่ได้ตระเตรียมไว้จะต้องนำมาวางไว้ที่เครื่องมือ เเล้วจัดทำพิธีสวดโองการเชิญเทพเจ้ามาเป็นศิริมงคล เเล้วผู้ใหญ่ในเรือนนั้นจะเรียกลูกหลานมาบูชากราบไหว้ ขอพรอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศิริมงคลเเก่ทุกคน สำหรับในวันนั้นทุกบ้านจะต้อนรับทุกคนที่มาเยือน ชุมชนเเห่งนี้ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ นับเป็นประเพณีอันดีงามในวันนั้นเขาถือว่าเป็นมงคล เรื่องอัปมงคลจะไม่เกิดขึ้นเลย
 
การเดินทาง ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมาก มีรถยนต์วิ่งถึงหมู่บ้านโดยจะต้องเดินทาง เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีรถประจำทางจอดอยู่ที่ตลาดเจ้าพรหม จะเห็นป้ายติดหน้ารถว่า “ อยุธยาถึงท่าเรือ” รถจะออกจากตัวเมืองไปทางถนนสายเอเชีย (ทางหลวงเเผ่นดินหมายเลข 32)
 
เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายเอเชียไปทางจังหวัดนครสวรรค์ เลยโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชฯไปประมาณ100เมตร เลี้ยวซ้ายลอดใต้สะพานที่จะข้ามเเม่น้ำป่าสัก เข้าถนนสายอำเภอนครหลวง ตลอดทางมีป้ายบอกที่ตั้งชุมชนฯ ทั้งสองเป็นระยะ หรือถ้าต้องการจะเดินทางไปโดยทางน้ำ จะต้องลงเรือในตัวจังหวัดที่หน้าวังจันทรเกษม ย้อนขึ้นไปตามเเม่น้ำป่าสัก ผ่านโรงงานวัตถุระเบิดช่างเเสง

วิถีชีวิต หมวดหมู่: วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน กลุ่ม: หมู่บ้าน ชุมชน

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิก

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

พระราชวัง พระราชวัง(4)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(9)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(133)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(14)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(10)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(2)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)